กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กรงปินัง


“ โครงการขลิบเพื่อสุขภาพ ปลอดภัย ห่างไกลโรค ประจำปี 2567 ”

ตำบลกรงปินัง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา

หัวหน้าโครงการ
นางสาวมารียานา มะนอ

ชื่อโครงการ โครงการขลิบเพื่อสุขภาพ ปลอดภัย ห่างไกลโรค ประจำปี 2567

ที่อยู่ ตำบลกรงปินัง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา จังหวัด ยะลา

รหัสโครงการ 04/2567 เลขที่ข้อตกลง 03/2567

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 18 เมษายน 2567 ถึง 31 พฤษภาคม 2567


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการขลิบเพื่อสุขภาพ ปลอดภัย ห่างไกลโรค ประจำปี 2567 จังหวัดยะลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลกรงปินัง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กรงปินัง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการขลิบเพื่อสุขภาพ ปลอดภัย ห่างไกลโรค ประจำปี 2567



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการขลิบเพื่อสุขภาพ ปลอดภัย ห่างไกลโรค ประจำปี 2567 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลกรงปินัง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา รหัสโครงการ 04/2567 ระยะเวลาการดำเนินงาน 18 เมษายน 2567 - 31 พฤษภาคม 2567 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 102,246.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กรงปินัง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย (Circumcision) หรือการเข้าสุนัต คือ การผ่าตัดเพื่อเอาหนังหุ้มปลายของอวัยวะเพศชาย (ส่วนเกิน) ออกไป เพื่อให้หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศเปิดทำให้ง่ายต่อการทำความสะอาด สามารถล้างสิ่งสกปรกจากสารคัดหลั่ง เช่น คราบเหงื่อ คราบปัสสาวะที่หมักหมมอยู่ตามบริเวณใต้หนังหุ้มปลายอวัยวะซึ่งเป็นศูนย์รวมของเชื้อโรค การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายมีความสำคัญมากโดยทำหน้าที่ปกคลุมและปกป้องส่วนหัวจนถึงปลายองคชาตและรูปัสสาวะ ไม่ให้เกิดอันตรายจากการบาดเจ็บและการเสียดสี หรือการอักเสบที่เกิดจากการหมักหมมของสารคัดหลั่งเป็นเวลานาน ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคมะเร็งองคชาต การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายมีข้อดีคือดูแลรักษาทำความสะอาดได้ง่าย ลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งองคชาต ลดความเสี่ยงการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในเด็กเล็ก ลดความเสี่ยงและป้องกันการติดเชื้อจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และสามารถป้องกันภาวะหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศตีบตัน ประชากรในพื้นที่ตำบลกรงปินังส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ในทัศนะของอิสลามนั้น การขลิบปลายหนังหุ้มอวัยวะเพศชายเป็นการดูแลสุขอนามัยร่างกายอย่างหนึ่ง การขลิบเป็นสิ่งที่จำเป็นที่ต้องปฏิบัติสำหรับมุสลิมชายทุกคน ภาษาอาหรับ เรียกว่า คีตาน ภาษามาลายู เรียกว่า มาโซ๊ะยาวี ส่วนคนไทยโดยทั่วไป เรียกว่า พิธีเข้าสุนัต หมายถึง การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศของเด็กมุสลิมชาย เมื่อย่างเข้าวัยอันควร คือ อายุระหว่าง 6 - 12 ปี โดยการตัดหนังหุ้มปลายอวัยวะสืบพันธุ์ของชายซึ่งป็นส่วนหนึ่งของการรักษาความสะอาด หากหนังหุ้มนั้นยังปกคลุมอยู่บริเวณปลายอวัยวะสืบพันธุ์จะมีสิ่งสกปรกหมักหมมอยู่ได้ ด้านการแพทย์ให้ความเห็นว่าการเข้าสุนัตเป็นการขจัดสิ่งนี้โดยวิธีที่ดีที่สุดและมีความสำคัญในทางสุขวิทยาเป็นอย่างมาก
การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในมุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยส่วนใหญ่มักทำกับหมอบ้าน หรือที่เรียกกันว่า โต๊ะมูเด็ง จากความเชื่อและประเพณีตั้งแต่อดีตเชื่อว่าการทำกับแพทย์จะทำให้อวัยวะเพศไม่แข็งแรง การทำกับโต๊ะมูเด็งเป็นประเพณีที่คนเฒ่าคนแก่เคยทำกัน ซึ่งที่ผ่านมาพบว่าการทำสุนัตกับโต๊ะมูเด็งมักจะมีเหตุการณ์เลือดออกมาก(bleeding) ทำให้เกิดภาวะช็อกหรือการติดเชื้อ เช่น ติดเชื้อตับอักเสบ เชื้อ HIV จากการใช้เครื่องมือร่วมกันโดยไม่ได้ล้างทำความสะอาดอย่างถูกวิธี เนื่องจากในสมัยก่อนโต๊ะมูเด็งทำการขลิบโดยไม่ใช้ยาชา ใช้อุปกรณ์เพียงไม่กี่ชนิด เช่น ผ้าพันแผล ยางแดง มีด ที่หนีบ (ปงาเป้ะ) หยวกกล้วยและน้ำสะอาด ในช่วงหลังเริ่มมีการใช้ยาชาช่วยลดความเจ็บปวดและใช้แอลกอฮอล์ช่วยทำความสะอาดก่อนขลิบ หลังจากการขลิบเสร็จมีทั้งแผลที่ติดเชื้อและไม่ติดเชื้อ

-2-

ปัจจุบันการแพทย์สมัยใหม่สามารถเข้าถึงได้ง่าย มีการใช้เครื่องมือที่สะอาดและวิธีการที่ปลอดภัยมากขึ้น การขลิบสมัยใหม่มีทางเลือกมากมายเช่น การจัดเข้าสุนัตหมู่ ซึ่งดำเนินการโดยกลุ่มบุคลากรสาธารณสุขที่ได้รับการฝึกฝนจนชำนาญ องค์การบริหารสวนตำบลกรงปินังได้เล็งเห็นความสำคัญของการทำขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายหรือสุนัตในกลุ่มเด็กและเยาวชนในพื้นที่ โดยแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ที่มีความรู้ ทักษะด้านการขลิบหนังหุ้มปลายแบบปราศจากเชื้อ เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้รับบริการที่ปลอดภัยและมีคุณภาพยิ่งขึ้น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้รับการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ โดยแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อลดภาวะเสี่ยงต่อการติดเชื้อและลดภาวะออกเลือดมาก(bleeding)
  2. เพื่อสร้างความตระหนัก ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคติดเชื้อการปฏิบัติเพื่อการดูแลรักษาความสะอาดและการป้องกันการติดเชื้อหลังเข้าสุนัต
  3. เพื่อให้เด็กและเยาวชนมุสลิมในพื้นที่ตำบลกรงปินังสามารถเข้าถึงบริการด้านส่งเสริมและป้องกันโรค

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60
    กลุ่มวัยทำงาน
    กลุ่มผู้สูงอายุ
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    เด็กและเยาวชนมุสลิมได้รับการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย สามารถลดภาวะเสี่ยงการออกเลือด ภาวะแทรกซ้อน(การอักเสบรุนแรง)และการติดเชื้อ รวมทั้งสร้างความตระหนักแก่ผู้ปกครองชุมชนในการป้องกันโรคติดเชื้อ


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้รับการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ โดยแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อลดภาวะเสี่ยงต่อการติดเชื้อและลดภาวะออกเลือดมาก(bleeding)
    ตัวชี้วัด :

     

    2 เพื่อสร้างความตระหนัก ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคติดเชื้อการปฏิบัติเพื่อการดูแลรักษาความสะอาดและการป้องกันการติดเชื้อหลังเข้าสุนัต
    ตัวชี้วัด :

     

    3 เพื่อให้เด็กและเยาวชนมุสลิมในพื้นที่ตำบลกรงปินังสามารถเข้าถึงบริการด้านส่งเสริมและป้องกันโรค
    ตัวชี้วัด :

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 60
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60
    กลุ่มวัยทำงาน -
    กลุ่มผู้สูงอายุ -
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้รับการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ โดยแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อลดภาวะเสี่ยงต่อการติดเชื้อและลดภาวะออกเลือดมาก(bleeding) (2) เพื่อสร้างความตระหนัก ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคติดเชื้อการปฏิบัติเพื่อการดูแลรักษาความสะอาดและการป้องกันการติดเชื้อหลังเข้าสุนัต (3) เพื่อให้เด็กและเยาวชนมุสลิมในพื้นที่ตำบลกรงปินังสามารถเข้าถึงบริการด้านส่งเสริมและป้องกันโรค

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    โครงการขลิบเพื่อสุขภาพ ปลอดภัย ห่างไกลโรค ประจำปี 2567 จังหวัด ยะลา

    รหัสโครงการ 04/2567

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นางสาวมารียานา มะนอ )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด