กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างเครือข่ายติดตามวัคซีนแบบยั่งยืนในเด็กอายุ 0-5 ปี
รหัสโครงการ 67-L4156-02-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกะรอ
วันที่อนุมัติ 29 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 21,950.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายรีฎวน มะเซ็ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกะรอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.535,101.576place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 118 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการเฝ้าระวังการดำเนินงานด้านการสาธารณสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่า ยังมีปัญหาสำคัญที่รอการแก้ไขอยู่ เช่น ปัญหาอนามัยแม่และเด็กที่กำลังเข้าขั้นวิกฤติ ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากความเชื่อและวิถีชีวิตของชาวไทยมุสลิมที่ไม่ชอบรับประทานอาหารมากและไม่นิยมรับประทานยาบำรุงเนื่องจากกลัวเด็กตัวโต คลอดลำบาก ความเชื่อที่ต้องการคลอดกับหมอตำแย นอกจากปัญหาอนามัยแม่และเด็กแล้ว ยังพบว่า ปัญหาการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีนในเด็กอายุ 0-5 ปี ก็เป็นปัญหาที่สำคัญของจังหวัดชายแดนภาคใต้เช่นกัน โดยพบว่า พื้นที่นี้มีอุบัติการณ์ของโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนหลายชนิดสูงที่สุดในประเทศไทย สถานการณ์โรคหัดในประเทศไทยปี พ.ศ. 2562 พบผู้ป่วยโรคหัดจำนวน 6,614 ราย หรือ 9.95 ต่อแสนประชากร เสียชีวิต 25 ราย ภาคใต้มีอัตราป่วยสูงสุด 27.79 ต่อแสนประชากร รองลงมาคือภาคกลาง 10.29 ต่อแสนประชากร เด็กอายุ 0-4 ปี มีอัตราป่วยสูงสุด 64.71 ต่อประชากรแสนคน รองลงมา คือ กลุ่มอายุ 15-24 ปี (17.66) 5-9 ปี (14.67) 25-34 ปี (14.30) และ 10-14 ปี (10.76) ส่วนมากมีสัญชาติไทย ร้อยละ 91.79 พม่า (6.37) กัมพูชา (0.80) และอื่น ๆ (0.62) ปัญหาดังกล่าวจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขและพัฒนาหารูปแบบแนวทางการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพอย่างเร่งด่วน ซึ่งจำเป็นต้องมีข้อมูลอย่างรอบด้าน ทั้งจากผู้ให้บริการและผู้รับบริการที่เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักและสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงให้มากที่สุดคือ รูปแบบการแก้ปัญหานั้นต้องเกิดจากการมีส่วนร่วมในชุมชนทุกภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เป็นรูปแบบที่เกิดจากความต้องการของผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ สอดคล้องกับบริบทและวัฒนธรรมของชาวไทยมุสลิมที่มีวิถีการดำเนินชีวิตที่เป็นรูปแบบเฉพาะ เพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจของประชาชนในการปฏิบัติในกิจกรรมนั้นๆ จากการทบทวนวรรณกรรมพบว่า รูปแบบการดำเนินการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีนขององค์กรสาธารณสุขที่เป็นอยู่ จะประกอบด้วย การจัดเป็นคลินิกเฉพาะ มีการจัดบริการที่เป็นสัดส่วน มีมุมนันทนาการ มีกิจกรรมที่บริการเพิ่ม คือ การตรวจพัฒนาการ การให้คำแนะนำในการเลี้ยงดูตามวัย การจัดบริการเชิงรุก การให้ความรู้แก่ผู้รับผิดชอบ เป็นต้นซึ่งรูปแบบดังกล่าวข้างต้น เป็นรูปแบบที่เกิดจากนโยบายการจัดบริการสาธารณสุขซึ่งเกือบทุกสถานที่บริการของรัฐจะดำเนินการคล้ายๆ กัน  ดังนั้นผู้ดำเนินโครงการจึงมีแนวคิดในการแก้ไขปัญหาโดยการพัฒนารูปแบบที่เป็นรูปแบบเฉพาะซึ่งสอดคล้องกับวิถีการดำเนินชีวิต และวัฒนธรรมของชุมชน ภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องโดยคาดหวังถึงผลสำเร็จที่จะเกิดขึ้นต่อประสิทธิภาพ การเข้าถึงบริการ และความครอบคลุมของการได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีน ซึ่งส่งผลต่อการลดอัตราป่วย ตายด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ในเด็กซึ่งจะเติบโตเป็นกำลังสำคัญของชาติต่อไปในอนาคต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ความรู้เรื่องวัคซีนแก่ผู้ปกครอง

ตัวชี้วัด : ผู้ปกครองเข้ารับการอบรมให้ความรู้เรื่องวัคซีน ร้อยละ 100

2 2. เพื่อให้เด็กอายุ 0-5 ปี มารับบริการฉีดวัคซีนตามนัด

ตัวชี้วัด : เด็กอายุ 0-5 ปี มารับบริการฉีดวัคซีนตามนัดร้อยละ 90

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณต.ค. 66พ.ย. 66ธ.ค. 66ม.ค. 67ก.พ. 67มี.ค. 67เม.ย. 67พ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67
1 กิจกรรมเเลกเปลี่ยนเรียนรู้จากผู้ที่ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ กิจกรรมระบบติดตามวัคซีนเชิงรุก(1 ต.ค. 2566-30 ก.ย. 2567) 21,950.00                        
รวม 21,950.00
1 กิจกรรมเเลกเปลี่ยนเรียนรู้จากผู้ที่ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ กิจกรรมระบบติดตามวัคซีนเชิงรุก กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 118 21,950.00 2 21,950.00
1 ต.ค. 66 กิจกรรมเเลกเปลี่ยนเรียนรู้จากผู้ที่ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ กิจกรรมระบบติดตามวัคซีนเชิงรุก 118 21,950.00 21,950.00
1 ต.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมให้ความรู้ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปี 0 0.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้รับบริการมาฉีดวัคซีนตามนัด
      2. ผู้รับบริการมีสุขภาพดี ไม่เกิดโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน
      3.ผู้ปกครองมีทัศนคติที่ดี และทราบผลเสียของการได้รับวัคซีนล่าช้า
      4. เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ในเรื่องของวัคซีน /เกณฑ์อายุ /ฤทธิ์ข้างเคียงของวัคซีน / การดูแล

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 พ.ค. 2567 15:04 น.