กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนสตอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนสตอ

โรงพยาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกุบังปะโหลด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
ปัจจุบันพบว่า คนไทยป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มากขึ้น โดยส่วนใหญ่ร้อยละ ๙๐ เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพ อาทิ ขาดการออกกำลังกาย น้ำหนักตัวเกิน สูบบุหรี่ ดื่มเหล้ากินอาหารไม่เหมาะสม เช่นกินอาหารหวาน มัน เค็มเกิน และกินผักน้อยลง คนที่เป็นโรคเบาหวานหาก ปล่อยตัวภายใน ๑๐ปี จะเกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น หลอดเลือดเสื่อม ทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆได้ เส้นเลือดสมองเสื่อม ทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจเสื่อมทำให้เป็นเส้นเลือดหัวใจตีบได้ และเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงตาเสื่อม ทำให้จอประสาทตาเสื่อมนำไปสู่การตาบอดได้ ส่วนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีภาวะแทรกซ้อนเกิดได้ ๒ กรณีคือ จากความดันโลหิตสูงโดยตรง ได้แก่ ภาวะหัวใจวายและหลอดเลือด ในสมองแตกและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจาก หลอดเลือดแดงตีบและตันทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆไม่พอทำให้เกิดผลกระทบ ได้แก่ ภาวะแทรกซ้อน ทางหัวใจ หัวใจโต กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือหัวใจล้มเหลว กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ทางไต คือไตเสื่อมนำไปสู่ไตวายเรื้อรัง ทางสมอง ทำ ให้สมองตาย เส้นเลือดตีบนำไปสู่ อัมพฤกษ์ อัมพาต ในที่สุด
จากข้อมูลของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกุบังปะโหลด ปีงบประมาณ 2566 พบว่า หมู่ที่1-4 ตำบลควนสตอ ได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง เป้าหมาย 783 คน คัดกรองได้ 635 คน คิดเป็นร้อยละ 81.10 พบกลุ่มปกติ 377 คน คิดเป็นร้อยละ 59.37 กลุ่มเสี่ยงความดัน 134 คน เป็นร้อยละ 21.10 กลุ่มสงสัยป่วย 113 คน คิดเป็นร้อยละ 17.80 กลุ่มป่วยส่งพบแพทย์ ได้รับการวินิจฉัย จำนวน 22 คนตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน เป้าหมาย 974 คน คัดกรองได้ 812 คน คิดเป็นร้อยละ 83.37 พบกลุ่มปกติ 611 คน คิดเป็นร้อยละ 75.25 กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน 178 คน เป็นร้อยละ 21.92 กลุ่มสงสัยป่วย 15 คน ส่งพบแพทย์ได้รับการวินิจฉัย จำนวน 13 คน กลุ่มเสี่ยงทั้งโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 134 คน ซึ่งประชากรกลุ่มเสี่ยงกลุ่มนี้ เป็นกลุ่มที่ต้องได้รับความรู้ในการดูแลตนเอง สุขภาพของตนเอง ตามแนวคิดความรอบรู้สุขภาพ ในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงของ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (2561) ซึ่งได้จำแนกองค์ประกอบ 6 ด้านได้แก่ 1.การเข้าถึงข้อมูลสุขภาพและบริการสุขภาพ 2. ความรู้ ความเข้าใจ 3. ทักษะการสื่อสาร 4. ทักษะการจัดการตนเอง 5. ทักษะการตัดสินใจ 6. การรู้เท่าทันสื่อ โดยการใช้แนวคิดความรอบรู้ด้านสุขภาพของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (2561) จะสามารถก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและลดอัตราการเกิดโรคได้แต่ในการดำเนินการต้องให้เหมาะสมกับกลุ่มประชาชนที่มีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพที่แตกต่างกันด้วยจึงจะสามารถก่อให้เกิดความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการและเกิดประสิทธิภาพในการดูแลรักษาสุขภาพการ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกุบังปะโหลด ได้จัดทำโครงการพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ ในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เพื่อการดำเนินงานปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ แก้ไขปัญหาสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ ภายใต้ข้อจำกัด ทั้งด้านอัตรากำลังคนและ งบประมาณในการดำเนินงาน ข้อจำกัดที่พบเพิ่มเต็มคือด้านทักษะและความรู้ความเข้าใจของ อาสาสมัครสาธารณสุข จะจัดการพัฒนาองค์ความรู้สำคัญที่จะช่วยงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง คู่มือการดำเนินงาน คู่มือการติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้าน เพื่อความมั่นใจในการปฏิบัติงาน ในส่วนประชากรกลุ่มเสี่ยง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกุบังปะโหลด จะสำรวจแบบสอบถามสำหรับกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เพื่อการพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงของโรงพยาบาลกุบังปะโหลด เพื่อจะได้ทดลองใช้รูปแบบในการช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เป็นการพัฒนาการงานปรับเปลี่ยนให้มีประสิทธิภาพ โดยเป้าหมายสูงสุด คือประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรอบรู้ สามารถดูแลสุขภาพ เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติสุขภาพ ไม่ให้กลายเป็นผู้ป่วยลดผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ลดเกิดการแทรกซ้อนจากโรคของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายสาธารณสุขที่เน้นระบบสุขภาพเชิงรุก และการสร้างเสริมสุขภาพ ประชาชนป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ เพื่อลดค่าใช้จ่ายของรัฐบาลในการรักษาพยาบาล

