กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


โครงการ
“ โครงการตรวจเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน ”
ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง



หัวหน้าโครงการ
นางทัศนีย์ คงเทพ




ชื่อโครงการ โครงการตรวจเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน

ที่อยู่ ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 60L332112 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 มีนาคม 2560 ถึง 15 มีนาคม 2560

กิตติกรรมประกาศ

"โครงการตรวจเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการตรวจเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการตรวจเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง รหัสโครงการ 60L332112 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 มีนาคม 2560 - 15 มีนาคม 2560 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 10,172.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หาย และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุกปี จนเป็นปัญหาด้านสุขภาพที่สำคัญของประเทศ ผู้ที่เป็นเบาหวานมาหลายปีหากควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดีมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ได้ง่าย เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือดหลอดเลือดสมอง หรืออาจเกิดภาวะแทรกซ้อนทางตาไตและเท้า ซึ่งปลายประสาทเท้าเสื่อมทำให้เกิดแผลที่เท้าเป็นภาวะแทรกซ้อนที่เรื้อรัง และนำไปสู่การติดเชื้อที่รุนแรงอาจทำให้เกิดการสูญเสียเท้าได้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยครอบครัวและชุมชน สถานการณ์ผู้ป่วยเบาหวานในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต มีผู้ป่วยเบาหวานที่มารับการรักษาและรับยาต่อเนื่องในระบบ จำนวน 229 ราย ส่วนมากควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี จากการประเมินผลการตรวจเท้าผู้ป่วยเบาหวาน ปี 2559 ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการตรวจเท้า จำนวน 190 คน ร้อยละ 96.45ผลการตรวจเท้าอยู่ระดับปกติ จำนวน 34 คน คิดเป็นร้อยละ17.85 ระดับความเสี่ยงต่ำ จำนวน 147คน คิดเป็นร้อยละ 77.37และระดับเสี่ยงปานกลาง จำนวน 8 คนคิดเป็นร้อยละ 4.21 และสถานการณ์ข้อมูลสุขภาพชุมชนมีแนวโน้มประชาชนเป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น จึงมีการปรับรูปแบบการให้ความรู้เป็นรายบุคคล รายกลุ่มย่อย (Self help group ) ในสถานบริการและในชุมชนได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์จริงของกันและกัน ซึ่งมีผู้ป่วยเบาหวาน ครอบครัว ญาติ อสม.โดยมีทีมสุขภาพเป็นผู้สนับสนุนคอยเป็นพี่เลี้ยงเพื่อสร้างเสริมพลังให้กลุ่มมีความมั่นใจในการดูแลและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตนเองให้ถูกต้องเหมาะสม การช่วยดูแลสุขภาพกันเองแบบองค์รวม ในชุมชน เช่น อสม.ช่วยวัดความดันโลหิต เจาะเลือดตรวจเบาหวานปลายนิ้ว ตรวจทดสอบปลายประสาทเสื่อมที่เท้า ครอบครัว และญาติ สามารถเป็นกำลังใจให้กันและกันมีการดูแลเท้าและบริหารเท้าอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการเป็นแผลที่เท้าจะได้ไม่ถูกตัดเท้าเมื่อเป็นแผลติดเชื้อเรื้อรัง ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ จึงหาแนวทางปรับความคิด แนวปฏิบัติให้ผู้ป่วย ญาติ ผู้ดูแล และชุมชน เกิดความตระหนัก ร่วมกันดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังจากโรคเบาหวาน แบบองค์รวม โดยชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อความยั่งยืนต่อไปในชุมชน

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้ในการบริหารและนวดเท้า
  2. เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการถูกตัดเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
    กลุ่มวัยทำงาน
    กลุ่มผู้สูงอายุ
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 184
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1 ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและการเกิดแผลที่เท้า/ได้รับการตรวจเท้า 2 ผู้ป่วยเบาหวานตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลเท้าและดูแลเท้าได้ด้วยตนเอง 3 ผู้ป่วยเบาหวานมีพฤติกรรมการดูแลเท้าที่ถูกต้อง


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ตรวจประเมินและคัดกรองเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน

    วันที่ 15 มีนาคม 2560 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องการดูแลเท้า การบริหารเท้าและการตรวจเท้า โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข  โดยใช้การประเมินประสาทความรู้สึก ประเมมินด้วย monofilament
    แก่ผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน  184 คน  สามารจำแนกผู้ป่วยตามระดับความเสี่ยง  การคัดกรองและตรวจสภาพเท้าผู้ป่วยเบาหวาน  สามารถแบ่งได้ 4 กลุ่ม 1.ระดับ 0 จำนวน 181 คน กลุ่มนี้ความรู้สึกสัมผัสเท้าผิดปกติ แต่ไม่มีอาการเท้าชาและไม่มีแผล ไม่มีการสูญเสียความรู้สึกในการป้องกันอัตราย 2.ระดับ 1 จำนวน 1 คน กลุ่มนี้มีความรู้สึกสัมผัสที่เท้าลดลง มีชาบ้าง และไม่มีแผล แต่สูญเสียความรู้สึกในการป้องกันอันตราย 3.ระดับ 2 จำนวน 1 คน กลุ่มนี้สูญเสียความรู้สึกสัมผัส ที่เท้า มีอาการชา มีการสูญเสียความรู้สึกในการป้องกันอันตราย 4.ระดับ 3 จำนวน 1 คน กลุ่มนี้มีแผลที่เท้าหรือมีประวัติเคยเป็นแผลที่เท้าหรือถูกตัดเท้ามาก่อน มีความเสี่ยงสูงสุดต่อการเกิดแผลช้ำหรือถูกตัดขา

     

