กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บานา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผล (RDU) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบานา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บานา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบานา

เขตพื้นที่ตำบลบานา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลเป็นการนำยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี สู่การพัฒนาระบบยา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบสุขภาพในระดับพื้นที่ให้มีการใช้ยา อย่างสมเหตุผล สอดคล้องตามแผนแม่บทการเสริมสร้างให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดีซึ่งได้กำหนดเป้าหมายคือการมีชุมชน สุขภาพดี การมีระบบสาธารณสุขที่ได้มาตรฐานที่ประชาชนทุกระดับเข้าถึงได้ดีขึ้น และประชาชนมีความรอบรู้ด้านสุข ภาวะสามารถดูแลสุขภาพและมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ เพื่อให้มีการใช้ยาอย่างสมเหตุผล และแก้ปัญหายาในชุมชน ที่ส่งผลต่อการ ใช้ยาอย่างสมเหตุผล อย่างเป็นระบบและยั่งยืน โดยมีเป้าหมาย ให้ประชาชนปลอดภัยจากการใช้ยา ใช้ยาอย่างมี ประสิทธิผล คุ้มค่ามีความรอบรู้ในการใช้ยา และสามารถดูแลสุขภาพตนเองเบื้องต้นเมื่อเจ็บป่วย การใช้ยาอย่างไม่มีข้อบ่งชี้, การใช้ยาซ้ำซ้อนหลายขนานมากเกินความจำเป็น และการใช้ยาปฏิชีวนะ ยาชุดอย่างไม่สมเหตุผล ร้านขายของชำในชุมชนและห้องพยาบาลของโรงเรียนและสถานศึกษาเป็นสถานที่พึ่งของนักเรียนและประชาชนเมื่อเกิดอาการเจ็บป่วยขึ้น ในการรักษาอาการเจ็บป่วยและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบานา โรงเรียนในความดูแลทั้งหมด จำนวน 8 โรงเรียน โรงเรียนสอนศาสนาจำนวน 10 โรงเรียนจากการตรวจประเมินโรงเรียนพบว่า บางโรงเรียนมีตู้ยาที่ไม่ได้มาตรฐาน การจัดเรียงยายังไม่ถูกต้องไม่มีการจดบันทึกการจ่ายยา โรงเรียนศาสนาบางแห่ง ไม่มีการสำรองยาสามัญประจำบ้านและจากการสำรวจร้านขายของชำในปี 2566 ในชุมชนตำบลบานา อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี พบว่าพบสารเคมีไม่ได้ฐานผสมอยู่ในเครื่องสำอางบางประเภท มีการจัดเก็บยาที่ไม่ถูกต้อง และมีการจำหน่ายยาปฏิชีวนะ ยาลูกกลอน และยาชุดในบางร้าน
ดังนั้นเพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายกระทรวงสาธารณสุขและจังหวัดปัตตานีดังสโลแกนที่ว่า “ชาวปัตตานีรอบรู้ เครือข่ายร่วมมือ ใช้ยาปลอดภัยสมเหตุผล” โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบานเล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันไม่ให้การรับประทานยาที่ถูกต้อง ถูกขนาด และปลอดภัยและเพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพของครูอนามัยโรงเรียน ครูโรงเรียนสอนศาสนา และผู้ประกอบการร้านชำในพื้นที่ เพื่อให้นักเรียน บุคลากรในโรงเรียน และประชาชนในพื้นที่มีความปลอดภัยและมีการใช้ยาอย่างสมเหตุผล

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างความปลอดภัยการใช้ยาในโรงเรียนและการจัดการด้านระบบยาที่ถูกต้องและได้มาตรฐาน

ผู้เข้ารับการอบรมมีความรอบรู้การใช้ยาอย่างอย่างสมเหตุผล ร้อยละ 100

0.00
2 เพื่อเป็นร้านชำต้นแบบที่ไม่มียาชุด ยาอันตราย ยาปฏิชีวนะ จำหน่าย

ร้อยละ 80 ของร้านชำจำหน่ายยาที่มีความถูกต้อง ปลอดภัย

0.00
3 เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านชำมีความรู้ความเข้าในเรื่องยาที่ขายได้ในร้านชำ

ผู้ประกอบการร้านชำมีความรู้ความเข้าในเรื่องยาที่ขายได้ในร้านชำ ร้อยละ 80

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 18/06/2024

กำหนดเสร็จ 19/06/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ครูอนามัยโรงเรียน ครูการพยาบาล ของสถานศึกษา

