กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เทพา


“ โครงการหนูน้อยสุขภาพดี (กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการด้วยเทคนิค กิน กอด เล่น เล่า สมวัย ห่างไกลสมาร์ทโฟน) ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ”

ตำบลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

หัวหน้าโครงการ
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านพระพุทธ

ชื่อโครงการ โครงการหนูน้อยสุขภาพดี (กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการด้วยเทคนิค กิน กอด เล่น เล่า สมวัย ห่างไกลสมาร์ทโฟน) ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗

ที่อยู่ ตำบลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 67-L8287-3-6 เลขที่ข้อตกลง 30/2567

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 31 กรกฎาคม 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการหนูน้อยสุขภาพดี (กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการด้วยเทคนิค กิน กอด เล่น เล่า สมวัย ห่างไกลสมาร์ทโฟน) ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗ จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เทพา ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการหนูน้อยสุขภาพดี (กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการด้วยเทคนิค กิน กอด เล่น เล่า สมวัย ห่างไกลสมาร์ทโฟน) ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการหนูน้อยสุขภาพดี (กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการด้วยเทคนิค กิน กอด เล่น เล่า สมวัย ห่างไกลสมาร์ทโฟน) ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗ " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ 67-L8287-3-6 ระยะเวลาการดำเนินงาน 31 กรกฎาคม 2567 - 31 กรกฎาคม 2567 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 9,258.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เทพา เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

