กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรู้ค่านาทีชีวิต First Aid for Save Life
รหัสโครงการ 67-L5275-01-005
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 27 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 99,276.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอาลัชฎาวรรณ สุวรรณะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 298 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ข้อมูลสถานการณ์และแนวโน้มสุขภาพและการแพทย์ฉุกเฉินจากสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๖๕ ระบุว่าสาเหตุการตายของคนไทยจากข้อมูลมรณบัตรในปี พ.ศ.2562 พบว่า สาเหตุการตายที่สำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ มะเร็งทุกชนิด โรคหลอดเลือดสมอง ปอดอักเสบ โรคหัวใจขาดเลือด และอุบัติเหตุจากการคมนาคมขนส่งทางบกตามลำดับ ประกอบกับจากการศึกษาในต่างประเทศ พบว่าผู้บาดเจ็บหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลที่ได้รับการช่วยเหลือด้วยการกดหน้าอกโดยผู้พบเหตุจะเพิ่มโอกาสการรอดชีวิต การช่วยเหลือโดยระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในผู้บาดเจ็บหัวใจหยุดเต้น สามารถลดอัตราการเสียชีวิตลง ร้อยละ 25 ในประเทศกำลังพัฒนาทั้งในชนบทและในเมือง ส่วนผู้บาดเจ็บที่ได้รับการช่วยเหลือโดยบุคลากรทางการแพทย์และระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินมีอัตราการรอดชีวิต ร้อยละ 10 ข้อมูลจากการศึกษาการรอดชีวิตของผู้บาดเจ็บหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลที่ได้รับการช่วยเหลือดูแลรักษาโดยระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน พบว่าผู้บาดเจ็บหัวใจหยุดเต้นที่ได้รับการช่วยเหลือดูแลรักษาโดยระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ส่วนใหญ่มีสาเหตุการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจร ร้อยละ 80 สถิติรับแจ้งเหตุจังหวัดสงขลา จำนวนที่ออกปฏิบัติการ 35,795 ครั้ง (สำนักงานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน. 2565) อาการนำ 3 อันดับแรกที่ได้รับแจ้งและออกปฏิบัติการ คือ อุบัติเหตุยานยนต์ จำนวน 9,076 ครั้ง อ่อนเพลีย/อัมพาตเรื้อรัง จำนวน 5,340 ครั้ง และหายใจลำบาก/ติดขัด จำนวน 3,159 ครั้ง ตามลำดับ ส่วนสถิติการให้บริการของหน่วยกู้ชีพเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา ปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ได้ให้บริการกรณีอุบัติเหตุจราจร จำนวน 186 ครั้ง
เป็นอันดับแรกของการรับแจ้ง และการให้บริการกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน จำนวน 787 ครั้ง ได้แก่การเจ็บป่วยด้วยอาการรับแจ้ง คือ หมดสติ/ไม่ตอบสนอง/หมดสติชั่ววูบ รองลงมา อ่อนเพลีย/อัมพาตเรื้อรัง/ไม่ทราบ ไม่จำเพาะ (จำแนกกลุ่มอาการที่รับแจ้ง Criteria Based Dispatch : CBD code) อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๒ กำหนดให้เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่จัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง ตามมาตรา ๑๖ (๑๙) เรื่องการสาธารณสุข การอนามัยครอบครัวและการรักษาพยาบาล ประกอบกับพระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๕๑ ได้ให้อำนาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีบทบาทในการบริหารจัดการระบบปฏิบัติงานด้านการแพทย์ฉุกเฉินในระดับพื้นที่ โดยเทศบาลเมืองทุ่งตำเสาได้ดำเนินงานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในนาม “หน่วยกู้ชีพเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา” โดยสถิติการให้บริการของหน่วยกู้ชีพเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา ปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ได้ให้บริการกรณีอุบัติเหตุจราจร จำนวน 186 ครั้ง และการให้บริการกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน จำนวน 787 ครั้ง ได้แก่การเจ็บป่วยด้วยอาการรับแจ้ง คือ หมดสติ/ไม่ตอบสนอง/หมดสติชั่ววูบ รองลงมา อ่อนเพลีย/อัมพาตเรื้อรัง/ไม่ทราบ ไม่จำเพาะ เล็งเห็นความสำคัญในการช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บหรือผู้เกิดภาวะเจ็บป่วยฉับพลัน โดยมีสาเหตุที่สามารถป้องกันได้ก่อนไปถึงภาวะฉุกเฉิน จึงได้จัดทำโครงการโรงพยาบาลครัวเรือน เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการดูสุขภาพก่อนภาวะเจ็บป่วยฉุกเฉิน ส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่สามารถดูแลตนเองได้ด้วยการใช้สมุนไพรในท้องถิ่น เพื่อการพึ่งตนเองด้านสุขภาพ เพื่อเป็นการป้องกันการเสียชีวิตและการเจ็บป่วยรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นจากองค์ความรู้ในการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานที่ถูกต้อง ซึ่งประชาชนในชุมชนสามารถนำไปใช้กับสถานการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ช่วยเหลือคนในครอบครัวหรือเพื่อนบ้าน หรือเมื่ออยู่ในชุมชนได้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้และทักษะในการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานได้อย่างถูกต้อง
  1. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจในการการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานผ่านเกณฑ์การประเมิน ไม่น้อยกว่าสร้อยละ ๘๐
  2. ร้อยละ ๑๐๐ ของผู้เข้ารับการอบรมมีทักษะการช่วยฟื้น คืนชีพผ่านเกณฑ์การประเมิน
0.00
2 ๒. เพื่อสื่อสารความรู้ความเข้าใจเรื่องระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินแก่ประชาชนในพื้นที่

๑. ประชาชนมีความรู้เรื่องการใช้บริการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินได้ถูกต้อง ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 99,276.00 0 0.00
1 - 31 พ.ค. 67 (๑) กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน” 0 52,232.00 -
1 พ.ค. 67 - 30 มิ.ย. 67 (๒) กิจกรรมทักษะการปฐมพยาบาลและการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้นในสถานศึกษา“ยุวกู้ชีพ” 0 34,132.00 -
1 พ.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 (๓) ผลิตสื่อช่องทางการใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินและกลุ่มอาการฉุกเฉินวิกฤตที่ สพฉ.กำหนด 0 10,292.00 -
1 พ.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 (๔) กิจกรรมประเมินจุดเสี่ยงอุบัติเหตุในพื้นที่ตำบลทุ่งตำเสา 0 2,620.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้เข้าโครงการมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) ได้อย่างถูกต้อง ๒. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินได้ถูกต้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 พ.ค. 2567 14:04 น.