กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนทุ่งพลาเรียนรู้เท่าทันโรคติดต่อที่สามารถป้องกันด้วยวัคซีน ในเด็ก 0 – 5 ปี ประจำปี 2567
รหัสโครงการ 67-L2979-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งพลา
วันที่อนุมัติ 9 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 19,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายปรีชา กาฬแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งพลา อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 53 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กเล็ก(0-3 ปี) ได้รับฉีดวัคซีนครบตามหลักเกณฑ์
75.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนในชุมชน เป็นสิ่งสำคัญในการสร้างภูมิคุ้มกันโรคในชุมชน ต่อโรคติดต่อที่สามารถป้องกันโดยวัคซีน ที่ผ่านมาจะพบว่า 3 จังหวัดชายแดนใต้ มีความครอบคลุมวัคซีนที่ต่ำกว่าเกณฑ์ และพบว่าในช่วงเดือน สิงหาคมพ.ศ.2666 มีเด็กแรกเกิด อายุ 18 วัน อาศัยอยู่ที่อำเภอหนองจิก คลอดที่รพ.ปัตตานี ติดเชื้อไอกรนเสียชีวิต ซึ่งเด็กได้รับเชื้อก่อนช่วงวัยที่ต้องได้รับวัคซีน วัคซีนป้องกันไอกรน จะเริ่มฉีดครั้งแรกเมื่อเด็กอายุ 2 เดือน จากเหตุการณ์ สามารถสังเกต และคาดการณ์ว่าเด็กอาจจะสัมผัสผู้ป่วยที่รับเชื้อไอกรน จากการลวสอบสวนโรค ไม่มีคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคไอกรน โรคไอกรนสามารถพบได้ในทุกช่วงอายุ แต่มักไม่พบในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปี เนื่องจากเด็กในช่วงอายุนี้ได้ภูมิคุ้มกันต้านทานโรคจากแม่แล้วและมีโอกาสสัมผัสโรคน้อย ในประเทศที่ยังไม่พัฒนามักจะพบโรคไอกรนในเด็กเล็กได้มาก อาจเป็นเพราะเด็กอาจยังไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคนั่นเอง แต่ในประเทศที่พัฒนาแล้วจะพบอุบัติการณ์ของโรคไอกรนได้น้อย ซึ่งวัคซีนขั้นพื้นฐานทุกชนิด และข้อมูล ณ วันที่ 14 พฤศจิกายน 2566 จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี พบว่ามีการระบาดของโรคไอกรน มีผู้ป่วยจำนวน 44 รายทั้งจังหวัด เสียชีวิต 1 ราย อำเภอโคกโพธิ์ ไม่พบผู้ป่วย และเสียชีวิต แต่ทั้งนี้ก็ต้องฉีดวัคซีนเด็กอายุ 0 – 5 ปีให้ครอบคลุมมากที่สุด จากการแก้ปัญหาเรื่องวัคซีนที่ผ่านมา มีอัตราการฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้น ในปีงบประมาณ 2566 พบเด็กตำบลทุ่งพลา ได้รับวัคซีนทุกชนิดครบตามเกณฑ์อายุ 1 ปี คิดเป็นร้อยละ 66.67 ได้รับวัคซีนทุกชนิดครบตามเกณฑ์อายุ 2 ปี คิดเป็นร้อยละ 66.67 ได้รับวัคซีนทุกชนิดครบตามเกณฑ์อายุ 3 ปี คิดเป็นร้อยละ 56.41 ได้รับวัคซีนทุกชนิดครบตามเกณฑ์อายุ 4 ปี คิดเป็นร้อยละ 56.41 (ข้อมูล HDC จะงหวัดปัตตานี) แต่การจะสร้างภูมิคุ้มกันได้ดีต้องมีภูมิคุ้มกันชุมชน ที่ร้อยละ 95 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งพลา อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี มีเขตพื้นที่รับผิดชอบจำนวน 5 หมู่บ้าน อยู่ในเขตการปกครองของ อบต.ทุ่งพลา จากรายงานการเฝ้าระวังโรค ของสำนักระบาดวิทยาในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2563-2565) และ ในปี 2566 ล่าสุด ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 พบว่า ไม่พบผู้ป่วยด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน จากการสำรวจ สอบถามและวิเคราะห์ข้อมูล พบว่าเด็กหมู่ที่ 1 และ 3 มีอัตราขาดนัด และปฏิเสธวัคซีนมากที่สุด สามารถสรุปปัญหาได้ดังนี้ 1. วัคซีนไม่จำเป็นต้องฉีด เพราะไม่ฉีดลูกก็ไม่ป่วย 2. ไม่เห็นความสำคัญในการควบคุมโรคติดต่อ 3.ลืมวันนัดที่ต้องฉีดวัคซีน 4.ปู่ ย่า ตา ยาย มีอิทธิพล ไม่อยากให้พามาฉีดวัคซีน 5.การเสพสื่อ Social ในทางที่ผิดเรื่องการรับวัคซีน ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งพลา จึงเห็นความสำคัญในการเสริมสร้างซักซ้อมความเข้าใจเรื่องวัคซีนในผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี และผู้นำชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายสุขภาพ เพื่อรับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีน จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มการได้รับฉีดวัคซีนครบตามหลักเกณฑ์เด็กเล็ก(0-3 ปี) ขึ้น

ร้อยละของเด็กเล็ก(0-3 ปี) ได้รับฉีดวัคซีนครบตามหลักเกณฑ์

75.00 95.00
2 เพื่อให้แกนนำชุมชนเข้ามีส่วนร่วม และแก้ไขปัญหาร่วมกัน

ร้อยละของกลุ่มเป้าหมายมีความเข้าใจ มีแนวทางการดำเนินงานวัคซีนร่วมกัน

0.00 100.00
3 เพื่อพัฒนาทักษะเครือข่ายสาธารณสุขความรู้เรื่องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค

เกิดชุมชนต้นแบบ งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ชุมชนปลอดโรคที่สามารถป้องกันด้วยวัคซีน ร้อยละ 100

0.00 100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 19,050.00 0 0.00
1 มี.ค. 67 - 3 มิ.ย. 67 อบรมสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคแกนนำชุมชน และผู้ปกครอง 0 13,860.00 -
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 รณรงค์เชิญชวนพาบุตรหลานมาสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้ครอบคลุม 0 5,190.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. แกนนำชุมชนมีส่วนร่วมในงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
  2. ความครอบคลุมวัคซีนในเด็กแรกเกิด – 5 ปี เพิ่มขึ้น
  3. แกนนำชุมชน มีความรู้เรื่องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคและสามารถถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 มี.ค. 2567 00:00 น.