กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนหลักประกันสุขภาพอบต.ตันหยงลุโละ


“ โครงการส่งเสริมคัดแยกขยะในครัวเรือน ”

ตำบลตันหยงลุโละ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี

หัวหน้าโครงการ
นางสาวแวฟาตีมะห์ เจะยอ

ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมคัดแยกขยะในครัวเรือน

ที่อยู่ ตำบลตันหยงลุโละ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี จังหวัด ปัตตานี

รหัสโครงการ 66 - L3012 – 01 – 02 เลขที่ข้อตกลง 09/67

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการส่งเสริมคัดแยกขยะในครัวเรือน จังหวัดปัตตานี" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลตันหยงลุโละ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนหลักประกันสุขภาพอบต.ตันหยงลุโละ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการส่งเสริมคัดแยกขยะในครัวเรือน



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการส่งเสริมคัดแยกขยะในครัวเรือน " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลตันหยงลุโละ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี รหัสโครงการ 66 - L3012 – 01 – 02 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 พฤษภาคม 2567 - 30 กันยายน 2567 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 30,600.00 บาท จาก กองทุนหลักประกันสุขภาพอบต.ตันหยงลุโละ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ปัจจุบันตำบลตันหยงลุโละ มีปริมาณขยะจำนวนมาก เพิ่มขึ้นตามจำนวนประชากร ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของท้องถิ่น ขยะส่วนใหญ่มาจากการดำรงชีวิตของคนในชุมชน ซึ่งเป็นภาระหนักสำหรับองค์การบริหารส่วนตำบลตันหยงลุโละ ในการบริหารจัดการกำจัดขยะเหล่านั้น ปริมาณขยะจำนวนมากที่เกิดขึ้นทุกวัน ส่งผลให้มีขยะตกค้างเป็นจำนวนมากในแต่ละวันส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสภาพความเป็นอยู่ของคนในชุมชน ได้แก่ ชุมชนสกปรกไม่น่ามอง เสียทัศนียภาพ ส่งกลิ่นเหม็นรบกวน เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และพาหะนำโรคต่างๆ เช่น หนู แมลงสาบ แมลงวัน ทั้งยังเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคโดยตรง เช่น อหิวาตกโรค อุจจาระร่วง บิด โรคผิวหนัง โรคทางเดินหายใจ เกิดการปนเปื้อนของสารพิษ เช่น ตะกั่ว ปรอท ลงสู่พื้นดินและแหล่งน้ำ แหล่งน้ำเน่าเสีย ท่อระบายน้ำอุดตัน อันเป็นสาเหตุของปัญหาน้ำท่วมขัง เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศ เช่น ฝุ่นละลอง เขม่า ควัน จากการเผาขยะ และขยะบางชนิดไม่สามารถย่อยสลายได้ และกำจัดได้ยาก เช่น โฟม พลาสติก ทำให้ตกค้างสู่สิ่งแวดล้อม เพื่อให้การบริหารจัดการขยะมูลฝอยที่มีประสิทธิภาพ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลตันหยงลุโละ จึงจัดโครงการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนและชุมชนขึ้น โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน และก่อให้เกิดการสร้างรายได้ควบคู่กับการสร้างจิตสำนึกให้กับคนในชุมชนในการคัดแยกขยะในครัวเรือนและดูแลสิ่งแวดล้อม ลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะขององค์การบริหารส่วนตำบล นอกจากจะเป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนในการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนและชุมชนของตนเอง ยังรวมไปถึงการลดปริมาณขยะที่นำไปกำจัดโดยการเผาไหม้และฝังกลบได้ ทำให้ช่วยลดสภาวะเรือนกระจก ลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่มีผลให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น หรือ ภาวะโลกร้อน โดยสร้างกระบวนการเรียนรู้ในชุมชน จัดตั้งองค์กรชุมชนในการบริหารจัดการขยะโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน และก่อให้เกิดการสร้างรายได้ควบคู่การสร้างจิตสานึกต่อการรักษ์บ้านเกิดของคนในชุมชน นอกจากจะเป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนและชุมชนของตนเองจนเกิดชุมชนต้นแบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมในตำบล และชุมชนมีปณิธานร่วมกันที่จะขยายผลโครงการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนและชุมครอบคลุมทุกหลังคาเรือน ในรูปแบบธนาคารขยะหมู่บ้าน และขยายผลสู่โรงเรียนทั้ง 3 โรงเรียน ทั้งนี้ จะทำให้ตำบลตันหยงลุโละ เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและความร่วมมือของหมู่บ้าน ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการบริหารจัดการขยะแบบคัดแยกจากต้นกำเนิด และจัดการขยะอย่างเป็นระบบและถูกวิธี

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่ ลดงบประมาณเพื่อการจัดการขยะมูลฝอยและการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม
  2. เพื่อรณรงค์และขยายผลสู่การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และบูรณาการความร่วมมือในการจัดการสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น สอดคล้องหลักการของเมืองท่องเที่ยวน่าอยู่อย่างยั่งยืน

