กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการโรงเรียนอ่อนหวาน (เฝ้าระวังโภชนาการในเด็กนักเรียน)
รหัสโครงการ 67-L5275-02-006
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านทุ่งตำเสา
วันที่อนุมัติ 23 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 11,350.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายรัฐเขต ณ นคร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ โรงเรียนบ้านทุ่งตำเสา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 108 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 180 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคฟันผุและโรคอ้วนเป็นผลระยะสั้นของการกินน้ำตาลมากเกินไป ที่เห็นได้อย่างชัดเจน เพราะน้ำตาลเป็นอาหารของเชื้อจุลินทรีย์ในช่องปาก เมื่อเชื้อจำนวนมากขึ้นจะผลิตกรดออกมามากขึ้น ทำให้ฟันสูญเสียแร่ธาตุ บ่อยครั้งจนเกิดฟันผุในที่สุดในขณะเดียวกันเมื่อบริโภคน้ำตาลมากเกินความต้องการของร่างกายน้ำตาลจะถูกสะสมไว้ในรูปไกลโคเจนที่ตับและกล้ามเนื้อ เพื่อเป็นพลังงานสำรองเมื่อจำเป็นแต่ถ้าหากมีส่วนเกินร่างกายจะเปลี่ยนน้ำตาลเป็นไขมันสะสมไว้ตามใต้ผิวหนังทำให้เป็นโรคอ้วนในที่สุดนอกจากนี้การกินน้ำตาลมากเกินควรยังเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน เพราะทุกครั้งที่ร่างกายได้รับน้ำตาลจะมีการย่อยและดูดซึมอย่างรวมเร็วที่ลำไส้ในรูปของน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว เช่นน้ำตาลซูโครสจะถูกย่อยเป็นน้ำตาลกลูโคสและ ฟรุคโตส ระดับน้ำตาลในเลือดจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและกระตุ้นให้ตับอ่อนผลิตอิซูลินเพื่อนำน้ำตาลเข้าสู่เซลล์เป็นการรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ดังนั้นการกินน้ำตาลบ่อยๆจึงทำให้ตับอ่อนทำงานหนักตลอดเวลา ในที่สุดจะเสื่อมสภาพไม่สามารถผลิตอิซูลินได้ทำให้เกิดโรคเบาหวานประเภท2ในที่สุด โรงเรียนบ้านทุ่งตำเสา มีจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 108คนผู้บริหาร คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา คนรวมทั้งสิ้น10คนเปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่6จากรายงานภาวะโภชนาการของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งตำเสา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 พบว่า มีเด็กท้วมร้อยละ 6.48 เริ่มอ้วนร้อยละ 6.48 และอ้วน ร้อยละ 5.56เมื่อสั่งเกตุพฤติกรรมการบริโภคของนักเรียน พบว่ามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริโภคน้ำตาลในวัยเรียนอยู่ในระดับต่ำจึงจัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อสอนให้ความรู้และจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนทัศนคติของเด็กเรื่องการกินอาหาร ขนม การดื่มเครื่องดื่มผสมน้ำตาลการสร้างปัจจัยเอื้อ โดยการจัดการให้เด็กมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมไม่เร่งเร้าให้เด็กบริโภคน้ำตาลเกินความจำเป็นและการสร้างปัจจัยเสริมด้วยการให้รางวัลและแรงสนับสนุนทางสังคมลักษณะของกิจกรรมควรเป็นกิจกรรมที่กระตุ้นให้เด็กมีส่วนร่วมในการร่วมคิดร่วมดำเนินการเพื่อให้เด็กเข้าใจและเกิดความตระหนัก นำไปสู่การยอมรับนำไปปฏิบัติด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ และนำความรู้ไปปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน

1.นักเรียนในโรงเรียนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน
  น้ำหวาน 2.นักเรียนสามารถเลือกบริโภคอาหารได้ถูกต้องอย่างน้อย   ร้อยละ 80 วัดได้จากการสังเกตพฤติกรรมและ   แบบสอบถาม

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 11,350.00 0 0.00
1 ก.พ. 67 - 30 ก.ย. 67 คัดเลือกแกนนำนักเรียน “ยุวทูตพลังอ่อนหวาน” 0 3,950.00 -
1 ก.พ. 67 - 30 ก.ย. 67 สำรวจข้อมูลพื้นฐานเรื่องการบริโภคนมและเครื่องดื่มรสหวานของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษา 0 1,000.00 -
1 ก.พ. 67 - 30 ก.ย. 67 อบรมให้ความรู้ การบริโภคน้ำตาลในเครื่องดื่ม ขนมขบเคี้ยวต่างๆ 0 5,000.00 -
1 ก.พ. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมรณรงค์ลดการกินหวานในโรงเรียน 0 1,000.00 -
1 ก.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 สรุปผล 0 400.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้และนำความรู้ไปปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2567 13:45 น.