กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการวัยเรียนสดใส ใส่ใจโภชนาการ (ประเภทที่ 1)
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกระทูน-พิปูนล้นเกล้า
วันที่อนุมัติ 14 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 30,392.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวีรวัฒน์ ล่าโยค
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนกาหลง อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.953,100.03place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 166 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อาหารถือเป็นสิ่งจำเป็นต่อคนเรา โดยเฉพาะกับเด็กและเยาวชนที่กำลังอยู่ในช่วงของการเจริญเติบโต ปัจจุบันเด็กไทยประสบปัญหาเรื่องรูปร่างที่ไม่สมส่วน ทั้งผอม เตี้ย อ้วน และสติปัญญาไม่ทัดเทียมกับประเทศเพื่อนบ้านบางประเทศซึ่งเกิดจากปัญหาโภชนาการที่ไม่ถูกต้อง รับประทานอาหารไม่ครบถ้วน ไม่กินผักผลไม้ เน้นแต่ขนมกรุบกรอบ รวมทั้งการเล่นโทรศัพท์เป็นเวลามากกว่า 2 ชั่วโมง ของเด็กวัยเรียนในปัจจุบัน ทำให้มีการเคลื่อนไหวน้อยลงในเด็ก หากปล่อยทิ้งไว้ จะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการเรียนของเด็กเอง ดังนั้นโครงการวัยเรียนสดใส ใส่ใจโภชนาการ ด้วยการกินอาหารถูกหลักโภชนาการครบ 5 หมู่ ลดขนมกรุบกรอบ และหันมาออกกำลังกาย เพราะจะเป็นตัวช่วยพัฒนาสิ่งต่าง ๆ ในร่างกายของเด็กได้เป็นอย่างดี แต่ในปัจจุบันหลายครัวเรือนกลับมองข้ามเรื่องแบบนี้ จึงส่งผลให้เด็กไทยส่วนใหญ่ อ้วน เตี้ย ไม่สมส่วน นั่นส่งผลไปถึงการพัฒนาสมองของอนาคตของชาติต่อไปอีกด้วย ทุกคนอยากมีสุขภาพดี ไม่เจ็บป่วย ซึ่งการกินอาหารถูกต้อง เหมาะสม และพอเพียงจะทำให้มีโภชนาการดี และนำไปสู่การมีคุณภาพดี แต่ในทางตรงกันข้ามหากกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ไม่เพียงพอจะทำให้ขาดสารอาหาร หรือถ้ากินอาหารมากเกินไปก็จะทำให้เป็นโรคอ้วน หรือโภชนาการเกิน “โภชนาการ” จึงเป็นเรื่องของการกิน “อาหาร” ที่ร่างกายเรานำ “สารอาหาร” จากอาหารไปใช้ประโยชน์ และการดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุข อาหารและโภชนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพ อาหารและโภชนาการที่ดี เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของเด็กวัยวัยเรียน ปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ ได้แก่ ภาวการณ์เจริญเติบโตไม่สมวัย จากโรคขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการเกิน การขาดสารไอโอดีน ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โดยมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม การเลี้ยงดูลูกด้วยนมแม่ลดลง การให้อาหารตามวัยแก่เด็กเร็วเกินไปและไม่ถูกต้อง และการประเมินผลการเฝ้าระวังทางโภชนาการเด็กวัยเรียน จะพบว่าเด็กในพื้นที่รับผิดชอบของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกระทูน - พิปูนล้นเกล้า ในช่วงไตรมาสที่ผ่านมา มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ 42 คน คิดเป็นร้อยละ 13.55 น้ำหนักเกินกว่าเกณฑ์ 53 คน คิดเป็นร้อยละ 17.10 จากเด็กทั้งหมด 310 คน และในอนาคตมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
    ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกระทูน - พิปูนล้นเกล้า ได้เล็งเห็นความสำคัญของภาวะโภชนาการเกินในเด็กวัยเรียน เพื่อให้เด็กวัยเรียนมีรูปร่างที่สมส่วน และสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัย เติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของประเทศชาติต่อไป จึงได้จัดทำโครงการวัยเรียนสดใส ใส่ใจโภชนาการ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖7 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ความรู้แก่นักเรียนในเรื่องของการส่งเสริมโภชนาการ 2. เพื่อประเมินและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการนักเรียน 3. เพื่อให้นักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน (อ้วน) ได้รับการดูแลแก้ไข 4. เพื่อให้นักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน (อ้วน) ได้รับการออกกำลังกายทุกวัน
  • เด็กวัยเรียนมีความรู้ความเข้าใจต่อการเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมต่อช่วงวัยได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 70 (ทดสอบความรู้ก่อนและหลังอบรม)
  • เด็กวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเลือกรับประทานอาหาร ร้อยละ 70
  • จำนวนนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน ลดลง ร้อยละ 60
  • จำนวนนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน ได้รับการออกกำลังกาย ร้อยละ 80
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนมีความรู้ในเรื่องโภชนาการที่สมวัย
  2. นักเรียนมีภาวะโภชนาการสมวัย
  3. นักเรียนสามารถเป็นแกนนำและนำความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดในรุ่นต่อไป
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 มี.ค. 2567 10:57 น.