กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลแม่ขรี


“ พัฒนาโรงเรียนสู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับทอง ”

ตำบลแม่ขรี อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง

หัวหน้าโครงการ
กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวมโรงพยาบาลตะโหมด

ชื่อโครงการ พัฒนาโรงเรียนสู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับทอง

ที่อยู่ ตำบลแม่ขรี อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 61-L7575-1-07 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มกราคม 2561 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2561


กิตติกรรมประกาศ

"พัฒนาโรงเรียนสู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับทอง จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลแม่ขรี อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลแม่ขรี ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
พัฒนาโรงเรียนสู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับทอง



บทคัดย่อ

โครงการ " พัฒนาโรงเรียนสู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับทอง " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลแม่ขรี อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง รหัสโครงการ 61-L7575-1-07 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มกราคม 2561 - 28 กุมภาพันธ์ 2561 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 45,450.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลแม่ขรี เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

การพัฒนาสุขภาพนักเรียนตามแนวทางของโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ภายใต้แนวคิดการมีส่วนร่วมของนักเรียนและบุคลากรโรงเรียน รวมทั้งผู้ปกครองและชุมชน เพื่อเน้นการวัดผลทางสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียน ที่เป็นกลุ่มประชากรที่มีความสำคัญยิ่ง และผลการดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ การที่เด็กจะเจริญเติบโตและเป็นผู้ใหญ่ที่มีศักยภาพโดยสมบูรณ์นั้น จะต้องได้รับการเลี้ยงดูและส่งเสริมสุขภาพตามวัย เพื่อสุขภาพที่ดีจะทำให้การเรียนดีไปด้วย โรงเรียนเป็นสถานศึกษาที่รวมเด็กนักเรียนเป็นจำนวนมาก โรงเรียนจึงจำเป็นต้องส่งเสริมสุขภาพและปลูกฝังพฤติกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพที่ถูกต้องและยั้งยืนต่อไป ในเขตความรับผิดชอบบริการด้านสาธารณสุขของโรงพยาบาลตะโหมดมีจำนวนโรงเรียน ที่เข้าเกณฑ์การประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพจำนวน 3 โรงเรียน คือโรงเรียนตะโหมด โรงเรียนบ้านแม่ขรี(สวิงประชาสรรค์) และโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลแม่ขรี ซึ่งการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่าโรงเรียนได้ดำเนินงานและกิจกรรมภายใต้มาตรฐานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ แต่ขาดการประเมินเพื่อรองรับมาตรฐานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพให้ต่อเนื่อง โดยโรงเรียนตะโหมด ผ่านเกณฑ์การประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับทองปี 2550 โรงเรียนบ้านแม่ขรี(สวิงประชาสรรค์)ผ่านเกณฑ์การประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับทอง ปี 2550 และโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลแม่ขรีไม่เคยผ่านการประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพจึงเห็นสมควรที่จะจัดโครงการพัฒนาโรงเรียนสู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับทอง ตำบลแม่ขรี อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง ปีงบประมาณ 2561 เพื่อให้โรงเรียนก้าวสู่มาตรฐานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพที่ต่อเนื่อง และยั่งยืน ต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อจัดตั้งคณะทำงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
  2. เพื่อให้โรงเรียนมีกิจกรรมตามเกณฑ์โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่องและได้รับการประเมินผ่านเกณฑ์โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับทอง

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 438
    กลุ่มวัยทำงาน
    กลุ่มผู้สูงอายุ
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1.มีเครือข่ายคณะทำงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ 2.โรงเรียนมีกิจกรรมตามเกณฑ์โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่องและได้รับการประเมินผ่านเกณฑ์โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับทอง


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

    ๑. ระยะเวลาดำเนินการ วันที่  วันที่  ๑ ตุลาคม ๒๕๖๐ - ๓๐ กันยายน ๒๕๖๑ ๒. กลุ่มเป้าหมาย(หากไม่มีกลุ่มเป้าหมายไม่ต้องมีหัวข้อนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะโครงการ,กิจกรรม
    ๓. สรุปกิจกรรมที่ได้ดำเนินการ ดังนี้ กิจกรรมที่ 1 : ประชุมเครือข่ายการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ กิจกรรมที่ 2 : อบรมแกนนำนักเรียนด้านส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียน
    กิจกรรมที่ ๓ : อบรมเยาวชนสาธารณสุขในโรงเรียน กิจกรรมที่ ๔ : อบรมให้ความรู้แก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการเด็กวัยเรียนในโรงเรียน กิจกรรมที่ ๕ : ส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ในเด็กวัยเรียนในโรงเรียน ๕. สรุปการใช้งบประมาณ ๕.๑ งบประมาณที่ได้รับจัดสรร จำนวน 45,450 บาท ๕.๒ งบประมาณที่ใช้จริง     จำนวน  45,450 บาท ดังรายการต่อไปนี้ กิจกรรมที่ ๑ : ประชุมเครือข่ายการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ 1. ค่าอาหารว่างจำนวน 23 คน คนละ 2 มื้อๆละ 20 บาท                  เป็นเงิน  920 บาท 2. ค่าอาหารกลางวันจำนวน 23 คน คนละ 1 มื้อๆละ 60 บาท              เป็นเงิน 1,380 บาท 3. ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 6 ชม. ชม.ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท                                         รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 5,900 บาท (ห้าพันเก้าร้อยบาทถ้วน) กิจกรรมที่ 2 : อบรมแกนนำนักเรียนด้านส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียน
    1. ค่าอาหารว่างจำนวน 50 คน คนละ 2 มื้อๆละ 20 บาท จำนวน 3 วัน      เป็นเงิน 6,000 บาท 2. ค่าอาหารกลางวันจำนวน 50 คน คนละ 1 มื้อๆละ 60 บาท จำนวน 3 วัน เป็นเงิน 9,000 บาท 3. ค่าวัสดุ อุปกรณ์อบรมจำนวน 50 ชุด ชุดละ 30 บาท           เป็นเงิน 1,500 บาท                                       รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 16,500 บาท (หนึ่งหมื่นหกพันห้าร้อยบาทถ้วน)
    กิจกรรมที่ 3 : อบรมเยาวชนสาธารณสุขในโรงเรียน 1. ค่าอาหารว่างจำนวน 25 คน คนละ 2 มื้อๆละ 20 บาท จำนวน 3 วัน      เป็นเงิน 3,000 บาท 2. ค่าอาหารกลางวันจำนวน 25 คน คนละ 1 มื้อๆละ 60 บาท จำนวน 3 วัน เป็นเงิน 4,500 บาท 3. ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 6 ชม.ชม.ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท ๔. ค่าวัสดุ อุปกรณ์อบรมจำนวน 25 ชุด ชุดละ 30 บาท เป็นเงิน    750 บาท                           รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 11,850 บาท (หนึ่งหมื่นหนึ่งพันแปดร้อยห้าสิบบาทถ้วน) กิจกรรมที่ 4  : อบรมให้ความรู้แก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการเด็กวัยเรียนในโรงเรียน 1. ค่าอาหารว่างจำนวน 200 คน คนละ 1 มื้อๆละ 20 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท ๒. ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 2 ชม.ชม.ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท 3. ค่าอาหารสาธิตประกอบการให้ความรู้ เป็นเงิน 1,000 บาท                                               รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 6,200 บาท (หกพันสองร้อยบาทถ้วน) กิจกรรมที่ 5 : ส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ในเด็กวัยเรียนในโรงเรียน 1. ค่าอาหารว่างจำนวน 140 คน คนละ 1 มื้อๆละ 20 บาท เป็นเงิน 2,800  บาท ๒. ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 2 ชม.ชม.ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200  บาท 3. ค่าวัสดุ อุปกรณ์     เป็นเงิน 1,000  บาท                                                   รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน) ๖. ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ การพัฒนาสู่ความสำเร็จและยั่งยืนส่งเสริมสุขภาพในเบื้องต้นขึ้นอยู่กับความสามารถในการประสานความคิดและความร่วมมือในระหว่างทุกหน่วยงานของสังคมทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับอำเภอ ระดับจงหวัด ประกอบด้วยองค์ประกอบต่อไปนี้
    ๑. ผู้บริหารโรงเรียน เป็นบุคคลสำคัญที่ต้องมีความมุ่งมั่น ตั้งใจที่จะพัฒนาโรงเรียนตามแนวทางโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ สามารถใช้ภาวะผู้นำในการผลักดันให้ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และสมาชิกของชุมชน รู้จักและเห็นประโยชน์ของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
    2. คณะกรรมการส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียน จะเป็นทีมแกนนำในการกำหนดทิศทางการพัฒนาของโรงเรียน โดยผู้ได้รับการคัดเลือกเป็นคณะกรรมการครอบคลุมคุณสมบัติ สนใจ เอาใจใส่เรื่องสุขภาพ รักเด็ก ต้องการให้เด็กมีความสุข
    3. การมีส่วนร่วมของประชาชน ชุมชน ในทุกขั้นตอนของกระบวนการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โดยการปรับเปลี่ยนวิธีคิดและทัศนคติของคนในชุมชน เพื่อให้ทุกคนเห็นความสำคัญและประโยชน์ของการส่งเสริมสุขภาพ ทราบถึงปัญหาต่างๆ ของชุมชน ทุกคนยอมรับปัญหาตระหนักถึงบทบาทและความร่วมมือ ร่วมใจเพื่อสร้างสุขภาพที่ดีของคนในชุมชน
    ๗. แนวทางการพัฒนาหรือแนวทางในการปรับปรุงงาน 1. การประเมินผลโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพต้องสร้างความเข้าใจ และสัมพันธภาพอันดีกับชุมชนเพื่อให้โครงการดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ชุมชนรู้สึกว่าตนเองเป็นเจ้าของโครงการอย่างแท้จริง 2. ควรมีการประเมินผลถึงปัจจัยที่ส่งเสริม และปัจจัยที่เป็นปัญหาและอุปสรรคการดำเนินงานโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ เช่น ปัจจัยเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ปัจจัยที่เกี่ยวกับชุมชน ปัจจัยเกี่ยวกับโรงเรียนเพื่อใช้ข้อมูลในการวางแผน พัฒนาการดำเนินงานตามโครงการต่อไป ๓. ควรมีการศึกษารูปแบบของการดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นแนวทางให้กับโรงเรียนอื่น หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อจัดตั้งคณะทำงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
    ตัวชี้วัด :

     

    2 เพื่อให้โรงเรียนมีกิจกรรมตามเกณฑ์โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่องและได้รับการประเมินผ่านเกณฑ์โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับทอง
    ตัวชี้วัด :

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 438
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 438
    กลุ่มวัยทำงาน -
    กลุ่มผู้สูงอายุ -
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อจัดตั้งคณะทำงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ (2) เพื่อให้โรงเรียนมีกิจกรรมตามเกณฑ์โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่องและได้รับการประเมินผ่านเกณฑ์โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับทอง

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    พัฒนาโรงเรียนสู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับทอง จังหวัด พัทลุง

    รหัสโครงการ 61-L7575-1-07

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวมโรงพยาบาลตะโหมด )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด