กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพสตรีและเด็ก ด้วยตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน (ประเภทที่ 1)
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.ควนกาหลง
วันที่อนุมัติ 14 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 174,116.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายธำรง คงอาษา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนกาหลง อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.953,100.03place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 270 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 73 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)     กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มีการขับเคลื่อนงานมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต โดยเน้นการพัฒนาคุณภาพบริการคลีนิคฝากครรภ์ คลินิกสุขภาพดี ให้ความสำคัญกับชุมชน ท้องถิ่น และภาคีเครือข่ายการร่วมลงทุนเป็นเจ้าของ ในการขับเคลื่อนงานโดยใช้กลไกระดับพื้นร่วมดำเนินการครบถ้วนทุกกิจกรรมสำคัญ ได้แก่ กิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟัน ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทุกคน ได้แก่ หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร และเด็กอายุ 0 - 2 ปี และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ได้ขับเคลื่อนการดำเนินงานผ่านภาคีเครือข่ายบันทึกข้อตกลงการบูรณาการความร่วมมือ การพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต กลุ่มเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2565 – 2569 (MOU 6 กระทรวง) โดยมีกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงศึกษาธิการ
  ร่วมพัฒนาและส่งเสริมสุขภาพสตรีและเด็กในช่วง 1,000 วันแรก ของชีวิต ต่อเนื่องไปจนถึงเด็กอายุ 5 ปี ผ่านกลไกตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน ซึ่งเป็นกลไกที่เกิดจากความร่วมมือภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ในการดูแล ส่งเสริมสุขภาพ และคุ้มครองสตรีและเด็กปฐมวัย ตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์มารดา จนถึงเด็กอายุ 5 ปี รวมถึงการส่งเสริมให้หญิงวัยเจริญพันธุ์มีความพร้อมตั้งแต่ระยะ ก่อนตั้งครรภ์ ที่เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการส่งเสริมให้การตั้งครรภ์มีคุณภาพ ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย และเด็กปฐมวัยเติบโตเต็มศักยภาพ
    กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลควนกาหลง ได้ตระหนักถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และให้ความสำคัญกับการดูแล ส่งเสริมสุขภาพสตรีและเด็กในช่วง 1,000 วันแรกของชีวิต ต่อเนื่องไปจนถึง 5 ปี
จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพสตรีและเด็ก 0 – 5 ปี ด้วยตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วันขึ้น โดยให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาในทุกกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการดำเนินงาน และส่งผลให้หญิงตั้งครรภ์หญิงหลังคลอดและเด็ก มีภาวะสุขภาพที่ดีในอนาคต โดยขอรับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลควนกาหลง 174,116.- บาท (เงินหนึ่งแสนเจ็ดหมื่นสี่พันหนึ่งร้อยสิบหกบาทถ้วน)

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อพัฒนาศักยภาพครูพี่เลี้ยง ครูผู้ดูแลเด็ก และภาคีเครือข่าย ให้มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องด้านการประเมินและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 2 เพื่อส่งเสริมให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอดและหญิงให้นมบุตร มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการดูแลตนเองระหว่างตั้งครรภ์ 3 เพื่อให้ พ่อ แม่ ผู้ปกครอง มีความรู้ความเข้าใจเรื่องพัฒนาการ พฤติกรรม และสามารถส่งเสริมพัฒนาการได้อย่างเหมาะสมกับวัยของเด็กและหลังคลอด 4 เพื่อเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กและภาวะโภชนาการในเด็ก
  • ครูพี่เลี้ยง ครูผู้ดูแลเด็ก และภาคีเครือข่ายเข้าร่วมอบรมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90
  • ครูพี่เลี้ยง ครูผู้ดูแลเด็ก และภาคีเครือข่าย มีทักษะที่ถูกต้องในการประเมินและส่งเสริมพัฒนาการเด็กด้วยอุปกรณ์เฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก (DSPM) ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90
  • หญิงตั้งครรภ์ในเขตตำบลควนกาหลงเข้าร่วมอบรมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90
  • หญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอดและหญิงให้นมบุตรในเขตตำบลควนกาหลงมีความรู้ในการดูแลตนเองระหว่างตั้งครรภ์และหลังคลอดไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90
  • พ่อ แม่ ผู้ปกครองร้อยละ 90 เข้าร่วมโครงการและมีความรู้และสามารถส่งเสริมพัฒนาการเด็กได้
  • ร้อยละ 100 ของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับการประเมินพัฒนาการตามคู่มือการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) และเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าจะได้รับการกระตุ้นพัฒนาการ และได้รับการส่งต่อ
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับการประเมินพัฒนาการ และการกระตุ้นพัฒนาการที่ถูกต้องตามวัย
  2. หญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอดและหญิงให้นมบุตรมีทักษะความรู้ที่ถูกต้องในการลดดูแลตนเอง
  3. ครูพี่เลี้ยง ครูผู้ดูแลเด็ก และภาคีเครือข่าย มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพสตรีและเด็ก
  4. เกิดความยั่งยืนในการดำเนินงาน ส่งผลให้หญิงตั้งครรภ์หญิงหลังคลอดและเด็ก มีภาวะสุขภาพที่ดีในอนาคต
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 มี.ค. 2567 12:37 น.