กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะความผิดปกติของกระดูกข้อเข่าร่วมกับมีอาการปวดเข่า
รหัสโครงการ 67-L5313-01-001
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านห้วยไทร
วันที่อนุมัติ 14 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 42,675.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวดุจฤดี ศรีอาหมัด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.842,99.826place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 42,675.00
รวมงบประมาณ 42,675.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันสังคมไทยมีแนวโน้มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและมีจำนวนประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น จากสถิติของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติในปี2555พบว่าในอำเภอละงูมีผู้สูงอายุที่อายุเกิน 60 ปีประมาณ 9,801 คน ปี 2566 มีผู้สูงอายุที่อายุเกิน 60 ปี จำนวน 10,384 คน และในจำนวนของผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นส่งผลให้กลุ่มผู้สูงอายุเหล่านี้มีภาวะของโรคที่สาเหตุมาจากการเสื่อมถอยของร่างกายตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งในอำเภอละงูพบว่ามีจำนวนของผู้สูงอายุที่มีภาวะโรคข้อเข่าเสื่อมอยู่มาก จากสถิติของผู้ที่มารับบริการที่แผนกกายภาพบำบัดในปี 2566 ในพื้นที่รับผิดชอบของรพ.สต.บ้านห้วยไทร มีจำนวนผู้สูงอายุ จำนวน 933 ราย มีภาวะปวดเข่า( ประเมินโดยใช้ pain scale ระดับ 6-10) โดยมีสาเหตุมาจากภาวะการเสื่อมของกระดูกตามวัยและมีความผิดปกติของโครงสร้างกระดูกข้อเข่าจำนวน 89 ราย คิดเป็น 9.54%     โดยพบว่าผู้ป่วยเหล่านี้ที่ผ่านมายังขาดความรู้ความเข้าใจและการปฏิบัติตัวรวมไปถึงข้อห้ามข้อควรระวังที่จะส่งเสริมให้อาการเสื่อมของข้อเข่าเพิ่มมากขึ้น ทางแก้ไขที่ดีที่สุดคือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตเพื่อลดและชะลออาการเสื่อมของข้อเข่า และยังพบการซื้อยาแก้ปวดที่มีผลต่อโรคประจำตัวมารับประทานเองส่งผลให้มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคอื่นๆตามมา ดังนั้นเพื่อให้เกิดความสอดคล้องและตอบสนองการรักษาที่ดีต่อการรักษาทางกายภาพบำบัดและลดโอกาสเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนอื่นๆจากการรับประทานยาแก้ปวดแบบผิดวิธี จึงเป็นแรงบันดาลใจในการจัดทำโครงการฯ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุที่มีอาการปวดเข่า ให้เกิดความเข้าใจและส่งเสริมให้เกิดการออกกำลังกายในผู้สูงอายุและให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูรักษาอาการปวดเข่าร่วมกับการทำกายภาพบำบัด โครงการจัดอบรมพัฒนาคุณภาพชีวิตและการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุที่มีอาการปวดเข่า ที่งานกายภาพบำบัดจัดขึ้น มีส่วนสำคัญในการจุดประกายให้ผู้สูงอายุในหมู่บ้าน ได้หันมาดูแลเอาใจใส่สุขภาพของตนเองมากขึ้น เน้นการพัฒนาในระดับชุมชนมุ่งเน้นการส่งเสริมการออกกำลังกาย เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวัน รวมไปถึงการทำงานให้มีคุณภาพโดยอาการปวดเข่าลดลงหรือไม่มีอาการปวดเข่าขณะทำกิจวัติต่างๆในชีวิตประจำวันได้และปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมอบรมมีความรู้เบื้องต้นเรื่องการออกกำลังกายในภาวะเข่าเสื่อม

ผู้สูงอายุมีความรู้เรื่องการออกกำลังกายในภาวะเข่าเสื่อม ร้อยละ ๘๐ หลังการอบรม โดยวิธีการการถามตอบและทดสอบเชิงปฏิบัติ

6.00
2 ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมอบรมมีความรู้เบื้องต้นเรื่องการใช้ยาทั่วไป/ยาสมุนไพรเกี่ยวกับภาวะเข่าเสื่อม

ผู้สูงอายุมีความรู้เบื้องต้นเรื่องการใช้ยาทั่วไป/ยาสมุนไพรเกี่ยวกับภาวะเข่าเสื่อม ร้อยละ ๘๐ หลังการอบรม โดยวิธีการการทำแบบสอบถามและทดสอบเชิงปฏิบัติการในการเลือกใช้ยาแต่ละประเภทตามความเหมาะสมของโรค

6.00
3 ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมอบรมมีภาวะปวดเข่าลดลง 1 Pain scale หลังอบรม 1 เดือน

ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมอบรมมีภาวะปวดเข่าลดลง 1 Pain scale หลังอบรม 1 เดือนร้อยละ 60 โดยใช้ pain scale /Time and go test ในการตรวจประเมิน

6.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 220 42,675.00 0 0.00
22 มี.ค. 67 กิจกรรมประเมินผลการรักษา 55 5,775.00 -
2 พ.ค. 67 อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องโรคปวดเข่า 55 17,050.00 -
6 มิ.ย. 67 อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องสุขภาพ/โภชนาการถูกต้องและเหมาะสมกับโรคเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ 55 14,350.00 -
3 ก.ค. 67 กิจกรรมให้ความรู้เรื่องการพอกเข่าโดยใช้ยาสมุนไพร 55 5,500.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

-ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด -เพิ่มศักยภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี -อาการปวดจากโรคข้อเข่าเสื่อมลดลง -ผู้เข้าอบรมสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 มี.ค. 2567 14:43 น.