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัด 1. เพื่อให้ความรู้ผู้เข้าอบรมในเรื่อง 3อ2ส.เพิ่มขึ้น ร้อยละ80 2. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการประเมินพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส.ที่พึงประสงค์ของคนไทย โดยใช้แนวคิดความรอบรู้สุขภาพ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ร้อยละ 100 3. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามความดันโลหิตและเจาะน้ำตาลครอบคลุมร้อยละ 80 4. เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ลดลงไม่เกินร้อยละ 5 5. เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลงไม่เกินร้อยละ 5

วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัด 1. เพื่อให้ความรู้ผู้เข้าอบรมในเรื่อง 3อ2ส.เพิ่มขึ้น ร้อยละ80 2. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการประเมินพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส.ที่พึงประสงค์ของคนไทย โดยใช้แนวคิดความรอบรู้สุขภาพ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ  ร้อยละ 100 3. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามความดันโลหิตและเจาะน้ำตาลครอบคลุมร้อยละ 80 4. เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ลดลงไม่เกินร้อยละ 5 5. เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลงไม่เกินร้อยละ 5

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 134
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ ในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
โครงการพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ ในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. สำรวจแบบสอบถามกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงทั้งหมดจากการคัดกรอง เพื่อประเมินข้อมูลทั่วไป ความรู้ความเข้าใจทางสุขภาพ ตาม 3 อ.2ส. การเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ การสื่อสารสุขภาพ การจัดการตนเองและรู้เท่าทันสื่อตาม 3อ.2ส.การตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้องตาม 3 อ.2ส.และพฤติกรรมสุขภาพ จำนวน 134 คน

วัสดุ -ค่าถ่ายเอกสารแบบสอบถามกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 134 คน  ชุดละ 5 บาท เป็นเงิน 670 บาท -  -ปากกาด้ามละ 8 บาท จำนวน 134 ด้าม เป็นเงิน 1,072 บาท รวมเป็นเงิน  1,742 บาท

ตุลาคม2566

ถึง30 กันยายน2567

๒. ครั้งที่ 1 อบรมให้ความรู้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 35 คน การรู้ตนว่าความเสี่ยงอยู่ระดับไหน การฝึกปฏิบัติวัดความดันโลหิตที่บ้านเพื่อการติดตาม ผลสุขภาพ 12 สัปดาห์

  • วิทยากรของรพ.สต.บ้านกุบังปะโหลด ให้ความรู้ ประเมินภาวะสุขภาพ ( ไม่มีค่าวิทยากร)
  • ค่าอาหารว่างและน้ำดื่ม จำนวน 1 มื้อ จำนวน 35 คน X 1 มื้อx 30 บาท        เป็นเงิน 1,050 บาท -คู่มือดูแลและการตรวจติดตามสำหรับกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 134 คน เล่มละ 25 บาท เป็นเงิน 3,350 บาท รวมเป็นเงิน  4,400 บาท


๓. ครั้งที่ 2 อบรมให้ความรู้กลุ่มเสี่ยงโรคร่วมจำนวน 35 คน เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม3 อ.2ส.เข้มข้น


    - ค่าวิทยากร (ใน) 5 ชม ชม.ละ 300 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท - ค่าอาหารกลางวัน และน้ำดื่ม
จำนวน 35 คน X 1 มื้อx 60 บาท      เป็นเงิน  2,100   บาท - ค่าอาหารว่างและน้ำดื่ม
จำนวน 35 คน X 2 มื้อx 30 บาท      เป็นเงิน  2,100   บาท -  -เอกสารชุดความรู้การปรับเปลี่ยน จำนวน 35 ชุด ชุดละ 10 -  เป็นเงิน 350 บาท -  -ค่าปากกาด้ามละ 8 บาท จำนวน 35 ด้าม เป็นเงิน 280 บาท รวมเป็นเงิน 6,330 บาท
๔.ครั้งที่ 3 อบรมให้ความรู้กลุ่มเสี่ยงโรคร่วมจำนวน 35 คน การออกกำลังกาย  และการออกกำลังกายแบบแอโรบิค         - ค่าวิทยากร (นอก ) 3 ชม ชม.ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท - ค่าอาหารว่างและน้ำดื่ม
จำนวน 35 คน X 1 มื้อx 30 บาท      เป็นเงิน  1,050บาท รวมเป็นเงิน 2,850
5. ประชุมสรุปผลดำเนินโครงการพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ ในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เพื่อพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ ที่ประชาชนสามารถนำไปใช้ได้ทั้งในกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย
    - ค่าอาหารว่างและน้ำดื่ม
จำนวน 40 คน X 1 มื้อx 30 บาท      เป็นเงิน  1,200บาท -ค่าเอกสาร คืนข้อมูล สรุปผลโครงการและจัดทำรูปเล่ม เป็นเงิน 500 บาท รวมเป็นเงิน  1,700บาท
รวมเป็น    17,022

