กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุบ้านกระทูนฯ ประจำปีงบประมาณ 2567 (ประเภทที่ 1)
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกระทูน-พิปูนล้นเกล้า
วันที่อนุมัติ 14 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 34,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวีรวัฒน์ ล่าโยค
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนกาหลง อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.953,100.03place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 210 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย จากสถิติผู้สูงอายุพบว่ามีผู้สูงอายุในประเทศไทยจำนวน 12,814,778 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 19.40 การเพิ่มของประชากรสูงอายุในประเทศไทยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เมื่อพิจารณาจากสัดส่วนของประชากรสูงอายุจากประชากรทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นสัดส่วนของประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปหรือสัดส่วนของประชากรที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป จะเห็นถึงแนวโน้มการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง โดยสัดส่วนของประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5 ในปี พ.ศ.2493 เป็นประมาณร้อยละ 20 ในปี พ.ศ.2563 และคาดประมาณว่าจะเพิ่มเป็นประมาณร้อยละ 30 ในปี พ.ศ.2583 ในช่วงเวลาเดียวกันนั้นสัดส่วนของประชากรที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3 เป็นประมาณร้อยละ 16 และคาดว่าจะเพิ่มเป็นประมาณร้อยละ 26 ในช่วงเวลาเดียวกันส่งผลให้ประเทศต้องเตรียมการเพื่อรองรับสถานการณ์สังคมสูงอายุเป็นประเด็นสำคัญ เนื่องจากผู้สูงอายุเป็นกลุ่มเสี่ยงด้านสุขภาพ และส่งผลกระทบต่องบประมาณด้านการรักษาพยาบาล     จากการสำรวจข้อมูลของผู้สูงอายุในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกระทูน-พิปูนล้นเกล้า หมู่ ๕ , ๖ และ ๙ ตำบลควนกาหลง ปี ๒๕๖๔ –๒๕6๖ พบว่า ปี ๒๕๖๔ มีผู้สูงอายุ จำนวน ๔๖๙ คน, ปี ๒๕๖๕ มีผู้สูงอายุ จำนวน ๕๑๘ คน และปี ๒๕6๖ มีผู้สูงอายุ จำนวน ๕๓๖ คน ตามลำดับ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ ๑๒ ของประชากรที่รับผิดชอบทั้งหมด นับว่าเป็นชุมชนที่มีผู้สูงอายุอาศัยอยู่จำนวนไม่น้อย โดยในเขตรับผิดชอบมีผู้สูงอายุทั้ง 3 กลุ่ม คือกลุ่มติดสังคม กลุ่มติดบ้าน และกลุ่มติดเตียง ที่จะต้องได้รับการดูแลที่แตกต่างกันไปตามบริบท กลุ่มติดสังคม ควรได้รับการส่งเสริมสุขภาพ เพื่อลดโอกาสการเกิดโรคเรื้อรัง และภาวะพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ ภาวะสมองเสื่อมที่สามารถรักษาได้ กลุ่มติดบ้านขาดการเข้าถึงระบบสาธารณสุข เนื่องจากไม่สะดวกด้านการเดินทาง กลุ่มติดเตียง มีอยู่ประมาณ ๑๐ ราย จากการลงเยี่ยมยังพบภาวะข้อติดแข็ง และแผลกดทับ ภาวะทุพโภชนาการ ซึ่งจำเป็นที่ต้องได้รับการดูแลอย่างเร่งด่วน จากการดำเนินโครงการอบรมให้ความรู้ในปีงบประมาณ ๒๕๖๖ พบว่า ผู้สูงอายุให้ความสำคัญ และตื่นตัวในการดูแลสุขภาพมากขึ้น มีความรู้ที่จะดูแลตนเอง การจัดการอบรมอย่างต่อเนื่องเลยสำคัญ เพื่อสร้างความตระหนัก และเพิ่มความรู้ให้ผู้สูงอายุ และผู้ดูแลในชุมชนมีความรู้ที่ทันสมัย เข้าถึงการใช้บริการอย่างรวมเร็ว และรับการรักษาอย่างทันท่วงที     ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกระทูน - พิปูนล้นเกล้า เห็นความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้มีทักษะด้านความรู้ความเข้าใจข้อมูลทางสุขภาพ การสื่อสาร การเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ รวมถึงทักษะการตัดสินใจที่ดี ซึ่งทักษะการตัดสินใจที่ดีเกิดขึ้นจากความรู้ความเข้าใจข้อมูลสุขภาพที่ผู้สูงอายุได้รับ ประสบการณ์เดิมที่ผ่านมาในอดีตที่ช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถเลือกปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพที่ดี หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง จนทำให้เกิดภาวะสุขภาพที่ดีและคุณภาพชีวิตที่ดี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อเตรียมความพร้อมของผู้สูงอายุในชุมชนให้มีความรอบรู้ด้านสุขภาพที่พึงประสงค์ ๒.เพื่อให้ผู้สูงอายุกลุ่มเปราะบาง สามารถเข้าถึงบริการ และการตรวจสุขภาพเบื้องต้นอย่างทั่วถึง

๑.ร้อยละ ๗๐ ของกลุ่มเป้าหมาย มีความรอบรู้ด้านสุขภาพที่พึงประสงค์ ๒.ร้อยละ ๙๐ ของผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ติดเตียง ได้รับการประเมินและตรวจสุขภาพเบื้องต้น

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้สูงอายุ/ผู้ดูแลผู้สูงอายุ และแกนนำอสม.มีความรู้ ความเข้าใจข้อมูลทางสุขภาพ การสื่อสาร การเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ รวมถึงทักษะการตัดสินใจที่ดี ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง ได้รับการประเมินปัญหาสุขภาพ และได้การดูแลเหมาะสมกับปัญหาที่มีเฉพาะราย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 มี.ค. 2567 10:39 น.