กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียงในชุมชน ประจำปี 2567
รหัสโครงการ 67-L2516-2-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน รพ.สต.บ้านสาวอ
วันที่อนุมัติ 5 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 27,041.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอามือดี ดีนา
พี่เลี้ยงโครงการ นายมุฮัมมัดมุมิน วาแวนิ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสาวอ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.434,101.507place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 267 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันจำนวนผู้สูงอายุในประเทศไทยได้เพิ่มสูงขึ้นตามลำดับ สืบเนื่องมาจากความเจริญก้าวหน้า ทางด้านเทคโนโลยี การแพทย์ และสาธารณสุข ส่งผลให้อายุคาดเฉลี่ยของประชากรไทยเพิ่มขึ้น และจำนวน ผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในปีพ.ศ. 2560 จำนวนผู้สูงอายุเพิ่มเป็นร้อยละ 17.1 และในปีพ.ศ. 2563 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 18.6 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งตามคำนิยามขององค์การสหประชาชาติ กำหนดไว้ว่าประเทศใดมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป สัดส่วน เกินร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ ถือว่าประเทศนั้นได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ จะเห็นว่าการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและโครงสร้างของประชากรเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่มีสัดส่วน ของผู้สูงอายุมากขึ้น ย่อมทำให้เกิดผลกระทบทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม มีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ จึงจำเป็นที่ทุกภาคส่วนจะต้องตระหนักและเตรียมการ โดยระดมทรัพยากรและสหวิทยาการต่างๆ เพื่อพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านเศรษฐกิจ ด้านสุขภาพ ด้านสังคม การคุ้มครองดูแลผู้สูงอายุ ตลอดจนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุอย่างเท่าเทียมกันในชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรือ อสม. มีบทบาทสำคัญในการดูแลสุขภาพของประชาชนในการดำเนินงานด้านสาธารณสุขในชุมชน จำเป็นต้องมีเครือข่ายสุขภาพที่เข้มแข็งและเข้าใจวิธีการทำงานเชิงรุกในพื้นที่ ซึ่งอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรือ อสม.ที่ให้บริการแก่ชุมชนเป็นรูปแบบหนึ่งของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชน และมีศักยภาพในการเข้าถึงประชาชนตามกลุ่มวัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ที่อยู่ในพื้นที่ให้สามารถติดตามช่วยเหลือการเข้าถึงระบบสุขภาพ และสามารถจัดระบบบริหารจัดการด้านสุขภาพในชุมชนให้ผู้สูงอายุได้อย่างเหมาะสม ภายใต้การสนับสนุนจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.)ในพื้นที่ ใน เขตพื้นที่บริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสาวอ ซึ่งมีจำนวนประชากร ปี 2567 ทั้งหมด 2,497 คน ครอบคลุม 4 หมู่บ้าน แยกเป็นกลุ่มอายุที่ต้องดูแลตามกลุ่มวัย ดังนี้ กลุ่มอายุ 0-5 ปี จำนวน 210 คนคิดเป็นร้อยละ 8.41 กลุ่ม อายุ 6-15 ปีจำนวน 477 คน คิดเป็นร้อยละ 19.10 กลุ่มอายุ 16-18 ปี จำนวน 292 คน คิดเป็นร้อยละ11.69 ช่วงอายุ 18-25 ปี จำนวน 272 คน คิดเป็นร้อยละ 10.89 กลุ่มอายุ 25-59 ปี จำนวน 1,443 คน คิดเป็นร้อยละ 57.78 และ กลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 267 คน คิดเป็นร้อยละ 11.69 ซึ่งการดูแลสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุจำเป็นต้องดูแลอย่างต่อเนื่องตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