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. สำรวจแบบสอบถามกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงทั้งหมดจากการคัดกรอง เพื่อประเมินข้อมูลทั่วไป ความรู้ความเข้าใจทางสุขภาพ ตาม 3 อ.2ส. การเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ การสื่อสารสุขภาพ การจัดการตนเองและรู้เท่าทันสื่อตาม 3อ.2ส.การตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้องตาม 3 อ.2ส.และพฤติกรรมสุขภาพ จำนวน 134 คน

วัสดุ -ค่าถ่ายเอกสารแบบสอบถามกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 134 คน  ชุดละ 5 บาท เป็นเงิน 670 บาท -  -ปากกาด้ามละ 8 บาท จำนวน 134 ด้าม เป็นเงิน 1,072 บาท รวมเป็นเงิน  1,742 บาท

ตุลาคม2566

ถึง30 กันยายน2567

๒. ครั้งที่ 1 อบรมให้ความรู้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 35 คน การรู้ตนว่าความเสี่ยงอยู่ระดับไหน การฝึกปฏิบัติวัดความดันโลหิตที่บ้านเพื่อการติดตาม ผลสุขภาพ 12 สัปดาห์

  • วิทยากรของรพ.สต.บ้านกุบังปะโหลด ให้ความรู้ ประเมินภาวะสุขภาพ ( ไม่มีค่าวิทยากร)
  • ค่าอาหารว่างและน้ำดื่ม จำนวน 1 มื้อ จำนวน 35 คน X 1 มื้อx 30 บาท        เป็นเงิน 1,050 บาท -คู่มือดูแลและการตรวจติดตามสำหรับกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 134 คน เล่มละ 25 บาท เป็นเงิน 3,350 บาท รวมเป็นเงิน  4,400 บาท


๓. ครั้งที่ 2 อบรมให้ความรู้กลุ่มเสี่ยงโรคร่วมจำนวน 35 คน เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม3 อ.2ส.เข้มข้น


    - ค่าวิทยากร (ใน) 5 ชม ชม.ละ 300 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท - ค่าอาหารกลางวัน และน้ำดื่ม
จำนวน 35 คน X 1 มื้อx 60 บาท      เป็นเงิน  2,100   บาท - ค่าอาหารว่างและน้ำดื่ม
จำนวน 35 คน X 2 มื้อx 30 บาท      เป็นเงิน  2,100   บาท -  -เอกสารชุดความรู้การปรับเปลี่ยน จำนวน 35 ชุด ชุดละ 10 -  เป็นเงิน 350 บาท -  -ค่าปากกาด้ามละ 8 บาท จำนวน 35 ด้าม เป็นเงิน 280 บาท รวมเป็นเงิน 6,330 บาท
๔.ครั้งที่ 3 อบรมให้ความรู้กลุ่มเสี่ยงโรคร่วมจำนวน 35 คน การออกกำลังกาย  และการออกกำลังกายแบบแอโรบิค         - ค่าวิทยากร (นอก ) 3 ชม ชม.ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท - ค่าอาหารว่างและน้ำดื่ม
จำนวน 35 คน X 1 มื้อx 30 บาท      เป็นเงิน  1,050บาท รวมเป็นเงิน 2,850
5. ประชุมสรุปผลดำเนินโครงการพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ ในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เพื่อพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ ที่ประชาชนสามารถนำไปใช้ได้ทั้งในกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย
    - ค่าอาหารว่างและน้ำดื่ม
จำนวน 40 คน X 1 มื้อx 30 บาท      เป็นเงิน  1,200บาท -ค่าเอกสาร คืนข้อมูล สรุปผลโครงการและจัดทำรูปเล่ม เป็นเงิน 500 บาท รวมเป็นเงิน  1,700บาท
รวมเป็น    17,022

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17022.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,022.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.กลุ่มเสี่ยงรับทราบ พฤติกรรมสุขภาพ และระดับความรอบรู้ทางสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงของประชาชนในพื้นที่ เพื่อการแก้ไขปัญหาสุขภาพต่อไป
2.กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ได้รับคู่มือดูแลและติดตามสุขภาพสำหรับกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงครอบคลุม 100 เปอร์เซ็นต์
3.กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง หลังมีความรู้และนัดติดตามต่อเนื่อง 3 เดือน ค่าระดับความดันโลหิตและค่าน้ำตาลปลายนิ้ว ลดลง
4.เกิดรูปแบบการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ ในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง


>