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ครูอนามัยโรงเรียน ครูการพยาบาล ของสถานศึกษา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.นัดกลุ่มเป้าหมาย ครูอนามัยโรงเรียน จำนวน 8 โรงเรียน โรงเรียนละ 2 คน ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำนวน 4 แห่งๆละ 2 คน รวมจำนวน 24 คน

2.ประเมินความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลในโรงเรียนการ จ่ายยา ขนาดยาและการสังเกตการแพ้ยา

3.ให้ความรู้เกี่ยวการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล ข้อบ่งชี้ของการใช้ยา หลักการ First exp. First outและการให้ยาทุกชนิดโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วย

4.ฝึกปฏิบัติสถานการณ์สมมติ กรณีเด็กป่วยมารับบริการห้องอนามัยโรงเรียน การให้ยา และการประเมินอาการเด็กเบื้องต้น

5.แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ปัญหาที่เจอในการจ่ายยาในโรงเรียน ระหว่างครูและวิทยากรพร้อมทั้งให้คำแนะนำที่ถูกต้องในการจัดการปัญหาเบื้องต้น

6.ทำแบบทดสอบหลังให้ความรู้ เพื่อประเมินผล

• ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท X 24 คน เป็นเงิน 1,200 บาท

• ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 2 มื้อ x 35 บาท X 24 คน เป็นเงิน 1,680 บาท

• เอกสารและอุปกรณ์ประกอบการอบรม 40 บาท X 24 ชุด เป็นเงิน 960 บาท

• ค่าป้าย RDU ขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 3 เมตร ราคา 750บาท X 1ป้าย เป็นเงิน 750 บาท

• ค่าวิทยากรจำนวน 1 คน 600 บาท X 3 ชั่วโมง เป็นเงิน 1,800 บาท

• ตู้ยา (มอบให้ รร. และ ศพด.) จำนวน 12 ตู้ x 700 บาท เป็นเงิน 8,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 มิถุนายน 2567 ถึง 18 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14790.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้ผู้ประกอบการร้านชำ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ผู้ประกอบการร้านชำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. นัดกลุ่มเป้าหมายตัวแทนผู้ประกอบการร้านชำ จำนวน 26 คน

  2. ประเมินความรู้ ให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการอ่านฉลากยา และการจำหน่ายยาตามกฎหมาย

  3. ให้ความรู้เรื่องยาที่ขายได้ในร้านชำ ยาอันตราย ยาสามัญประจำบ้าน โทษของการขายยาอันตราย

  4. ให้ความรู้กฎหมายและโทษของการจำหน่ายยาอันตรายและยาควบคุมพิเศษ

  5. ประเมินปัญหาที่พบพร้อมทั้งให้คำชี้แนะตัวแทนร้านขายของชำ หาแนวทางการแก้ปัญหาร่วมกัน โดยยึดตามบริบทของพื้นที่เป็นหลัก

  6. ทำแบบทดสอบความรู้และประเมินผล

• ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท X 26 คน เป็นเงิน 1,300 บาท

• ค่าอาหารว่าง 2 มื้อ (เช้า – เย็น) X 35 บาท X 26 คน เป็นเงิน 1,820 บาท

• เอกสารและอุปกรณ์ประกอบการอบรม 40 บาท X 26 ชุด เป็นเงิน 1,040 บาท

• ค่าวิทยากร1 ท่าน 600 บาท X 3 ชั่วโมง เป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
19 มิถุนายน 2567 ถึง 19 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5960.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,750.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ครูและเด็กมีความปลอดภัยการใช้ยาในโรงเรียนและได้รับยาที่ปลอดภัยถูกต้องและได้มาตรฐาน

2.ครูมีความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในโรงเรียน (RDU Literacy in school)

3.ครูสามารถนำความรู้ที่ได้จากการอบรมครั้งนี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดให้นักเรียนและชุมชน

4.ได้ร้านชำ RDUต้นแบบที่ไม่จำหน่ายยาอันตราย

5.ผู้ประกอบการร้านชำมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องยาที่ไม่สามารถจำหน่ายได้ในร้านชำ

6.ได้ร้านชำ RDUต้นแบบที่ไม่จำหน่ายยาอันตราย


>