ดังนั้น เพื่อให้ผู้สูงอายุ เข้าถึงระบบบริการสุขภาพตามมาตรฐาน จึงจำเป็นที่จะต้องจัดให้มีการอบรมให้ความรู้แก่แกนนำด้านสุขภาพ อสม. ตัวแทนสมาชิกครอบครัวผู้สูงอายุและส่งเสริมกิจกรรมการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน โดยทีมงานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำ หมู่บ้าน(อสม.) ในการปฏิบัติงานได้ที่ถูกต้องเหมาะสม เพื่อให้ผู้สูงอายุในพื้นที่มีสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อสร้างและพัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและประชาชนทั่วไปที่มีผู้สูงอายุในความดูแล มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพอย่างถูกต้อง 2. เพื่อให้ผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและตัวแทนสมาชิกครอบครัวผู้สูงอายุ ร่วมดูแลด้านสุขภาพผู้สูงอายุอย่างครอบคลุมเท่าเทียมกัน
  1. มีอาสาสมัครสาธารณสุข และประชาชนทั่วไปที่มีผู้สูงอายุในความดูแลเข้ารับการอบรม
    1. อาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้ในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ร้อยละ 80
    2. ในเขตรับผิดชอบของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านได้รับการดูแลตามกลุ่มวัยด้านสุขภาพ มากกว่าร้อยละ 90
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00

2.1 ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมการ
2.1.1 ประชุมคณะกรรมการชมรม เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการและกำหนดกิจกรรมดำเนินงาน
2.1.2 เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารตำบลสาวอ 2.1.3 ประชาสัมพันธ์โครงการในชุมชน ประสานงานกับฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 2.2 ขั้นที่ 2 ขั้นดำเนินงานตามโครงการ
จัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและตัวแทนสมาชิกครอบครัวผู้สูงอายุ ให้ความรู้ทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานในพื้นที่ด้านสุขภาพ และแนวทางการปฏิบัติตัวสำหรับประชาชนครอบคลุมทุกหลังคาเรือน 2.3 ขั้นที่ 3 สรุปวิเคราะห์และประเมินผล
ประเมินผลการดำเนินงาน และสรุปผลการดำเนินงาน จากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลสาวอ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส เป็นเงิน 27,041 บาท (สองหมื่นเจ็ดพันสี่สิบเอ็ดบาทถ้วน) เป็นค่าใช้จ่ายดังนี้
1. ป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1.2 x 2.5 เมตร ผืนละ 980.50 x จำนวน 2 ผืน
                                              เป็นเงิน 1,961 บาท 2. อบรมให้ความรู้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและตัวแทนสมาชิกครอบครัวผู้สูงอายุ - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆละ 60 บาท x 60 คน x 2 วัน  เป็นเงิน 7,200 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อ x 30 บาท x 60 คนx 2 วัน  เป็นเงิน  7,200 บาท - ค่าสมนาคุณวิทยากรอบรม 300 บาท * 5 ชม.  เป็นเงิน  1,500 บาท
3. อบรมให้ความรู้การรายงานผลผ่านแอพ Smart อสม.
  - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆละ 60 บาท x 45 คน x 1 วัน  เป็นเงิน 2,700 บาท   - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อ x 30 บาท x 60 คนx 1 วัน  เป็นเงิน  2,700 บาท   - ค่าสมนาคุณวิทยากรอบรม 300 บาท x 5 ชม.  เป็นเงิน  1,500 บาท 4. กิจกรรมอสม.เยี่ยมบ้าน ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ในภาวะพึ่งพิง -ค่าผ้าอ้อมผู้ใหญ่ สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (ติดบ้าน ติดเตียง)ทีมีปัญหาการกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ จำนวน 5 คน x ราคา 9.50 บาทต่อชื้น x จำนวน 3 ชิ้น / วัน x จำนวน 16 วัน เป็นเงิน 2,280 บาท
                            (สองหมื่นเจ็ดพันสี่สิบเอ็ดบาทถ้วน) รวมเป็นเงิน 27,041 บาท          หมายเหตุ : งบประมาณทั้งหมดสามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพตามกลุ่มวัย
  2. เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจให้อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน มีทักษะในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบ
  3. ประชาชนที่มีผู้สูงอายุในความดูแล มีทักษะ ความรู้ในการดูแลในการปฏิบัติตัวด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 พ.ค. 2567 13:33 น.