กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรู้เร็ว สู่ยุคใหม่ สุขภาพที่ดี ส่งเสริมการตรวจคัดกรองความดันโลหิตสูง และเบาหวาน ปี 2567
รหัสโครงการ L4147-02-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสามัครสาธารณสุขตำบลบาโงยซิแน
วันที่อนุมัติ 21 พฤษภาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 มิถุนายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 44,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอับดุลฮาเร็ม ซีระแม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาโงยซิแน อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 569 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
34.17
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
36.86
3 ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย
0.41

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์ด้านสุขภาพหน่วยบริการสาธารณสุขของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโงยซิแน ตลอดจนในพื้นที่อำเภอยะหา พบว่ามีการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง และกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง ใน 5 ปี ย้อนหลัง พบสูงขึ้น และบางส่วนได้รับการประเมินผลไม่ทัน และสภาวะเหตุการณ์ด้านสุขภาพมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาในด้านการจัดการส่งเสริมป้องกันอย่างทันท่วงที การดูแลส่งต่อรักษา การประเมินการเปลี่ยนแปลงของโรคเรื้อรัง ปัจจุบันทั่วโลกให้ความสนใจ เพื่อใช้ลดความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานโดยมุ่งไปที่การป้องกันและควบคุมปัจจัยเสี่ยง เนื่องจากมีผลการศึกษาพบว่า การควบคุมปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวสามารถป้องกันหรือชะลอการเกิดโรคได้ องค์การอนามัยโลกได้เสนอแนวทางป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังให้ได้ผลโดยการแก้ไขปัญหาด้านปัจจัยเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหลายปัจจัยเสี่ยงไปพร้อมๆกัน และเน้นหนักในการป้องกันระดับปฐมภูมิ อีกทั้งยังลดค่าใช้จ่ายในการรักษาในระยะยาว จากผลงานการตรวจคัดกรองสุขภาพของตำบลบาโงยซิแนระหว่าง 01/10/2565ถึง 30/09/2566 ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน (ไม่รวมกลุ่มป่วย) ร้อยละ 89.15ได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง (ไม่รวมกลุ่มป่วย) ร้อยละ 91.86 พบกลุ่มปกติที่มีภาวะน้ำตาลจากสถานการณ์ด้านสุขภาพหน่วยบริการสาธารณสุขของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโงยซิแน ตลอดจนในพื้นที่อำเภอยะหา พบ มีการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง และกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง ใน 5 ปี ย้อนหลัง พบสูงขึ้น และบางสวนได้รับการประเมินผลไม่ทัน และสภาวะเหตุการณ์ด้านสุขภาพมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาในด้านการจัดการส่งเสริมป้องกันอย่างทันทวงที การดูแลส่งต่อรักษา ที่การประเมินการเปลี่ยนแปลงของโรคเรื้อรัง ปัจจุบันทั่วโลกให้ความสนใจ เพื่อใช้ลดความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานโดยมุ่งไปที่การป้องกันและควบคุมปัจจัยเสี่ยงเนื่องจากมีผลการศึกษาพบว่าการควบคุมปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวสามารถป้องกันหรือชะลอการเกิดโรคได้องค์การอนามัยโลกได้เสนอแนวทางป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังให้ได้ผลโดยการแก้ไขปัญหาด้านปัจจัยเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหลายปัจจัยเสี่ยงไปพร้อมๆกัน และเน้นหนักในการป้องกันระดับปฐมภูมิ อีกทั้งยังลดค่าใช้จ่ายในการรักษาในระยะยาว การดำเนินการทำ Home BP 62 ราย การดำเนินการทำ SMBG 51 ราย ได้รับการปรับเปลี่ยน ภาวะสุขภาพ และส่งต่อการรักษากับหน่วยบริการในพื้นที่
ดังนั้น การได้รู้ข้อมูลสุขภาพของตนเอง จึงสามารถที่จะทำให้ประชาชนตระหนัก ในการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งจะให้ได้ผล และเกิดความยั่งยืนได้นั้น จำเป็นต้องอาศัยพลังของประชาชนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เน้นชุมชนเป็นศูนย์กลาง สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน ด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการดูแลสุขภาพในชุมชนเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโงยซิแน อำเภอยะหา จังหวัดยะลา ตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในกลุ่มดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการจัดการเร็ว คัดกรองทัน ส่งเสริมการตรวจคัดกรองความดันโลหิตสูง และเบาหวาน ปี 2566 โครงการรู้เร็ว สู่ยุคใหม่ สุขภาพที่ดี ส่งเสริมการตรวจคัดกรองความดันโลหิตสูง และเบาหวาน ปี 2567 (กิจกรรมดังกล่าวดำเนินการได้ดีและต่อเนื่อง)

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานลดลง

34.17 30.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงลดลง

36.86 25.00
3 เพื่อแก้ปัญหาผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย

ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น  เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย ลดลง

0.41 0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 44,600.00 0 0.00
3 มิ.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 จัดประชุมคณะทำงาน เพื่อชี้แจงประชาสัมพันธ์ 0 2,000.00 -
3 มิ.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 อบรมเชิงปฏิบัติการความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 0 12,300.00 -
3 มิ.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 จัดบริการทีมสุขภาพออกตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ร่วมกับติดตาม SMBP และ SMBG 0 30,300.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนกลุ่มป่วยใช้พื้นฐานชีวิตในการดูแลอาการของโรค ด้วยตนเอง โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกกลุ่ม
  2. ชุมชนโดยแกนนำสุขภาพมีส่วนร่วม เห็นความสำคัญ และสามารถเป็นบุคคลต้นแบบในการดูแลสุขภาพของชุมชน เพื่อการดูแลระยะยาว
  3. ภาวะแทรกซ้อนทางเท้าในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน ลดลง หรือไม่เกิดเพิ่มขึ้น
  4. ผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลและความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ที่ปกติของโรค
  5. เสริมพลัง และการดูแลสุขภาพของกลุ่มผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 มี.ค. 2567 00:00 น.