    184 184

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

    จากการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต ได้จัดทำโครงการตรวจเท้าผู้ป่วยเบาหวาน ปีงบประมาณ 2560  ในวันที่ 15 มีนาคม 2560 ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต โดยจัดกิจกรรมการให้ความรู้เรื่องการดูแลเท้า การบริหารเท้า และการตรวจเท้าโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข โดยใช้การประเมินประสาทความรู้สึก ประเมินด้วย monofilament แก่ผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 184 คน สามารถจำแนกผู้ป่วยตามระดับความเสี่ยง การคัดกรองและตรวจสภาพเท้าผู้ป่วยเบาหวานสามารถแบ่งได้ 4 กลุ่ม ตามระดับความเสี่ยง
    ระดับ 0  (low risk) จำนวน 181 คน กลุ่มนี้ความรู้สึกสัมผัสเท้าผิดปกติ แต่ไม่มีอาการเท้าชาและไม่มีแผล ไม่มีการสูญเสียความรู้สึกในการป้องกันอันตราย และสามารถรับรู้สัมผัสจากการตรวจด้วย
    Monofilament ครบทุกตำแหน่ง ยังมีความรู้สึกในการป้องกันอันตราย ไม่เคยมีแผลหรือถูกตัดขาก่อนกลุ่มนี้มีความต่ำ แต่มีโอกาสเปลี่ยนแปลงไปเป็นความเสี่ยงสูงได้ การให้ความรู้เป็นหัวใจสำคัญ ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต จึงให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน การป้องกันโรคแทรกซ้อน การเลิกสูบบุหรี่ ระดับ 1 (moreraterisk)  จำนวน 1 คน กลุ่มนี้มีความรู้สึกสัมผัสที่เท้าลดลง มีชาบ้าง และไม่มีแผล แต่สูญเสียความรู้สึกในการป้องกันอันตราย ไม่สามารถรับรู้สัมผัสจากการตรวจด้วย Monofilament ตั้งแต่ 1 ตำแหน่งขึ้นไป แต่ยังไม่มีความผิดปกติอื่น ๆ กลุ่มนี้เริ่มมีความเสี่ยงสูง โดยจัดกิจกรรมให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพเท้ารวมถึงผิวหนังและเล็บทุกวัน เพื่อเฝ้าระวังการบาดเจ็บและให้ความรู้ในการดูแลรักษาเบื้องต้นที่เหมาะสม ห้ามเดินเท้าเปล่า รวมทั้งให้ความรู้และคำแนะนำเกี่ยวกับการเลือกซื้อรองเท้าที่เหมาะสม และนัดตรวจทุก 3-6 เดือน
    ระดับ 2 (high risk)  จำนวน 1 คน  กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่สูญเสียความรู้สึกสัมผัส  ที่เท้า มีอาการชา มีการสูญเสียความรู้สึกในการป้องกันอันตรายร่วมกับจุดรับน้ำหนักผิดปกติไป เช่นเท้าผิดรูป การเคลื่อนไหวของข้อลดลง มีตาปลาและหรือการไหลเวียนของเลือดผิดปกติ กลุ่มนี้มีความเสี่ยงสูงมาก ต้องเพิ่มความเคร่งครัดในการดูแลเท้าและการบริหารเท้า ควรระมัดระวังไม่ให้เท้าเกิดตาปลาหรือหนังและควรได้รับการขูดหนังหนา ตาปลาโดยเจ้าหน้าที่ที่ชำนาญหรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านการตัดรองเท้าเพื่อเลือกใช้อุปกรณ์เสริมฝ่าเท้า หรือสวมรองเท้าสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน โดยเฉพาะและควรมาพบแพทย์ทันที      ที่มีปัญหาเท้า จึงควรนัดตรวจทุก 1-3 เดือน โดยเน้นตรวจประเมินเท้า ตัดหนังแข็ง ตาปลา ประเมินกิจกรรมที่ทำและรองเท้า ระดับ 3 (very high risk) จำนวน 1 คน กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีแผลที่เท้าหรือมีประวัติเคยเป็นแผลที่เท้าหรือถูกตัดเท้ามาก่อน กลุ่มนี้มีความเสี่ยงสูงที่สุดต่อการเกิดแผลซ้ำหรือถูกตัดขา ต้องเคร่งครัดในการดูแลเท้าและสวมรองเท้าที่เหมาะสมตลอดเวลา จึงควรนัดตรวจทุก 1-2 สัปดาห์ โดยเน้นเหมือนระดับ 2 แต่เข้มงวดกว่า 2.ผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ  ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ เพราะ....................................................................... 3.การเบิกจ่ายงบประมาณ งบประมาณที่ได้รับการอนุมัติ..................10,172...........................บาท ดังนี้ 1 ค่ากระดาษเช็ดเท้า จำนวน 20 ห่อ x 65 บาท เป็นเงิน 1,300 บาท 2 ค่าถ่ายเอกสารแบบฟอร์มประเมินเท้า จำนวน 200 แผ่น x 0.50 บาท
    เป็นเงิน 100 บาท
    3 ค่าอุปกรณ์ตรวจเท้า Monofilament  จำนวน 2  เครื่องๆละ 2,500 บาท
    เป็นเงิน 5,000 บาท 4 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  จำนวน  184 คน x 1 มื้อ x 20 บาท
    เป็นเงิน 3,680 บาท
    5 ค่าหนังสือเชิญเข้ารับการตรวจเท้าเบาหวาน จำนวน 184 แผ่น x 0.5 บาท เป็นเงิน 92 บาท งบประมาณเบิกจ่ายจริง .........................10,172.....................บาทคิดเป็นร้อยละ 100 งบประมาณเหลือส่งคืนกองทุนฯ............. .-........................บาท คิดเป็นร้อยละ- 4.ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงาน  ไม่มี มี

    ปัญหา/อุปสรรค(ระบุ) 1. ผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุทำให้ไม่สะดวกในการเข้าร่วมโครงการตรวจเท้า แนวทางแก้ไข(ระบุ) 1. ให้บริการตรวจเท้าผู้ป่วยเบาหวานในหมู่บ้าน

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้ในการบริหารและนวดเท้า
    ตัวชี้วัด : ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้ในการบริหารและนวดเท้า

     

    2 เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการถูกตัดเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน
    ตัวชี้วัด : ผู้ป่วยเบาหวานมีพฤติกรรมการดูแลเท้าที่ถูกต้อง

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 184
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
    กลุ่มวัยทำงาน -
    กลุ่มผู้สูงอายุ -
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 184
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้ในการบริหารและนวดเท้า (2) เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการถูกตัดเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    โครงการตรวจเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน จังหวัด พัทลุง

    รหัสโครงการ 60L332112

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นางทัศนีย์ คงเทพ )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด