กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการดูแลส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอดอย่างมีคุณภาพ ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L5281-2-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตำบลทุ่งนุ้ย
วันที่อนุมัติ 9 พฤษภาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2567 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 36,150.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ 1. นางนงค์นุช ปานกลาย 2. นางระนอง ติ้งโหยบ 3. นางปราณี เซ่งซิ้ว 4. นางอาริตา อยู่เล 5. นายสวัสดิ์ ด้วงน้อย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.871,100.144place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 190 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากปัญหา เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และการคลอด โดยเฉลี่ยผู้หญิงเสียชีวิตจากการตั้งครรภ์และการคลอด วันละ ๑-๒ คน และมีแม่และเด็กจำนวนมากเจ็บป่วยรุนแรงถึงพิการจากสาเหตุส่วนใหญ่ที่ป้องกันได้ อันตรายจากการตั้งครรภ์และการคลอดลูกจะลดลงได้ เมื่อผู้หญิงมีสุขภาพแข็งแรง และมีภาวะโภชนาการดีตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ มีการตั้งครรภ์เมื่อพร้อม (Planned pregnancy) ไปรับการตรวจสุขภาพเร็วที่สุดตั้งแต่เริ่มตังครรภ์ภายใน ๘-๑๒ สัปดาห์ รับการตรวจครรภ์เป็นระยะอย่างสม่ำเสมอ ฝากครรภ์อย่างน้อย ๕ ครั้ง เข้ารับการดูแลช่วยคลอดจากแพทย์ พยาบาลผดุงครรภ์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ผ่านการฝึกอบรม นอกจากนั้น ทั้งแม่และลูกจำเป็นต้องได้รับการดูแลใกล้ชิดในช่วง ๔๘ ชั่วโมงหลังคลอด ทั้งนี้ครอบครัวโดยเฉพาะสามีจะต้องให้ความเอาใจใส่ดูแล ช่วยเหลือแบ่งเบาภาระ ตลอดระยะตั้งครรภ์ การพาไปคลอด และในระยะหลังคลอด ช่วยดูแลความเป็นอยู่ อาหารการกินและสุขภาพของทั้งแม่และลูก และการเล็งถึงปัญหาสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์และระยะหลังคลอด และผู้ดูแล(สามี/มารดา)       บทบาทสำคัญของอาสาสมัครสาธารณสุขในการเฝ้าระวัง ป้องกันปัญหาสาธารณสุขในหมู่บ้าน ชุมชน คืองานอนามัยแม่และเด็ก รวมถึงการวางแผนครอบครัว โดยเฉพาะการดูแลหญิงตั้งครรภ์ เพราะอาสาสมัครสาธารณสุขเป็นหมอคนที่ 1 ที่ไกล้ชิดกับชุมชนและสามารถดูแลและให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์และผู้ดูแล(สามี/มารดา) เบื้องต้นตาม ไตรมาสได้อย่างถูกต้อง       ดังนั้นทางอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งนุ้ย ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญการดูแล หญิงตั้งครรภ์ ดูแลสุขภาพในช่วงระยะตั้งครรภ์และหลังคลอด โดยการให้หญิงตั้งครรภ์ และผู้ดูแล (สามี/มารดา) มีความรู้และทักษะ และให้มีความตระหนักในการดูแลตนเองขณะก่อนตั้งครรภ์ ขณะตั้งครรภ์และหลังคลอดได้อย่างถูกต้อง และมีอาสาสมัครสาธารณสุขที่มีความรู้ ร่วมกันช่วยดูแล และป้องกันภาวะเสี่ยงจากการตั้งครรภ์ เพื่อสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอดอย่างมีคุณภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์และผู้ดูแล(สามี/มารดา)ได้รับความรู้ ในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ ขณะตั้งครรภ์และหลังคลอด

เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์และผู้ดูแล(สามี/มารดา)ได้รับความรู้ ในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ ขณะตั้งครรภ์และหลังคลอดร้อยละ 100

2 .เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขได้รับความรู้ ในการติดตามและดูแลหญิงตั้งครรภ์ ขณะตั้งครรภ์และหลังคลอด

เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขได้รับความรู้ ในการติดตามและดูแลหญิงตั้งครรภ์ ขณะตั้งครรภ์และหลังคลอดร้อยละ 100

3 เพื่อลดภาวะเสี่ยงจากการตั้งครรภ์

เพื่อลดภาวะเสี่ยงจากการตั้งครรภ์ ร้อยละ ๘๐

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 190 36,150.00 0 0.00
13 พ.ค. 67 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ 190 36,150.00 -

ขั้นเตรียมการ
๑. เสนอร่างโครงการผ่านเวทีพิจารณาโดยคณะกรรมการอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตำบลทุ่งนุ้ย ๒. จัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมายในเขตรับผิดชอบ ขั้นดำเนินการ ๑. ประชุมชี้แจงรายละเอียดโครงการแก่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน คืนข้อมูลแก่ชุมชน
หาแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกัน   ๒. ประชาสัมพันธ์โครงการ ประสานงานทีมวิทยากร จัดเตรียมเอกสาร
  ๓. ดำเนินการตามแผนงานโครงการที่จัดทำขึ้น ดังนี้           - กำหนดวัน เวลา และสถานที่ในการจัดอบรม           - จัดทำหนังสือไปยังโรงเรียนเพื่อเชิญหญิงตั้งครรภ์ ผู้ดูแล(สามี/มารดา) และอาสาสมัครสาธารณสุข เข้าร่วมอบรม
          - จัดอบรมโดยการบรรยายให้ความรู้และการสาธิตย้อนกลับ


ขั้นประเมินผล ๑. ประเมินผลการดำเนินโครงการเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์ ๒. ประเมินผลการดำเนินโครงการเปรียบเทียบกับงบประมาณ ๓. ประเมินผลการดำเนินโครงการเปรียบเทียบกับผลที่คาดว่าจะได้รับ   ๔. ประเมินผลการดำเนินโครงการเปรียบเทียบกับความทันเวลาในการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.หญิงตั้งครรภ์และผู้ดูแลผู้ดูแล(สามี/มารดา) มีความรู้ ในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ ขณะตั้งครรภ์และหลังคลอด ๒.อาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้ ในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ ขณะตั้งครรภ์และหลังคลอดได้อย่างถูกต้อง ๓.ลดภาวะเสี่ยงจากการตั้งครรภ์

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 พ.ค. 2567 14:39 น.