การเลี้ยงดูเด็กทุกคนให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ มีความสุข และสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมรอบข้างได้เป็นเรื่องสำคัญ พ่อแม่เป็นคนสำคัญที่สุดที่จะช่วยอบรมเลี้ยงดูเด็กให้เติบโตอย่างมีสุขภาพกาย ใจ และสติปัญญาที่สมบูรณ์ การส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงปฐมวัย 0-5 ปี นับเป็นช่วงที่มีความสำคัญที่ต้องกระตุ้นสร้างพฤติกรรมให้เหมาะสมกับวัย ซึ่งมีวิธีง่ายๆ โดยใช้ แนวคิด กิน กอด เล่น เล่า ประกอบไปด้วย
1. กิน ในช่วง 0-3 ปีแรก สมองของเด็กจะเจริญเติบโตอย่างเร็วมาก จนถึงร้อยละ 80 ของสมองผู้ใหญ่ ช่วงนี้ถือเป็นโอกาสที่เด็กจะได้เรียนรู้และ มีพัฒนาการทั้งทางร่างกายและสมอง เพื่อสร้างพื้นฐานให้แก่ชีวิตในระยะยาว แม่ควรให้ลูกได้กินนมแม่อย่างเดียวถึง 6 เดือน และกินนมแม่ต่อเนื่องควบคู่กับอาหารตามวัยจนถึงอายุ 2 ปี ขึ้นไป เพราะนมแม่มีสารอาหารที่สำคัญสำหรับการพัฒนาสมองซึ่งไม่มีอาหารใดเทียบได้ รวมทั้งกระบวนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นกิจกรรมที่ทำให้แม่และเด็กได้ใกล้ชิด โอบก้อม สัมผัสกันและกัน ทำให้เกิดสายใยความรักความผูกพันซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความอบอุ่นในใจเด็ก ทำให้เติบโตเป็นคนที่มีทั้ง IQ และ EQ ดีในอนาคต
2. กอด พ่อแม่ควรกอดลูกทุกวัน เพื่อให้เด็กรับรู้ว่าพ่อแม่รักและหวังดีกับเด็กเสมออีกทั้งการอบรมเด็กต้องทำด้วยความรัก ความเข้าใจ และใช้เหตุผล ไม่ควรใช้อารมณ์ บังคับ ฝืนใจ และ ไม่ดุด่าให้ลูกกลัว และเสียกำลังใจ พ่อแม่ต้องทำเป็นตัวอย่าง คอยให้คำแนะนำ พูดชมเชยเมื่อลูกทำได้ และให้รางวัล ถ้าเขาทำได้ดี ซึ่งรางวัลสำหรับเด็กเล็ก เพียงแค่กอดอย่างอ่อนโยน หอมแก้ม ตบมือให้ เท่านี้เด็กก็ภูมิใจมากแล้ว
3. เล่น พ่อแม่คือของเล่นชิ้นแรกในชีวิตเด็ก ตั้งแต่แรกเกิดพ่อแม่ควรพูดคุยเล่นส่งเสียง ร้องเพลงกับเด็ก ช่วงแรกเกิดถึงอายุ 6 เดือน พ่อแม่ควรเลือกของเล่นที่มีเสียงและเป็นภาพ เลือกที่เด็กคว้าจับได้ อายุ 6 เดือนถึง 1 ปี ให้เด็กได้นั่งเล่นของเล่นเช่น บล็อกตัวต่อนิ่ม ลูกบอลเล็ก หรือปล่อยของลงพื้น อายุ 2-3 ปี ให้เด็กได้เล่นรูปต่อเป็นภาพ หุ่นมือ ตุ๊กตา หรือกระโดด ปีนป่าย เพื่อทดสอบทักษะร่างกายของตัวเอง เมื่ออายุ 3-5 ปี ปล่อยให้เด็กเล่นกับเด็กคนอื่น ใช้จินตนาการเกี่ยวกับการดำรงชีวิต 4. เล่า พ่อแม่สามารถเล่านิทานให้ลูกฟังได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ หรือเมื่อเด็กอายุ 3 เดือนให้เริ่มเล่านิทานให้ฟังเป็นประจำทุกวันต่อเนื่องจนกระทั่งเด็กโต พ่อแม่ควรเลือกนิทานที่มีภาพน่ารัก รูปสัตว์ ใช้เสียงสูง ต่ำ หรือร้องเพลงประกอบขณะเล่าทุกครั้ง ควรเล่าให้จบเล่ม และเก็บหนังสือไว้ที่เดิมให้ลูกมองเห็นได้ เพราะนิทานทำให้เด็กฉลาด ได้จริงๆ ทั้งนี้ พ่อแม่ต้องเสริมการปลูกฝังจริยธรรม คุณธรรม และลักษณะที่ดีอื่นๆ ให้ลูกไปพร้อมกัน เพื่อจะได้เติบโตสมวัยในทุกๆ ด้าน การเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยหากปฏิบัติตามแนวทางข้างต้นเป็นสิ่งที่สามารถส่งเสริมพัฒนาการเด็กได้ดีสมวัยในทุกด้าน พ่อ แม่ ผู้ดูแลเด็กควรปฏิบัติเป็นอย่างยิ่ง ด้วยปัจจุบันพบเด็กมีปัญหาเรื่องพัฒนาการเป็นอย่างมากจากการเลี้ยงดูด้วยสมาร์ทโฟน เพาะปัจจุบันสมาร์ทโฟนเป็นเครื่องมือสื่อสารที่มีบทบาทสำคัญ และจำเป็นในชีวิตประจำวัน เนื่องจากเข้าถึงได้ง่าย ใช้สะดวก มีประโยชน์ทั้งการติดต่อสื่อสาร การถ่ายภาพ การจัดเอกสาร ข้อมูล การเล่นอินเทอร์เน็ต รวมไปถึงการดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมต่างๆ และยังถูกใช้เป็นเครื่องมือในการเลี้ยงเด็ก หรือใช้เป็นของเล่นเบี่ยงเบนความสนใจของเด็ก โดยเฉพาะเด็กปฐมวัย เป็นช่วงวัยที่มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการทางสมองเจริญสูงสุด การใช้สมาร์ทโฟนในเด็กจะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและการสื่อสาร ทำให้เกิดภาวะสมาธิสั้น (ชั่วคราว) และความสามารถในการเรียนรู้ลดลงได้ ดังนั้นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลเด็ก จึงต้องให้การช่วยเหลือดูแล และแก้ไขปัญหาที่จะส่งผลกระทบกับเด็กจากการใช้สมาร์ทโฟน ได้แก่ การให้ความรู้แก่ผู้ดูแลเกี่ยวกับพัฒนาการและความต้องการพื้นฐานของเด็ก ด้วยความรักเอาใจใส่ใกล้ชิด อบรมเลี้ยงดูด้วยความเข้าใจ เพื่อตอบสนองความต้องการของเด็ก การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนของเด็กปฐมวัยและผู้ดูแล โดยต้องปฏิบัติตามแนวทางการลดความเสี่ยงอันตรายที่เกิดจากการใช้สมาร์ทโฟนอย่างเคร่งครัด
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านพระพุทธ สถานศึกษาที่รับดูแลเด็กปฐมวัยก็ได้รับข้อมูลจากผู้ปกครองในการเล่นสมาร์ทโฟนของเด็กที่บ้าน และในปีการศึกษา ๒๕๖๖ นี้ พบเด็กที่มีปัญหาด้านพัฒนาการหลายคน ซึ่งสาเหตุที่เด็กมีปัญหาก็เนื่องมาจากการให้เด็กอยู่กับสมาร์ทโฟน ในการนี้เพื่อให้ความรู้กับผู้ปกครองและการส่งเสริมพัฒนาการเด็กด้วยวิธีที่เหมาะสม รวมทั้งการดูแลให้เด็กห่างจากสมาร์ทโฟน ในปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านพระพุทธ จึงได้ดำเนินการจัดโครงการหนูน้อยสุขภาพดี (กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการด้วยเทคนิค กิน กอด เล่น เล่า สมวัย ห่างไกลสมาร์ทโฟน) ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ขึ้นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยให้เป็นอย่างสมวัย และให้ผู้ดูแลเด็กปฐมวัยมีความรู้ความเข้าใจในการใช้สมาร์ทโฟนกับเด็กปฐมวัย รวมถึงการเรียนรู้วิธีดูแลเด็กอย่างถูกต้องในสถานกาณ์ปัจจุบัน

