กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
รหัสโครงการ 67-L5284-01-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกุบังปะโหลด
วันที่อนุมัติ 26 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 17,022.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางถนอมสิน หิรัญสถิตย์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกุบังปะโหลด
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 134 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
ปัจจุบันพบว่า คนไทยป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มากขึ้น โดยส่วนใหญ่ร้อยละ ๙๐ เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพ อาทิ ขาดการออกกำลังกาย น้ำหนักตัวเกิน สูบบุหรี่ ดื่มเหล้ากินอาหารไม่เหมาะสม เช่นกินอาหารหวาน มัน เค็มเกิน และกินผักน้อยลง คนที่เป็นโรคเบาหวานหาก ปล่อยตัวภายใน ๑๐ปี จะเกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น หลอดเลือดเสื่อม ทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆได้ เส้นเลือดสมองเสื่อม ทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจเสื่อมทำให้เป็นเส้นเลือดหัวใจตีบได้ และเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงตาเสื่อม ทำให้จอประสาทตาเสื่อมนำไปสู่การตาบอดได้ ส่วนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีภาวะแทรกซ้อนเกิดได้ ๒ กรณีคือ จากความดันโลหิตสูงโดยตรง ได้แก่ ภาวะหัวใจวายและหลอดเลือด ในสมองแตกและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจาก หลอดเลือดแดงตีบและตันทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆไม่พอทำให้เกิดผลกระทบ ได้แก่ ภาวะแทรกซ้อน ทางหัวใจ หัวใจโต กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือหัวใจล้มเหลว กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ทางไต คือไตเสื่อมนำไปสู่ไตวายเรื้อรัง ทางสมอง ทำ ให้สมองตาย เส้นเลือดตีบนำไปสู่ อัมพฤกษ์ อัมพาต ในที่สุด จากข้อมูลของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกุบังปะโหลด ปีงบประมาณ 2566 พบว่า หมู่ที่1-4 ตำบลควนสตอ ได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง เป้าหมาย 783 คน คัดกรองได้ 635 คน คิดเป็นร้อยละ 81.10 พบกลุ่มปกติ 377 คน คิดเป็นร้อยละ 59.37 กลุ่มเสี่ยงความดัน 134 คน เป็นร้อยละ 21.10 กลุ่มสงสัยป่วย 113 คน คิดเป็นร้อยละ 17.80 กลุ่มป่วยส่งพบแพทย์ ได้รับการวินิจฉัย จำนวน 22 คนตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน เป้าหมาย 974 คน คัดกรองได้ 812 คน คิดเป็นร้อยละ 83.37 พบกลุ่มปกติ 611 คน คิดเป็นร้อยละ 75.25 กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน 178 คน เป็นร้อยละ 21.92 กลุ่มสงสัยป่วย 15 คน ส่งพบแพทย์ได้รับการวินิจฉัย จำนวน 13 คน กลุ่มเสี่ยงทั้งโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 134 คน ซึ่งประชากรกลุ่มเสี่ยงกลุ่มนี้ เป็นกลุ่มที่ต้องได้รับความรู้ในการดูแลตนเอง สุขภาพของตนเอง ตามแนวคิดความรอบรู้สุขภาพ ในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงของ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (2561) ซึ่งได้จำแนกองค์ประกอบ 6 ด้านได้แก่ 1.การเข้าถึงข้อมูลสุขภาพและบริการสุขภาพ 2. ความรู้ ความเข้าใจ 3. ทักษะการสื่อสาร 4. ทักษะการจัดการตนเอง 5. ทักษะการตัดสินใจ 6. การรู้เท่าทันสื่อ โดยการใช้แนวคิดความรอบรู้ด้านสุขภาพของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (2561) จะสามารถก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและลดอัตราการเกิดโรคได้แต่ในการดำเนินการต้องให้เหมาะสมกับกลุ่มประชาชนที่มีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพที่แตกต่างกันด้วยจึงจะสามารถก่อให้เกิดความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการและเกิดประสิทธิภาพในการดูแลรักษาสุขภาพการ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกุบังปะโหลด ได้จัดทำโครงการพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ ในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เพื่อการดำเนินงานปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ แก้ไขปัญหาสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ ภายใต้ข้อจำกัด ทั้งด้านอัตรากำลังคนและ งบประมาณในการดำเนินงาน ข้อจำกัดที่พบเพิ่มเต็มคือด้านทักษะและความรู้ความเข้าใจของ อาสาสมัครสาธารณสุข จะจัดการพัฒนาองค์ความรู้สำคัญที่จะช่วยงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง คู่มือการดำเนินงาน คู่มือการติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้าน เพื่อความมั่นใจในการปฏิบัติงาน ในส่วนประชากรกลุ่มเสี่ยง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกุบังปะโหลด จะสำรวจแบบสอบถามสำหรับกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เพื่อการพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงของโรงพยาบาลกุบังปะโหลด เพื่อจะได้ทดลองใช้รูปแบบในการช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เป็นการพัฒนาการงานปรับเปลี่ยนให้มีประสิทธิภาพ โดยเป้าหมายสูงสุด คือประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรอบรู้ สามารถดูแลสุขภาพ เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติสุขภาพ ไม่ให้กลายเป็นผู้ป่วยลดผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ลดเกิดการแทรกซ้อนจากโรคของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายสาธารณสุขที่เน้นระบบสุขภาพเชิงรุก และการสร้างเสริมสุขภาพ ประชาชนป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ เพื่อลดค่าใช้จ่ายของรัฐบาลในการรักษาพยาบาล

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัด 1. เพื่อให้ความรู้ผู้เข้าอบรมในเรื่อง 3อ2ส.เพิ่มขึ้น ร้อยละ80 2. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการประเมินพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส.ที่พึงประสงค์ของคนไทย โดยใช้แนวคิดความรอบรู้สุขภาพ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ร้อยละ 100 3. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามความดันโลหิตและเจาะน้ำตาลครอบคลุมร้อยละ 80 4. เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ลดลงไม่เกินร้อยละ 5 5. เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลงไม่เกินร้อยละ 5

วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัด 1. เพื่อให้ความรู้ผู้เข้าอบรมในเรื่อง 3อ2ส.เพิ่มขึ้น ร้อยละ80 2. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการประเมินพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส.ที่พึงประสงค์ของคนไทย โดยใช้แนวคิดความรอบรู้สุขภาพ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ  ร้อยละ 100 3. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามความดันโลหิตและเจาะน้ำตาลครอบคลุมร้อยละ 80 4. เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ลดลงไม่เกินร้อยละ 5 5. เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลงไม่เกินร้อยละ 5

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 17,022.00 0 0.00
1 ต.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 โครงการพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ ในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง 0 17,022.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.กลุ่มเสี่ยงรับทราบ พฤติกรรมสุขภาพ และระดับความรอบรู้ทางสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงของประชาชนในพื้นที่ เพื่อการแก้ไขปัญหาสุขภาพต่อไป 2.กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ได้รับคู่มือดูแลและติดตามสุขภาพสำหรับกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงครอบคลุม 100 เปอร์เซ็นต์ 3.กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง หลังมีความรู้และนัดติดตามต่อเนื่อง 3 เดือน ค่าระดับความดันโลหิตและค่าน้ำตาลปลายนิ้ว ลดลง 4.เกิดรูปแบบการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ ในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 มี.ค. 2567 10:34 น.