กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการนวัตกรรมธงสามสีควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและการจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชนต้นแบบปี2567
รหัสโครงการ 67-L7575-01-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลตะโหมด
วันที่อนุมัติ 31 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 31 มกราคม 2567 - 16 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 14,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวิชัย สว่างวัน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) โรคไข้เลือดออก (Dengue Hemorrhagic Fever-DHF) เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกีมียุงลายเป็นพาหะนำโรค โดยเริ่มระบาดในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. 2501 ในกรุงเทพมหานคร โดยมีการระบาดเพิ่มมากขึ้นทั่วทุกพื้นที่ ของประเทศไทย จนกลายเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยในปัจจุบัน (เตือนใจ ลับโกษา 2559) ซึ่งสถานการณ์การระบาดในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในทุกๆปี อย่างต่อเนื่อง จากการวิเคราะห์ความเสี่ยงของการระบาดของโรคในชุมชนนั้นสามารถวิเคราะห์ได้จากค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย กล่าวคือ ชุมชนที่พบดัชนีค่าลูกน้ำยุงลายสูง แสดงถึง ค่าความเสี่ยงที่จะเกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ได้ และประชาชนในพื้นที่ชุมชนมีความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อไข้เลือดออก การแพร่ของโรคอยู่ในระดับสูง ทำให้ในชุมชนมีโอกาสเกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออกสูง การเกิดโรคไข้เลือดออก นอกจากจะส่งผลต่อการเจ็บป่วยและเสียชีวิตของประชาชนแล้ว ยังส่งผลต่อการรักษาและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล รวมทั้งภาระค่าใช้จ่ายของรัฐ ในการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกเนื่องจากที่ผ่านมาการป้องกันโรคไข้เลือดออกเป็นการดำเนินงานของ หน่วยงานสาธารณสุขเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งสามารถลดระดับความชุกชุมของยุงลายได้เพียงระยะเวลาสั้นๆ และ แนวโน้มของสถานการณ์ของโรคกลับเพิ่มมากขึ้น สำหรับพื้นที่เทศบาลตำบลแม่ขรี ในพื้นที่ ม.1 และ หมู่ 6 มีจำนวนประชากรทั้งหมด 6,781 ราย 2,514 ครัวเรือน สถานที่บริการสาธารณสุขมีจำนวน 1 แห่ง คือ โรงพยาบาลตะโหมด มีเจ้าหน้าที่ทั้งหมด 155 คน มีอาสาสมัครสาธารณสุขจำนวน 90 ราย ลักษณะพื้นที่เป็นออกเป็น 2 หมู่บ้านคือหมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 6 โดยแบ่งออกเป็น 8 ชุมชนหลัก พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นชุมชนเขตกึ่งเมือง ประชากรส่วนใหญ่ประกาศอาชีพค้าขาย รองลงมาอาชีพเกษตรกร พื้นที่พบอุบัติการณ์การเกิดโรคไข้เลือดออกสูง ส่วนใหญ่พื้นเป็นพื้นที่เขตชุมชนชนบท สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อการระบาดอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ พบว่าส่วนใหญ่พื้นที่ทั้ง 4 หมู่บ้าน เป็นชุมชนชนบท จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออกตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึง 13 กุมภาพันธ์ 2567 พบผู้ป่วยในพื้นที่ หมู่ที่ 1 ชุมชนธงชัย จำนวน 4 ราย ซึ่งกรณีพบผู้ป่วยไข้เลือดออกในพื้นที่ไม่สามารถลงควบคุมโรคได้ในทุกหลังคาเรือน ที่ห่างจากรัศมีจากบ้านผู้ป่วย 100 เมตร เพราะฉะนั้นการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไม่ทั่วถึงในทุกพื้นที่ จึงส่งผลให้การระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่เขตชุมชนเมืองมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวมโรงพยาบาลตะโหมด จึงเล็งเห็นปัญหาของการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ จึงได้จัดโครงการนวัตกรรมธงสามสีควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและการจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชนต้นแบบ เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาและพัฒนารูปแบบการนำนวัตกรรมธงสามสีมาใช้ในการป้องกันโรคไข้เลือดออกให้มีประสิทธิภาพเป็นระบบอย่างต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชาชนทุกกลุ่มอายุในชุมชนธงชัย

ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก และไม่เกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออกให้พื้นที่

0.00
2 2 เพื่อสร้างความร่วมมือในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้สะอาด

ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในชุมชน ไม่เกิน 10

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 14,700.00 0 0.00
31 ม.ค. 67 - 29 ก.พ. 67 1.ขั้นเตรียม 0 0.00 -
1 มี.ค. 67 - 1 ก.ย. 67 2.ขั้นดำเนินการ 0 14,700.00 -
1 - 16 ก.ย. 67 3.ขั้นสรุป 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกเมื่อเปรียบเทียบค่ามัธฐาน 5 ปีย้อนหลัง ไม่เกินร้อยละ 20 ในพื้นที่ชุมชนธงชัย ประชาชนได้รับความรู้การคัดแยกขยะในพื้นที่ ร้อยละ 80

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 มี.ค. 2567 10:22 น.