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. ประชุมปรึกษาหารือการจัดกิจกรรมในโครงการฯ แก่คณะกรรมการขยะมูลฝอยระดับตำบล/หมู่บ้าน จำนวน 3 ครั้ง
  2. พัฒนาศักยภาพโดยการเพิ่มทักษะเกี่ยวกับการคัดแยกขยะในครัวเรือน แก่กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 3 รุ่นๆละ 50 คน รวม 150 คน
  3. สนับสนุนการดำเนินงานการคัดแยกขยะประจำหมู่บ้านต่อเนื่อง
  4. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ แก่คณะทำงานและตัวแทนกลุ่มเป้าหมายครัวเรือน เพื่อทบทวน ปรับแก้ไขปัญหาในระหว่างการดำเนินกิจกรรมโครงการ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 150
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. มีการลดปริมาณขยะลงได้ เพราะเมื่อแยกวัสดุส่วนที่ยังมีประโยชน์ออกไป เช่น แก้ว กระดาษ โลหะ พลาสติก ฯลฯ ก็จะเหลือปริมาณขยะจริงที่จำเป็นต้องกำจัดหรือทำลายน้อยลง ซึ่งขยะนี้สถานที่ที่ใช้ทำลายขยะก็นับวันแต่จะหายากลงทุกวัน
  2. ประหยัดงบประมาณลงได้ เพราะในเมื่อเหลือปริมาณขยะจริงที่จำเป็นต้องกาจัดหรือทำลายน้อยลง จึงใช้งบประมาณน้อยลงในการเก็บขนและกำจัดหรือทำลายขยะ
  3. ได้วัสดุหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่เรียกว่า (Recycle) เช่น แก้ว กระดาษ โลหะ พลาสติก ฯลฯ
  4. สงวนทรัพยากรธรรมชาติและประหยัดพลังงาน จากข้อที่ 3 จะได้ผลเป็นการสงวน ทรัพยากรธรรมชาติ และประหยัดพลังงาน เพราะนอกจากจะลดการใช้วัสดุที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติแล้ว ยังไม่ต้องใช้พลังงานในการขุดค้น เช่น ในการผลิตอุปกรณ์ที่เป็นพลาสติกนั้น แทนที่จะต้องใช้เม็ดพลาสติกใหม่ ซึ่งกว่าจะได้ต้องใช้พลังงานมากมาย ก็ใช้พลาสติกที่ผ่านการใช้แล้วนำมาหลอมใช้ใหม่
  5. ช่วยให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น เพราะในเมื่อขยะน้อยลง สิ่งแวดล้อมก็จะดีขึ้น สะอาดขึ้น ปลอดภัยต่อสุขภาพมากขึ้น ซึ่งผลประโยชน์ที่กล่าวมาทั้ง 4 ประการก็เป็นผลประโยชน์ของทุกคนในท้องถิ่นร่วมกัน

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่ ลดงบประมาณเพื่อการจัดการขยะมูลฝอยและการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม
ตัวชี้วัด : ลดปริมาณขยะลงได้ เพราะเมื่อแยกวัสดุส่วนที่ยังมีประโยชน์ออกไป เช่น แก้ว กระดาษ โลหะ พลาสติก ฯลฯ ก็จะเหลือปริมาณขยะจริงที่จำเป็นต้องกำจัดหรือทำลายน้อยลง
0.00

 

2 เพื่อรณรงค์และขยายผลสู่การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และบูรณาการความร่วมมือในการจัดการสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น สอดคล้องหลักการของเมืองท่องเที่ยวน่าอยู่อย่างยั่งยืน
ตัวชี้วัด : ดำเนินการขยายผลหลังคาเรือนและโรงเรียนในพื้นที่ครอบคลุมร้อยละ 90
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 150
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน 150
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่ ลดงบประมาณเพื่อการจัดการขยะมูลฝอยและการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม (2) เพื่อรณรงค์และขยายผลสู่การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และบูรณาการความร่วมมือในการจัดการสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น สอดคล้องหลักการของเมืองท่องเที่ยวน่าอยู่อย่างยั่งยืน

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ประชุมปรึกษาหารือการจัดกิจกรรมในโครงการฯ แก่คณะกรรมการขยะมูลฝอยระดับตำบล/หมู่บ้าน จำนวน 3 ครั้ง (2) พัฒนาศักยภาพโดยการเพิ่มทักษะเกี่ยวกับการคัดแยกขยะในครัวเรือน แก่กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 3 รุ่นๆละ 50 คน รวม 150 คน (3) สนับสนุนการดำเนินงานการคัดแยกขยะประจำหมู่บ้านต่อเนื่อง (4) จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ แก่คณะทำงานและตัวแทนกลุ่มเป้าหมายครัวเรือน เพื่อทบทวน ปรับแก้ไขปัญหาในระหว่างการดำเนินกิจกรรมโครงการ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการส่งเสริมคัดแยกขยะในครัวเรือน จังหวัด ปัตตานี

รหัสโครงการ 66 - L3012 – 01 – 02

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางสาวแวฟาตีมะห์ เจะยอ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด