กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ลดเค็ม ลดไต ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่านั่ง
วันที่อนุมัติ 1 ตุลาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2565 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 17,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางศศิรัตน์ สะราคำ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่านั่ง อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 30 ม.ค. 2566 17,500.00
รวมงบประมาณ 17,500.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์โรคไตในปัจจุบันกำลังเป็นปัญหาใหญ่ระดับโลก คนไทยมีแนวโน้มป่วยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุส่วนใหญ่ร้อยละ 70 เกิดจากเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ซึ่งมีสถิติผู้ป่วยรวมเกือบ 15 ล้านคน ผลที่ตามมาคือมีภาวะไตเสื่อมและไตเสื่อมเร็วขึ้น หากปฏิบัติไม่ถูกต้อง จากข้อมูลพบว่าคนไทยป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังร้อยละ 17.6 ของประชากร หรือประมาณ 8 ล้านคน เป็นผู้ป่วยระยะสุดท้าย 2 แสนคน ป่วยเพิ่มปีละกว่า 7,800 ราย ส่วนการผ่าตัดเปลี่ยนไตทำได้เพียงปีละ 500 ราย จึงเน้นความชะลอความเสื่อมของไตเพื่อให้เข้าสู่ระยะที่ต้องล้างไตช้าลง นอกจากนี้พฤติกรรมการรับประทานอาหารที่เปลี่ยนไป ทำให้พบโรคไตในเด็กด้วยสาเหตุหนึ่ง คือ การรับประทานอาหารเค็ม ฟาสต์ฟูด ขนมขบเคี้ยว (http://www.restmetalk.com, 2563) โรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและทวีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง จากรายงานขององค์การอนามัยโลก มีผู้เสียชีวิตจำนวนปีละ 40 ล้านคน โดยร้อยละ 48 มีการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ในประเทศไทย โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต เศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งการทำงานอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกาย โดยเฉพาะไต ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่เหมาะสมจะช่วยลดโอกาสในการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตได้ ซึ่งเป้าหมายที่สำคัญของการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง คือการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนและส่งเสริมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ปัจจุบันโรคไตเรื้อรัง Chronic Kidney Disese : CKD) เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย โดยเป็นภาวะแทรกซ้อนของเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่สำคัญอย่างหนึ่ง เพราะเป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หาย ต้องการดูแลรักษายาวนาน และมีค่าใช้จ่ายสูง หากเข้าสู่ภาวะไตวายระยะสุดท้ายจะต้องได้รับการรักษาที่เรียกว่า การบำบัดทดแทนไต ด้วยการล้างไตผ่านช่องท้องด้วยเครื่องไตเทียม และการผ่าตัดปลูกถ่ายไต (ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง , ศศิธร ดวนพล, 2563)จากข้อมูลสถานการณ์ผู้ป่วยโรคเรื้อรังตำบลท่านั่ง มีจำนวน 917 คน ในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงทั้งหมด จำนวน 635 คน และโรคเบาหวานทั้งหมด จำนวน 282 คน โรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานในคนๆเดียว จำนวน 237 คน มีผู้ป่วยโรคไต เรื้อรังระยะที่ 1 (ค่า eGFR > 90) จำนวน 303 คน , ระยะที่ 2 (ค่า eGFR 60 – 90) จำนวน 315 คน , ระยะที่ 3 ( ค่า eGFR 30 – 59 ) จำนวน 157 คน , ระยะที่ 4 (ค่า eGFR 15-29) จำนวน 131 คน , , ระยะที่ 5 (ค่า eGFR 15-29) จำนวน 11 คนจากสภาพปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่านั่งมุ่งหวังที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ยาอย่างเหมาะสม พร้อมทั้งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารเค็ม ของกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จึงได้จัดทำโครงการ ลดเค็ม ลดไต ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังปีงบประมาณ 2566

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 17,500.00 0 0.00
1 ต.ค. 65 - 31 ธ.ค. 65 จัดทำแผนโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ 0 0.00 -
1 - 31 ม.ค. 66 ค้นหากลุ่มเป้าหมาย และตรวจค่า EGFR (อัตราการกรองของไต) ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โดยใช้เงินงบประมาณของเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอโพทะเล 0 0.00 -
1 ม.ค. 66 - 28 ก.พ. 66 อบรมให้ความรู้ เรื่อง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหารรสเค็มทักษะในเรื่องใช้ยาอย่างปลอดภัย และเหมาะสม 0 8,000.00 -
1 มี.ค. 66 - 31 พ.ค. 66 กิจกรรม แกนนำทีมรักษ์ไต จำนวน 15 คน ติดตามผู้ป่วยโรคเรื้อรัง หลังจากอบรม จำนวน 3 ครั้ง 0 4,500.00 -
1 - 30 มิ.ย. 66 อบรมสาธิตเมนูอาหารลดเค็ม 0 5,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีความรู้และทักษะในเรื่อง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหารรสเค็ม และใช้ยาอย่างปลอดภัย สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันสามารถลดระดับค่า GFR ของกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังให้มีค่า GFR ดีขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 มี.ค. 2567 00:00 น.