กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหมู่บ้านปลอดลูกน้ำยุงลาย ประจำปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลท่านั่ง
วันที่อนุมัติ 1 ตุลาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2566 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 35,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายธนพล อยู่ศรี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่านั่ง อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 25 ม.ค. 2567 35,000.00
รวมงบประมาณ 35,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปีนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 12 ตุลาคม 2566 มีรายงานผู้ป่วยทั่วประเทศ 29,397 ราย เสียชีวิต 23 ราย อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.08 กลุ่มอายุที่พบอัตราป่วยมากที่สุด คือ 5 -14 ปี จำนวน 9,550 ราย รองลงมา 15 - 24 ปี จำนวน 6,834 ราย และอายุ25-34ปี จำนวน 4,544 รายพบผู้ป่วยกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ จังหวัดที่พบอัตราป่วยสูงสุด 5 ลำดับ ได้แก่ แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ตาก ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี โดยโรคไข้เลือดออกเดงกี เป็นโรคติดเชื้อไวรัสเดงกีที่มียุงลายเป็นแมลงนำโรค โรคนี้ได้กลายเป็นปัญหาสาธารณสุขในหลายประเทศทั่วโลก เนื่องจากโรคได้แพร่กระจายอย่างกว้างขวางและจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างมากใน 30 ปีที่ผ่านมา มากกว่า 100 ประเทศที่โรคนี้กลายเป็นโรคประจำถิ่น และโรคนี้ยังคุกคามต่อสุขภาพของประชากรโลกมากกว่าร้อยละ 40 (2,500 ล้านคน) โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะพบมากในประเทศเขตร้อนและเขตอบอุ่น ซึ่งร้อยละ 70 ของผู้ป่วยทั้งหมดมาจากประเทศในภูมิภาคเอเชีย สำหรับประเทศไทยเริ่มมีรายงานพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกครั้งแรกในปี พ.ศ. 2492 และพบการระบาดครั้งแรกในปี พ.ศ. 2501 พบการระบาดใหญ่ที่สุดในปีพ.ศ. 2530 มีรายงานผู้ป่วยสูงถึง 170,000 กว่าราย เสียชีวิต 1,000 กว่าราย หลังจากนั้นประเทศไทยมีแนวโน้มของการพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้น โดยในปีที่มีการระบาดใหญ่จะพบผู้ป่วยมากกว่า 100,000 ราย และเสียชีวิต 100 รายขึ้นไป โรคไข้เลือดออกมีลักษณะที่แปรผันตามฤดูกาล (Seasonal variation) โดยจะเริ่มมีแนวโน้มผู้ป่วยสูงขึ้นในเดือนเมษายนและสูงสุดในเดือนมิถุนายน - สิงหาคม ซึ่งเป็นฤดูฝน เดือนกันยายนจะเริ่มมีแนวโน้มผู้ป่วยลดลงแต่ถ้าหากช่วงปลายปีจำนวนผู้ป่วยไม่ลดลงและยังคงสูงลอย อาจทำให้เกิดการระบาดต่อเนื่องในปีถัดไปได้ จากการทำโครงการหมู่บ้านปลอดลูกน้ำยุงลายในตำบลท่านั่ง ปีงบประมาณ ๒๕๖6 ซึ่งมีกิจกรรมพ่นหมอกควัน ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย และสุ่มตรวจลูกน้ำยุงลาย โดยสถานการณ์ในปี 2562,2563, 2564,2565 และ 2566พบผู้ป่วยไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลท่านั่ง 3 ราย,1 ราย,0 ราย,4 ราย และ 2 รายตามลำดับ ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลท่านั่งได้เล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันโรคไข้เลือดออก จึงขอดำเนินการโครงการหมู่บ้านปลอดลูกน้ำยุงลาย ปีงบประมาณ 2567 โดยมีความเห็นร่วมกันที่จะต้องการให้ชุมชนเป็นผู้มีบทบาทกระตุ้นเตือนชุมชนเองและร่วมกัน กำจัดลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องในชุมชน และให้เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในระดับท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 35,000.00 0 0.00
1 ต.ค. 66 - 31 มี.ค. 67 จัดทำและอนุมัติแผนงาน/โครงการ 0 0.00 -
1 เม.ย. 67 - 31 พ.ค. 67 ประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการและฟื้นฟูศักยภาพเครือข่ายทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว SRRT 0 5,000.00 -
1 เม.ย. 67 - 31 ส.ค. 67 ออกประเมินสุ่มลูกน้ำยุงลาย 0 10,000.00 -
1 เม.ย. 67 - 31 ส.ค. 67 รณรงค์ประชาสัมพันธ์ พ่นหมอกควัน และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ 0 20,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ชุมชนเกิดความตระหนักและมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังป้องกันโรคไข้เลือดออก
  2. ชุมชนดำเนินกิจกรรมทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในชุมชนอย่างต่อเนื่อง
    1. ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญและอันตรายจากโรคไข้เลือดออก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 มี.ค. 2567 00:00 น.