กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการส่งเสริมพัฒนาการและเสริมสร้างทักษะสมอง EFตามวิถีอิสลามปีงบประมาณ 2567 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมพัฒนาการและเสริมสร้างทักษะสมอง EFตามวิถีอิสลามปีงบประมาณ 2567 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
รหัสโครงการ 67L70080113
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปู
วันที่อนุมัติ 23 พฤศจิกายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 22,790.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอามีหน๊ะ มะดีเยาะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายไพรจิตร บุญช่วย
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุขภาพจิต , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 96 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

EF (Executive Function) หรือ ความสามารถในการควบคุมการทำงานของสมองส่วนหน้า ที่หลายบ้านให้ความสำคัญและพยายามฝึกฝน พัฒนาทักษะด้านนี้ให้แก่ลูก ไม่ว่าจะด้วยการอ่านนิทานก่อนนอนฝึกทำงานบ้าน ฝึกช่วยเหลืองานพ่อแม่ ปล่อยลูกให้มีเวลาเล่นตามวัยอย่างเสรี เฟ้นหาเวลาคุณภาพระหว่างสมาชิกในครอบครัว ฯลฯ ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่ "ดีทั้งนั้น" เพื่อผลลัพธ์ในการพัฒนาความคิด อารมณ์ความรู้สึกพัฒนาศักยภาพในด้านต่างๆ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เป็นปัญหาในแต่ละช่วงวัยของการเจริญเติบโต การพัฒนาทักษะสมองส่วนหน้า หรือ EF , พัฒนาการ 4 ด้าน , SELF รวมถึงองค์ความรู้เรื่องการสร้างวินัยเชิงบวก สู่พ่อแม่ผู้ปกครองและบุคลากรผู้เกี่ยวข้อง ผลลัพธ์ในระยะยาวที่จะเกิดขึ้นเมื่อเด็กปฐมวัยซึ่งเป็นช่วงวัยที่มีความเหมาะสมได้รับการส่งเสริม พัฒนาทักษะสมอง EF จะได้ เติบโตเป็นคนที่มีคุณภาพ สามารถคิดเป็น ทำเป็น เรียนรู้เป็น แก้ปัญหาเป็น อยู่กับผู้อื่นเป็น มีความสุขเป็น ช่วยให้ชีวิตเขาประสบกับความสำเร็จ สามารถรับมือ ปรับตัว บริหารจัดการชีวิตที่ต้องเผชิญสถานการณ์ในโลกใหม่ได้ด้วยดี ส่งผลต่อการช่วยลดปัญหาสังคมต่างๆ ที่เรากำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ ปัญหาเด็กเยาวชนที่มีพัฒนาการล่าช้า ปัญหายาเสพติด ปัญหาสุขภาพจิต ปัญหาท้องก่อนวัยอันควร ปัญหาเด็กเกเร เป็นต้น นอกจากนี้ยังเป็นการกระตุ้นให้สังคมตำบลบางปูตระหนักถึงความสำคัญที่จะร่วมกันดูแลเด็กปฐมวัยทุกคนดุจลูกหลานของตนเอง ให้การส่งเสริม สนับสนุนให้เด็กได้เกิดการพัฒนาพร้อมเรียนรู้ เติบโตเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของสังคมตำบลบางปู สังคมปัตตานี สังคมไทยและสังคมโลกในที่สุด ประเทศไทยจัดเป็นประเทศที่มีปัญหาเด็กติดโทรศัพท์ ติดเกมส์ เป็นอันดับต้นๆ ของโลก เพราะพ่อ แม่ขาดความเข้าใจ เลี้ยงลูกด้วยโทรศัพท์มือถือ ให้เล่นเกมเพื่อจะได้อยู่นิ่งๆ และอยู่ในสายตาการปล่อยให้ลูกเล่นมือถือและทิ้งลูกอยู่กับหน้าจอเพียงลำพังนานเกินวันละหลายชั่วโมง อาจส่งผลให้เด็กจดจ่อกับเรื่องราวที่ผ่านตาเร็วเกินไป และไม่ยอมละสายตาเพื่อสนใจกับสิ่งรอบตัวอื่นรอบข้าง ด้วยการเคลื่อนไหวในสื่อต่าง ๆ บนหน้าจอมือถือหรือแท็ปเล็ตที่เปลี่ยนแปลงและมีความรวดเร็ว จะทำให้เกิดปัญหาการใช้สมองในส่วนความทรงจำลดลง และหากปล่อยให้ลูกเล่นเช่นนี้เป็นประจำทุกวันจะสะสมให้เด็กเกิดอาการ “สมาธิสั้น” ได้
จากสถิติเด็กอายุ 6-12 ปี ที่ป่วยเป็นโรคสมาธิสั้นในประเทศไทยซึ่งจัดเก็บตั้งแต่ปี 2555 พบว่า มีเด็กป่วยเป็นโรคสมาธิสั้นมากถึง 1 ล้านคน พบในเด็กผู้ชายมากถึงร้อยละ 12 มากกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่พบร้อยละ 10 โดยอาการสมาธิสั้นส่วนใหญ่พบในเด็กอายุก่อน 7 ปี และจะมีอาการต่อเนื่องนานกว่า 6 เดือน
ซึ่งในประเทศไทยพบความชุกของโรคในเด็กนักเรียนชั้น ป.1-5 ถึงร้อยละ 8.1 ประมาณการได้ว่ามีเด็กนักเรียนชั้น ป.1-5 ทั่วประเทศป่วยเป็นโรคสมาธิสั้นถึง 1 ล้านคน และมักพบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง ในอัตราส่วน 3:1 และหากไม่ได้รับการวินิจฉัย รักษา และปรับพฤติกรรมอย่างถูกต้อง เด็กจะมีโอกาสไม่ประสบความสำเร็จในการเรียน เกิดการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุมากกว่าเด็กปกติ มีปัญหาการปรับตัวเข้ากับผู้อื่น ฯลฯ และส่งผลเป็นปัญหาระยะยาว เช่น กลายเป็นคนต่อต้านสังคม มีความเสี่ยงติดยาเสพติด เกิดภาวะซึมเศร้า และหากไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่ต้นจะส่งผลต่อพัฒนาการด้านลบ และติดตัวไปจนถึงวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ รพ.สต.บางปู จึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมพัฒนาการและเสริมสร้างทักษะสมอง EF ตามวิถีอิสลาม ปีงบประมาณ 2567 เพื่อให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ปกครองเด็กที่มีบุตรอยู่ในช่วงอายุ 1 – 5 ปี และส่งเสริมกระตุ้นให้เด็กมีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัยโดยการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง และเสริมสร้างทักษะสมอง EF ตามแนววิถีอิสลาม เพื่อหลีกเลี่ยงโทษและปัญหาที่เกิดขึ้นในอนาคตกับเด็กที่มาจากการติดโทรศัพท์ ติดเกมส์ จนกลายเป็นโรคสมาธิสั้น และช่วยลดปัญหาสังคมต่างๆ ที่เรากำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ปกครอง และอาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการผิดปกติ และการกระตุ้นส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการที่เหมะสมตามวัย และแนวทางเสริมสร้างทักษะสมอง EF ตามแนววิถีอิสลาม

