กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการนวัตกรรมธงสามสีควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและการจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชนต้นแบบปี2567

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลแม่ขรี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการนวัตกรรมธงสามสีควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและการจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชนต้นแบบปี2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลแม่ขรี

กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลตะโหมด

เขตพื้นที่เทศบาลตำบลแม่ขรี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชาชนทุกกลุ่มอายุในชุมชนธงชัย

ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก และไม่เกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออกให้พื้นที่

0.00
2 2 เพื่อสร้างความร่วมมือในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้สะอาด

ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในชุมชน ไม่เกิน 10

0.00

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
โรคไข้เลือดออก (Dengue Hemorrhagic Fever-DHF) เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกีมียุงลายเป็นพาหะนำโรค โดยเริ่มระบาดในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. 2501 ในกรุงเทพมหานคร โดยมีการระบาดเพิ่มมากขึ้นทั่วทุกพื้นที่ ของประเทศไทย จนกลายเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยในปัจจุบัน (เตือนใจ ลับโกษา 2559) ซึ่งสถานการณ์การระบาดในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในทุกๆปี อย่างต่อเนื่อง จากการวิเคราะห์ความเสี่ยงของการระบาดของโรคในชุมชนนั้นสามารถวิเคราะห์ได้จากค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย กล่าวคือ ชุมชนที่พบดัชนีค่าลูกน้ำยุงลายสูง แสดงถึง ค่าความเสี่ยงที่จะเกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ได้ และประชาชนในพื้นที่ชุมชนมีความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อไข้เลือดออก การแพร่ของโรคอยู่ในระดับสูง ทำให้ในชุมชนมีโอกาสเกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออกสูง การเกิดโรคไข้เลือดออก นอกจากจะส่งผลต่อการเจ็บป่วยและเสียชีวิตของประชาชนแล้ว ยังส่งผลต่อการรักษาและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล รวมทั้งภาระค่าใช้จ่ายของรัฐ ในการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกเนื่องจากที่ผ่านมาการป้องกันโรคไข้เลือดออกเป็นการดำเนินงานของ หน่วยงานสาธารณสุขเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งสามารถลดระดับความชุกชุมของยุงลายได้เพียงระยะเวลาสั้นๆ และ แนวโน้มของสถานการณ์ของโรคกลับเพิ่มมากขึ้น
สำหรับพื้นที่เทศบาลตำบลแม่ขรี ในพื้นที่ ม.1 และ หมู่ 6 มีจำนวนประชากรทั้งหมด 6,781 ราย 2,514 ครัวเรือน สถานที่บริการสาธารณสุขมีจำนวน 1 แห่ง คือ โรงพยาบาลตะโหมด มีเจ้าหน้าที่ทั้งหมด 155 คน มีอาสาสมัครสาธารณสุขจำนวน 90 ราย ลักษณะพื้นที่เป็นออกเป็น 2 หมู่บ้านคือหมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 6 โดยแบ่งออกเป็น 8 ชุมชนหลัก พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นชุมชนเขตกึ่งเมือง ประชากรส่วนใหญ่ประกาศอาชีพค้าขาย รองลงมาอาชีพเกษตรกร พื้นที่พบอุบัติการณ์การเกิดโรคไข้เลือดออกสูง ส่วนใหญ่พื้นเป็นพื้นที่เขตชุมชนชนบท สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อการระบาดอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ พบว่าส่วนใหญ่พื้นที่ทั้ง 4 หมู่บ้าน เป็นชุมชนชนบท
จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออกตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึง 13 กุมภาพันธ์ 2567 พบผู้ป่วยในพื้นที่ หมู่ที่ 1 ชุมชนธงชัย จำนวน 4 ราย ซึ่งกรณีพบผู้ป่วยไข้เลือดออกในพื้นที่ไม่สามารถลงควบคุมโรคได้ในทุกหลังคาเรือน ที่ห่างจากรัศมีจากบ้านผู้ป่วย 100 เมตร เพราะฉะนั้นการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไม่ทั่วถึงในทุกพื้นที่ จึงส่งผลให้การระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่เขตชุมชนเมืองมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น
กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวมโรงพยาบาลตะโหมด จึงเล็งเห็นปัญหาของการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ จึงได้จัดโครงการนวัตกรรมธงสามสีควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและการจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชนต้นแบบ เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาและพัฒนารูปแบบการนำนวัตกรรมธงสามสีมาใช้ในการป้องกันโรคไข้เลือดออกให้มีประสิทธิภาพเป็นระบบอย่างต่อเนื่อง

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 31/01/2024

กำหนดเสร็จ 16/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.ขั้นเตรียม

ชื่อกิจกรรม
1.ขั้นเตรียม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-วางแผนโครงการ -นำเสนอโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
31 มกราคม 2567 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 2.ขั้นดำเนินการ

ชื่อกิจกรรม
2.ขั้นดำเนินการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมและการคัดแยกขยะในชุมชน            - จัดกิจกรรมให้ความรู้ในพื้นที่ชุมชนต้นแบบด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่ ม.1 ชุมชนธงชัย            - จัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะในพื้นที่บ้านของตนเอง 2.กิจกรรมบ้านสะอาดปราศจากลูกน้ำยุงลาย 3.กิจกรรมธงเตือนภัย ป้องกันภัยลุกน้ำยุงลาย             - กิจกรรมติดธงสามสี ในพื้นที่เพื่อดำเนินการประกาศเตือนภัย ของค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในครัวเรือน จำนวน 300 ครัวเรือน 1.ค่าธงสีเขียว แดง ขาว จำนวน 500 ชิ้น
2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 3.ค่าวัสดุในการจัดกิจกรรมโครงการ - คู่มือการสำรวจลูกน้ำยุงลาย - ปากกา - เยื่อกาว
4.ค่าจ้างถ่ายเอกสารแบบฟอร์มลูกน้ำยุงลาย จำนวน 500 แผ่น

ค่าธงสามสี เขียว แดง ขาว ชิ้นละ 25 บ. x 500 ชิ้น =  12,500 บ. ค่าอาหารว่าง 25 บ. X 30 คน = 750  บ. ค่าวัสดุโครงการ =  1,200 บ. ค่าจ้างถ่ายเอกสาร  =    250 บ. รวมเป็นเงินทั้งหมด 14,700 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 1 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14700.00

กิจกรรมที่ 3 3.ขั้นสรุป

ชื่อกิจกรรม
3.ขั้นสรุป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-สรุปผลการดำเนินงาน และรายงานเป็นรูปเล่ม

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2567 ถึง 16 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกเมื่อเปรียบเทียบค่ามัธฐาน 5 ปีย้อนหลัง ไม่เกินร้อยละ 20 ในพื้นที่ชุมชนธงชัย
ประชาชนได้รับความรู้การคัดแยกขยะในพื้นที่ ร้อยละ 80


>