กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมผู้ป่วยโรคเบาหวาน&ความดันโลหิตสูง
รหัสโครงการ 61-L4156-1-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกะรอ
วันที่อนุมัติ 31 พฤษภาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 7 สิงหาคม 2561 - 7 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 24,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนูรไอนี มะแซ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกะรอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.535,101.576place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 7 ส.ค. 2561 7 ส.ค. 2561 24,900.00
รวมงบประมาณ 24,900.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยปัจจุบันกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคเบาหวาน(DM)และโรคความดันโลหิตสูง (HT) เป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะโรคแทรกซ้อน ทำให้เกิดความพิการและตายก่อนวัยอันควร การเกิดโรคมีสาเหตุจากหลายปัจจัยเสี่ยงที่มาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย และนำไปสู่การเจ็บป่วยแทรกซ้อนที่สำคัญ อาทิ โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคไตวายเรื้อรัง (CKD)โรคหัวใจและหลอดเลือด(CVD) แผลเรื้อรัง การถูกตัดขา ตัดนิ้ว เป็นต้น ความเจ็บป่วยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยตลอดจนค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขโดยรวม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข และสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดลได้ตระหนักถึงความสำคัญที่ต้องสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนและระดมพลังทั้งสังคมเพื่อแก้ไขและขจัดปัญหาดังกล่าวผ่านกระบวนการทำแผนยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทยพ.ศ2554-2563 ซึ่งเป็นแผนระดับชาติเพื่อใช้เป็นกรอบชี้ทิศทางการขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติการอย่างบูรณาการเป็นเอกภาพด้วยการรวมพลังขับเคลื่อนจากทุกภาคส่วนประชาชนมีศักยภาพในการจัดการปัจจัยเสี่ยงและสภาพแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อโรควิถีชีวิตเพื่อปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตใหม่ที่ลดเสี่ยงลดโรคลดภาวะแทรกซ้อน ลดการพิการ ลดความตาย และลดภาระค่าใช้จ่ายทั้งระดับบุคคล ครอบครัวชุมชนสังคมสังคมสุขภาวะบนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง     สถานการณ์โรคไม่ติดต่อในตำบลเกะรอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ในปีงบ 2559 พบว่ามีผู้ป่วยความดันไม่สามารถควบคุม ระดับความดันโลหิตสูงร้อยละ 76.40 และผู้ป่วยเบาหวานไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลร้อยละ 78.00 ในปีงบ 2560 พบว่ามีผู้ป่วยความดันไม่สามารถควบคุม ระดับความดันโลหิตสูงร้อยละ 69.78 และผู้ป่วยเบาหวานไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลร้อยละ 54.14 ซึ่งพบว่ายังไม่สามารถควบคุมได้ดี ในจำนวนผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง พบว่ามีภาวะแทรกซ้อน ดังนี้ 1)  โรคไตเสื่อม 2) โรคจอประสาทตา 3) โรคหัวใจหลอดเลือด 4) โรคอัมพฤกษ์ (เส้นเลือดสมองตีบ) เป็นต้น จากสภาพปัญหาดังกล่าวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกะรอได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาเบาหวาน ความดันโลหิตสูงโดยมีกิจกรรมคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อให้การดำเนินแก้ไขปัญหาดังกล่าวมีความต่อเนื่องจึงได้จัดตั้งโครงการอบรมผู้ป่วยโรคเบาหวาน&ความดันโลหิตสูง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพระหว่างผู้ป่วยในชุมชน

 

0.00
2 2. เพื่อให้ผู้ป่วยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเหมาะสม นำไปสู่การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด,ระดับความดันโลหิต ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 24,900.00 1 24,900.00
7 ส.ค. 61 การรณรงค์/ประชาสัมพันธ์/ฝึกอบรม/ให้ความรู้ 0 24,900.00 24,900.00
  1. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ป่วยในชมรม
  2. กิจกรรม "เคล็ดลับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อควบคุมความดันและระดับน้ำตาล"
  3. จัดตั้งชมรมผู้ป่วยโรคเบาหวาน & ความดันโลหิตสูง
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
  2. ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ธ.ค. 2560 13:08 น.