กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผล (RDU) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบานา
รหัสโครงการ 67-L3013-01-37
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบานา
วันที่อนุมัติ 30 พฤษภาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 18 มิถุนายน 2567 - 19 มิถุนายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 19 กรกฎาคม 2567
งบประมาณ 20,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอาภรณ์ เจะอุบง
พี่เลี้ยงโครงการ นายอับดุลกอเดร์ การีนา
พื้นที่ดำเนินการ ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบานา อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลเป็นการนำยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี สู่การพัฒนาระบบยา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบสุขภาพในระดับพื้นที่ให้มีการใช้ยา อย่างสมเหตุผล สอดคล้องตามแผนแม่บทการเสริมสร้างให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดีซึ่งได้กำหนดเป้าหมายคือการมีชุมชน สุขภาพดี การมีระบบสาธารณสุขที่ได้มาตรฐานที่ประชาชนทุกระดับเข้าถึงได้ดีขึ้น และประชาชนมีความรอบรู้ด้านสุข ภาวะสามารถดูแลสุขภาพและมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ เพื่อให้มีการใช้ยาอย่างสมเหตุผล และแก้ปัญหายาในชุมชน ที่ส่งผลต่อการ ใช้ยาอย่างสมเหตุผล อย่างเป็นระบบและยั่งยืน โดยมีเป้าหมาย ให้ประชาชนปลอดภัยจากการใช้ยา ใช้ยาอย่างมี ประสิทธิผล คุ้มค่ามีความรอบรู้ในการใช้ยา และสามารถดูแลสุขภาพตนเองเบื้องต้นเมื่อเจ็บป่วย การใช้ยาอย่างไม่มีข้อบ่งชี้, การใช้ยาซ้ำซ้อนหลายขนานมากเกินความจำเป็น และการใช้ยาปฏิชีวนะ ยาชุดอย่างไม่สมเหตุผล ร้านขายของชำในชุมชนและห้องพยาบาลของโรงเรียนและสถานศึกษาเป็นสถานที่พึ่งของนักเรียนและประชาชนเมื่อเกิดอาการเจ็บป่วยขึ้น ในการรักษาอาการเจ็บป่วยและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบานา โรงเรียนในความดูแลทั้งหมด จำนวน 8 โรงเรียน โรงเรียนสอนศาสนาจำนวน 10 โรงเรียนจากการตรวจประเมินโรงเรียนพบว่า บางโรงเรียนมีตู้ยาที่ไม่ได้มาตรฐาน การจัดเรียงยายังไม่ถูกต้องไม่มีการจดบันทึกการจ่ายยา โรงเรียนศาสนาบางแห่ง ไม่มีการสำรองยาสามัญประจำบ้านและจากการสำรวจร้านขายของชำในปี 2566 ในชุมชนตำบลบานา อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี พบว่าพบสารเคมีไม่ได้ฐานผสมอยู่ในเครื่องสำอางบางประเภท มีการจัดเก็บยาที่ไม่ถูกต้อง และมีการจำหน่ายยาปฏิชีวนะ ยาลูกกลอน และยาชุดในบางร้าน ดังนั้นเพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายกระทรวงสาธารณสุขและจังหวัดปัตตานีดังสโลแกนที่ว่า “ชาวปัตตานีรอบรู้ เครือข่ายร่วมมือ ใช้ยาปลอดภัยสมเหตุผล” โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบานเล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันไม่ให้การรับประทานยาที่ถูกต้อง ถูกขนาด และปลอดภัยและเพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพของครูอนามัยโรงเรียน ครูโรงเรียนสอนศาสนา และผู้ประกอบการร้านชำในพื้นที่ เพื่อให้นักเรียน บุคลากรในโรงเรียน และประชาชนในพื้นที่มีความปลอดภัยและมีการใช้ยาอย่างสมเหตุผล

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างความปลอดภัยการใช้ยาในโรงเรียนและการจัดการด้านระบบยาที่ถูกต้องและได้มาตรฐาน

ผู้เข้ารับการอบรมมีความรอบรู้การใช้ยาอย่างอย่างสมเหตุผล ร้อยละ 100

100.00
2 เพื่อเป็นร้านชำต้นแบบที่ไม่มียาชุด ยาอันตราย ยาปฏิชีวนะ จำหน่าย

ร้อยละ 80 ของร้านชำจำหน่ายยาที่มีความถูกต้อง ปลอดภัย

80.00
3 เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านชำมีความรู้ความเข้าในเรื่องยาที่ขายได้ในร้านชำ

ผู้ประกอบการร้านชำมีความรู้ความเข้าในเรื่องยาที่ขายได้ในร้านชำ ร้อยละ 80

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 50 20,750.00 0 0.00
18 มิ.ย. 67 อบรมให้ความรู้ครูอนามัยโรงเรียน ครูการพยาบาล ของสถานศึกษา 24 14,790.00 -
19 มิ.ย. 67 อบรมให้ความรู้ผู้ประกอบการร้านชำ 26 5,960.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ครูและเด็กมีความปลอดภัยการใช้ยาในโรงเรียนและได้รับยาที่ปลอดภัยถูกต้องและได้มาตรฐาน

2.ครูมีความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในโรงเรียน (RDU Literacy in school)

3.ครูสามารถนำความรู้ที่ได้จากการอบรมครั้งนี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดให้นักเรียนและชุมชน

4.ได้ร้านชำ RDUต้นแบบที่ไม่จำหน่ายยาอันตราย

5.ผู้ประกอบการร้านชำมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องยาที่ไม่สามารถจำหน่ายได้ในร้านชำ

6.ได้ร้านชำ RDUต้นแบบที่ไม่จำหน่ายยาอันตราย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 พ.ค. 2567 10:51 น.