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีพัฒนาการที่ดีเหมาะสมกับวัยตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์
  2. เพื่อให้ผู้ปกครองเด็ก มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการส่งเสริมพัฒนาการเด็กและการดูแลเด็กให้ห่างไกลสมาร์ทโฟน
  3. เพื่อสร้างความเข้าใจให้ผู้ปกครองเด็ก ในการให้ความร่วมมือส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการเด็กตาม แนวคิด กิน กอด เล่น เล่า

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมบรรยายให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 89
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ผู้ปกครองได้รับความรู้ความเข้าใจในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย และเทคนิคในการส่งเสริมเด็กให้ห่างไกลสมาร์ทโฟน
  2. ผู้ปกครองให้ความร่วมมือกับผู้ที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยที่ล่าช้าให้ได้รับการกระตุ้นอย่างเหมาะสม

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีพัฒนาการที่ดีเหมาะสมกับวัยตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ตัวชี้วัด : ผลจากการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยใน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ร้อยละ ๘๐ เด็กมีพัฒนาการที่ดีเหมาะสมตามวัย
1.00

 

2 เพื่อให้ผู้ปกครองเด็ก มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการส่งเสริมพัฒนาการเด็กและการดูแลเด็กให้ห่างไกลสมาร์ทโฟน
ตัวชี้วัด : ผู้ปกครองเด็ก ร้อยละ ๗๐ เข้าร่วมกิจกรรมและทดสอบความรู้ความเข้าใจเรื่องการส่งเสริมพัฒนาการเด็กและการดูแลเด็กให้ห่างไกลสมาร์ทโฟน

 

3 เพื่อสร้างความเข้าใจให้ผู้ปกครองเด็ก ในการให้ความร่วมมือส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการเด็กตาม แนวคิด กิน กอด เล่น เล่า
ตัวชี้วัด : ผู้ปกครองเด็ก ร้อยละ ๘๐ ให้ความร่วมมือในการพาเด็กเข้ารับการประเมินพัฒนาการเด็กตามความแนะนำของครู และผู้ดูแลเด็ก
1.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 89
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 89
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีพัฒนาการที่ดีเหมาะสมกับวัยตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (2) เพื่อให้ผู้ปกครองเด็ก มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการส่งเสริมพัฒนาการเด็กและการดูแลเด็กให้ห่างไกลสมาร์ทโฟน (3) เพื่อสร้างความเข้าใจให้ผู้ปกครองเด็ก ในการให้ความร่วมมือส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการเด็กตาม แนวคิด กิน กอด เล่น เล่า

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมบรรยายให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการหนูน้อยสุขภาพดี (กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการด้วยเทคนิค กิน กอด เล่น เล่า สมวัย ห่างไกลสมาร์ทโฟน) ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗ จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 67-L8287-3-6

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านพระพุทธ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด