กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเครือข่ายตำบลศาลาใหม่ ใส่ใจสุขภาพคุ้มครองผู้บริโภค ปี 2567
รหัสโครงการ 67-L2487-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาใหม่
วันที่อนุมัติ 5 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 11,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ น.ส.ฟาตีนี พิริยศาสน์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลศาลาใหม่ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภารกิจงานคุ้มครองผู้บริโภค ประกอบด้วยการควบคุมมาตรฐานสถานประกอบการ การเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพหลังวางจำหน่าย การพัฒนาศักยภาพผู้บริโภคและผู้ประกอบการ รวมถึงการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคีเครือข่าย จากการดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาใหม่ ร้านชำเกิดขึ้นใหม่จำนวนมาก จากการดำเนินโครงการเครือข่ายใส่ใจสุขภาพคุ้มครองผู้บริโภค ตำบลศาลาใหม่ ปีงบประมาณ 2566 พบร้านชำทั้งหมด 88 ร้าน พบร้านชำที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน จำนวน 58 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 65.90 (โดยประเมินตามเกณฑ์แบบตรวจ รช.นธ.1) และจากการสุ่มตรวจ ยา ทดสอบเสตีรอยด์ จำนวน 3 การทดสอบ จาก 3 ร้าน ผลปกติ จำนวน 1 ร้าน ผลผิดปกติ 2 ร้าน พบร้านชำที่ขายยาอันตราย จำนวน 9 ร้าน ร้อยละ 10.23 สำหรับร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหาร ปี 2566 จากการสำรวจ ทั้งหมด 44 ร้าน ยังไม่ได้สุ่มตรวจอาหาร โดยมีร้านอาหาร 5 ร้าน ที่ยังไม่ผ่านการประเมิน Clean Food Good Test และยังพบการสูบบุหรี่ในร้าน รวมไปถึงการปฏิบัติตามกฎหมายในการคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ในสถานที่สาธารณะยังไม่เป็นรูปธรรมในหลายๆ ภาคส่วน สิ่งเหล่าจะส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนโดยตรงเนื่องจากประชาชนเป็นผู้บริโภค สำหรับการดำเนินกิจกรรม อย.ในโรงเรียนไม่มีความต่อเนื่อง ระดับความสำเร็จของการดำเนินงาน อย.น้อย มากกว่าระดับ 3 คือโรงเรียนบ้านศาลาใหม่ ร้อยละ 25 จึงจำเป็นจะต้องมีการควบคุมมาตรฐานผลิตภัณฑ์ต่างๆ และสร้างให้เกิดความร่วมมือของเครือข่ายต่างๆในพื้นที่ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดมาตรฐานที่ดี ที่จะส่งผลให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี ปลอดโรคอย่างยั่งยืน ดังนั้น เพื่อเร่งแก้ไขปัญหาข้างต้นและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาใหม่จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมให้แผงลอยขายอาหาร ร้านอาหาร ร้านค้า และกลุ่มผู้ผลิตผลิตภัณฑ์สุขภาพ ให้มีมาตรฐาน
  1. ร้านชำผ่านเกณฑ์มาตรฐาน มากกว่าร้อยละ 40
  2. ร้านอาหารมีการประเมิน Clean Food Good Test ร้อยละ 100
1.00
2 2. เพื่อลดการจำหน่ายจำหน่ายอาหาร จำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัย
  1. ร้านชำปลอดยาอันตราย มากกว่าร้อยละ 90
  2. แผงลอย/ร้านอาหาร ร้านชำ จำหน่ายอาหาร จำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพได้รับการตรวจสุ่มอาหารมากกว่าร้อยละ 80
1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 100 11,000.00 0 0.00
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการเรื่องการสุ่มตรวจอาหาร/ผลิตภัณฑ์สุขภาพ 35 4,825.00 -
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 2. กิจกรรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการในกลุ่มผู้ประกอบการแผงลอย/ร้านอาหาร ร้านชำ จำหน่ายอาหาร 65 6,175.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ประกอบการที่เป็นผู้จำหน่ายและผู้ผลิต มีการปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานมากขึ้น
  2. ประชาชนมีความมั่นใจ ปลอดภัยจากการเลือกชื้อใช้สิ่งอุปโภคบริโภคในเขตพื้นที่ตำบลศาลาใหม่
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2567 10:40 น.