กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบ้านปูตะห่างไกลโรคไข้เลือดออกด้วยสมุนไพรพื้นบ้าน
รหัสโครงการ 67-L2996-02-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 6
วันที่อนุมัติ 8 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 13 มิถุนายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรอมือล๊ะ กาเจร์
พี่เลี้ยงโครงการ เลขานุการกองทุนฯ
พื้นที่ดำเนินการ ม.6 ตำบลบ้านนอก อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 22 มี.ค. 2567 30 ก.ย. 2567 10,000.00
รวมงบประมาณ 10,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันถ้าจะพูดถึงสัตว์ที่เป็นพาหนะนำโรค สัตว์อันดับต้น ๆ ที่เราคิดคงไม่พ้นยุง เนื่องจากยุงเป็นพาหะนำโรคร้ายต่าง ๆ ที่คร่าชีวิตคนเป็นจำนวนมาก ยุงเป็นพาหะนำโรคหลายชนิดที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ เช่น โรคไข้เลือดออก ไข้มาลาเรียเป็นต้น โดยเฉพาะไข้เลือดออกที่มีผู้ป่วยเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากในแต่ละปี ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกันกระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง การดำเนินการเพื่อตัดวงจรการเกิดโรคที่มาจากยุง จึงมีผู้คิดหาตัวยาเพื่อกำจัดและป้องกันยุงขึ้นมาหลายชนิด เช่น ครีมทากันยุง ยาจุดกันยุง ยาฉีดกันยุง น้ำมันไล่ยุง เป็นต้น แต่ยากันยุงเหล่านี้ก่อให้เกิดปัญหาขึ้นมากมาย เพราะมีสารที่เป็นอันตรายผสมอยู่ ซึ่งทำให้ผู้ใช้บางคนเกิดอาการแพ้ และในตำบลบ้านนอกส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น ทำนา ทำสวนยางพารา ปลูกผัก ประกอบกับพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่า ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคไข้เลือดออก เนื่องจากถูกยุงกัด นั้น
ดังนั้น เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในชุมชนและเพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในตำบลบ้านอก หมู่ที่ 6 ชมรม อสม. จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกด้วยสเปรย์ไล่ยุงสมุนไพรตะไคร้หอม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนทั่วไป มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของสมุนไพร 2. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไป ใช้สมุนไพรพื้นบ้านในการรักษาอาการเจ็บป่วย และส่งเสริมสุขภาพ
  1. ร้อยละละ 80 ประชาชนทั่วไปมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของสมุนไพร
  2. รัอยละ 80 ประชาชนทั่วไป ใช้สมุนไพรพื้นบ้าน ในการรักษาอาการเจ็บป่วย และส่งเสริมสุขภาพมากขึ้น
0.00 0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 10,000.00 0 0.00
13 มิ.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 โครงการบ้านปูตะ ห่างไกลโรคไข้เลือดออกด้วยสมุนไพรพื้นบ้าน 0 10,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชนชนทั่วไปมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องของสมุนไพร
  2. ประชาชนทั่วไปสามารถใช้สมุนไพรพื้นบ้านในการรักษาอาการเจ็บป่วยและส่งเสริมสุขภาพได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ก.พ. 2567 13:59 น.