กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการติดตามภาวะทุพโภชนาการเด็กปฐมวัย ประจำปี 2567
รหัสโครงการ 67-L7575-01-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลตะโหมด
วันที่อนุมัติ 31 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 31 มกราคม 2567 - 16 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 6,470.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวิชัย สว่างวัน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โภชนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพ เพราะร่างกายเรานำสารอาหารจากอาหารไปใช้ประโยชน์ทำให้ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุขและส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชากรในวัยต่างๆโดยเฉพาะในเด็กในช่วงอายุ 2- 5 ปี เป็นวัยที่มีความสำคัญที่สุดวัยหนึ่งของชีวิต เพราะเป็นวัยที่ต้องได้รับการพัฒนาครบในทุกๆด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญา ไปพร้อมๆกัน ในการรับประทานอาหารในแต่ละมื้อของเด็กจึงมีความสำคัญในการเจริญเติบโต ซ่อมแซมส่วนต่างๆของร่างกาย ป้องกันโรคดำรงไว้ซึ่งสุขภาพที่ดี เพื่อให้มีสภาวะร่างกายและจิตใจที่สมบูรณ์แข็งแรง โภชนาการอาหารจึงมีความสำคัญโดยตรงต่อสุขภาพเด็กที่มีการส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆซึ่งปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ ได้แก่ ภาวะการเจริญเติบโตไม่สมวัยจากโรคขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการเกิน การขาดสารไอโอดีน ภาวะโลหิตจางจากการขาดธารติเหล็ก โดยมีสาเหตุที่สำคัญจากการไม่ได้รับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่ครบถ้วน ทำให้ร่างกายไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร ดังนั้นเพื่อให้เด็กมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัย ด้วยการส่งเสริมภาวะโภชนาการที่เหมาะสมและพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของเด็ก ผู้ปกครอง และผู้ดูแลเด็ก เพื่อเตรียมความพร้อมพัฒนาเด็กให้มีภาวะโภชนาการที่ดี สูงดีสมส่วนและมีทักษะที่จำเป็น อีกทั้งยังแก้ไขปัญหาแนวโน้มการตรวจพบเด็กที่มีภาวะโภชนาการไม่เหมาะสมให้น้อยลง จากการสำรวจภาวะโภชนาการของเด็กปฐมวัยในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลตะโหมดไตรมาสที่1 ปี 2567 พบว่า ในเด็กจำนวนที่สำรวจ 435 คน พบภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 46 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการค่อนข้างผอม และผอม นั้น ฉะนั้นเพื่อให้เด็กปฐมวัยมีสุภาพที่ดีกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลตะโหมด ทำหน้าที่เป็นหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ บริการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันและควบคุมโรค ฟื้นฟูสภาพ และให้บริการรักษาโรคเบื้องต้นในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลแม่ขรี ตระหนักถึงความสำคัญที่จะดูแลสุขภาพแก่เด็กปฐมวัย เพื่อให้ผู้ปกครอง และผู้ดูแลเด็ก ได้รับความรู้ที่ถูกต้องเหมาะสม และตระหนักในความสำคัญการดูแลเลี้ยงดูเด็ก รวมทั้งมีทักษะในการเรียนรู้และพัฒนาเลือกสรรอาหารตามความเหมาะสมของเด็กแต่ละคน เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีภาวะโภชนาการที่เหมาะสม และสามารถดูแลเด็กที่อยู่ในช่วงปฐมวัยได้อย่างเหมาะสมอีกทั้งลดโอกาสการคัดกรองพบภาวะทุพโภชนาการ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อติดตามภาวะโภชนาการเด็กอายุ 2 – 5 ปี ที่มีภาวะทุพโภชนาการ

เด็กอายุ 2 -5 ปี ได้รับการติดตามภาวะโภชนาการโดยการชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูง และนำข้อมูลมาแปรผลโดยใช้การเปรียบเทียบกับกราฟการเจริญเติบตามแบบการประเมินของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2564 ร้อยละ 80

0.00
2 2. เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจแก่ผู้ปกครองของเด็ก ในการดูแลภาวะโภชนาการเด็กอายุ 2 – 5 ปี

ผู้ปกครองของเด็กอายุ 2 – 5 ปี มีความรู้ ความเข้าใจและแนวทางในการส่งเสริมและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการอย่างถูกต้องเพิ่มขึ้น ร้อยละ 70

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 6,470.00 0 0.00
31 ม.ค. 67 - 29 ก.พ. 67 ขั้นเตรียมการ 0 0.00 -
1 มี.ค. 67 - 1 ก.ย. 67 2.ขั้นดำเนินการ 0 6,470.00 -
1 - 16 ก.ย. 67 3.ขั้นสรุปผล 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กอายุ 2 – 5 ปี ที่มีภาวะทุพโภชนาการได้รับการติดตาม ( ตามแบบการประเมิน ของกรมอนามัย )ร้อยละ 80
  2. ผู้ปกครองของเด็กอายุ 2 – 5 ปี มีความรู้ ความเข้าใจในการส่งเสริมและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการอย่างถูกต้องเพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 70
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 มี.ค. 2567 11:12 น.