กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ “บริโภคปลอดภัย ปราศจากโรคภัย” โดยแกนนำเครือข่าย
รหัสโครงการ 67-L2506-01-008
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลาไม
วันที่อนุมัติ 7 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2567 - 31 พฤษภาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 มิถุนายน 2567
งบประมาณ 24,350.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนาซือเราะห์ แลแงแน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ พื้นที่เขตรับผิดชอบของรพ.สต.บ้านลาไม ตำบลบองอ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 7 มี.ค. 2567 30 เม.ย. 2567 24,350.00
รวมงบประมาณ 24,350.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1

ในการดำเนินชีวิตในแต่ละวันอาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต การบริโภคอาหารที่ไม่สะอาดเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บโดยมีเชื้อโรคและสารปนเปื้อนหลายชนิดที่เป็นอันตรายถึงชีวิต หลักสำคัญในการเลือกรับประทานอาหารนอกเหนือจากรสชาติอาหารแล้วสิ่งที่ต้องคำนึงและพิจารณาควบคู่ไปด้วย คือ คุณค่าตามหลักโภชนาการคุณภาพความสะอาดและปราศจาก สารปนเปื้อนการบริโภคอาหาร เพื่อให้ได้อาหารที่สะอาดปลอดภัยมีคุณค่าตามหลักโภชนาการและปราศจากสารปนเปื้อน จำเป็นต้องมีระบบการดูแลควบคุมตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารทุกกระบวนการ ฉะนั้นเพื่อให้ประชาชนบริโภคอาหารที่ปลอดภัย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงจำเป็นต้องมีระบบการดูแลควบคุมตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารและดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปสามารถรับทราบข้อมูลและเข้าถึงการบริโภคอาหารที่สะอาดและปลอดภัยได้ รพ.สต.บ้านลาไม จึงได้จัดทำโครงการ“บริโภคปลอดภัย ปราศจากโรคภัย” นี้ขึ้น เพื่อเป็นการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพในลักษณะเครือข่ายเฝ้าระวังในชุมชน และเป็นการพัฒนาความรู้แก่กลุ่มเครือข่ายและผู้บริโภคให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกผลิตภัณฑ์สุขภาพอันจะส่งผลให้ประชาชนบริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย เป็นประโยชน์ต่อร่างกายต่อไป

60.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 สร้างความเข้มแข็งของเครือข่าย และเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน

เครือข่ายและชุมชน มีส่วนร่วมในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน ร้อยละ 60

80.00 60.00
2 เพื่อให้ผู้บริโภคในพื้นที่ให้มีความรู้และทักษะในการเลือกสินค้าผลิตภัณที่ดี และถูกต้อง

ผู้บริโภคในพื้นที่ให้มีความรู้และทักษะในการเลือกสินค้าผลิตภัณที่ดี และถูกต้อง ร้อยละ 80

80.00 80.00
3 เพื่อเฝ้าระวังการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพใน สถานประกอบการ ร้านชำ ร้านอาหาร แผงลอย โรงอาหารในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ครัวเรือนให้มีการจำหน่ายและใช้สินค้าที่มีคุณภาพ มาตรฐาน

สถานประกอบการ ร้านชำ ร้านอาหาร แผงลอย  โรงอาหารในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ครัวเรือนให้มีการจำหน่าย และใช้สินค้าที่มีคุณภาพ มาตรฐาน ร้อยละ 70

60.00 70.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 24,350.00 0 0.00
1 พ.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพของชุมชน สามารถสอดส่องดูแลและเฝ้าระวังการจำหน่ายอาหารและผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยในชุมชน (อสม.และแกนนำชุมชน แกนนำนักเรียน สถานประกอบการ ) 0 19,350.00 -
1 พ.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพและเก็บตัวอย่างพร้อมตรวจสอบตัวอย่างและสารปนเปื้อนอาหารภายในชุมชนเชิงปฏิบัติการ โดยกลุ่มเครือข่ายเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพของชุมชน 0 5,000.00 -
1 พ.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ และรณรงค์เพื่อสร้างกระแสการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัยในชุมชน 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ประกอบการมีการปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานมากขึ้น 2.ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจผลิตภัณฑ์สุขภาพและพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกต้องไม่หลงเชื่อโฆษณาที่มีลักษณะโอ้อวบเกินจริง 3.ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังตนเองจากการบริโภคอาหาร การขายยาอันตรายในชุมชนและไม่พบผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายด้านคุ้งครองผู้บริโภค

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2567 10:05 น.