สามารถทำให้ผู้ปกครองเด็ก และอาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเด็กที่มีพัฒนาการผิดปกติและ กระตุ้น ส่งเสริมเด็กให้มีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย

0.00
2 เพื่อให้เด็กได้รับการตรวจพัฒนาการและเฝ้าระวัง ค้นหา เด็กที่สงสัยพัฒนาการล่าช้า

สามารถให้ผู้ปกครองเด็ก และอาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางเสริมสร้างทักษะสมอง EF ตามแนววิถีอิสลาม

0.00
3 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย

สามารถทำให้ผู้ปกครองได้ตระหนักเห็นถึงความสำคัญของการเฝ้าระวังติดตามพัฒนาการของเด็กและส่งเสริมดูแลเด็กให้มีพัฒนาการสมวัย

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 22,790.00 0 0.00
1 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 1 จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาการเด็ก ส่งเสริมพัฒนาการเด็กทั้ง 4 ด้านป้องกันภาวะเรียนรู้ช้า สมาธิสั้น ติดโทรศัพท์ ติดเกมส์ และแนวทางเสริมสร้างทักษะสมอง EF ตามแนววิถีอิสลาม 0 19,190.00 -
1 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 6. ค่าไวนิล ขนาด 1.25 X 2.4 เมตร (ตร.เมตรละ 250 บาท) จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 750 บาท กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมออกเยี่ยมบ้านและติดตามเด็กที่มีอายุ 9,18,30,42 และ60 เดือน โดยทีมอสม.เคลื่อนที่พัฒนาการ ครั้งที่ 1 เดือน ก.พ.,ครั้งที่ 2 เดือน มี.ค.,ครั้งที่ 3 เดือน เ 0 3,600.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถทำให้ผู้ปกครองเด็ก และอาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเด็กที่มีพัฒนาการผิดปกติและ กระตุ้น ส่งเสริมเด็กให้มีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย 2.สามารถให้ผู้ปกครองเด็ก และอาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางเสริมสร้างทักษะสมอง EF ตามแนววิถีอิสลาม 3.สามารถทำให้ผู้ปกครองได้ตระหนักเห็นถึงความสำคัญของการเฝ้าระวังติดตามพัฒนาการของเด็กและส่งเสริมดูแลเด็กให้มีพัฒนาการสมวัย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ม.ค. 2567 00:00 น.