กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการนักเรียนวัยใส อนามัยดี ไม่มีเหา ด้วยยาสมุนไพร
รหัสโครงการ 67-L3013-01-36
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบานา
วันที่อนุมัติ 30 พฤษภาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 10 มิถุนายน 2567 - 30 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 35,510.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอาภรณ์ เจะอุบง
พี่เลี้ยงโครงการ นายอับดุลกอเดร์ การีนา
พื้นที่ดำเนินการ ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบานา อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 137 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเหา เป็นโรคที่พบบ่อยมากในเด็กนักเรียนอนุบาล ประถมศึกษา โดยเฉพาะนักเรียนหญิง เกิดจากการไม่รักษาความสะอาดของร่างกาย เครื่องนอน ติดต่อจากการสัมผัสใกล้ชิดกับคนที่เป็น หรือติดจากสัตว์เลี้ยงเป็นต้น เหาจะคอยดูดเลือดกินเป็นอาหารในน้ำลายของเหามีสารที่ระคายเคืองผิวได้ ทำให้เกิดตุ่มคันตรงรอยกัด โดยที่เหาเกิดจากเชื้อปรสิต ชื่อวิทยาศาสตร์เรียกว่า Pediculus humanus ซึ่งอาศัยอยู่บนหนังศีรษะ เส้นผม ขน ปรสิตชนิดนี้จะคอยดูดเลือดกินเป็นอาหาร และวางไข่บนเส้นเลือด โดยหลั่งสารไคตินหุ้มปลายหนึ่งของไข่ ให้เกาะติดแน่นอยู่ มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เด็กเป็นเหาจะมีอาการคันมากและเกาจนหนังศีรษะถลอก เกิดเป็นการอักเสบ หนอง สะเก็ดแห้งกรัง และเป็นแผลติดเชื้อแบคทีเรียได้ บางรายอาจมีอาการรุนแรงทำให้ผมร่วงได้ ทำให้เด็กเสียสมาธิในการเรียน และยังทำให้สุขภาพไม่ดี ก่อให้เกิดความรำคาญกับผู้ที่เป็น

ปีงบประมาณ 2566 จากการตรวจสุขภาพเด็กนักเรียน (ระดับประถมศึกษา) พร้อมกับทีมเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานอนามัยโรงเรียน มีโรงเรียนในตำบลบานาทั้งหมด 7 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนดารุลบารอกะฮฺ โรงเรียนบานา โรงเรียนกูวิง โรงเรียนจือโระ โรงเรียนยูโย โรงเรียนเมืองปัตตานี และโรงเรียนปัญญาวิทย์ พบว่า โรงเรียนบ้านกูวิง , โรงเรียนบ้านบานา ,และโรงเรียนบ้านจือโระ มีเด็กนักเรียนที่มีโรคเหา คิดเป็นร้อยละ 72.97 , 72.09 และ 70.58 ตามลำดับ

ด้วยเหตุนี้ คลินิกแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบานา จึงได้จัดทำการศึกษาค้นคว้าสมุนไพรภูมิปัญญาท้องถิ่น พบว่า ใบน้อยหน่า ใบขี้เหล็กและลูกมะกรูด มีสรรพคุณกำจัดเหาได้ดีมาก โดยไม่เป็นอันตรายและไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้เหมือนใช้สารเคมีซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ อีกทั้งยังสามารถรักษาเด็กที่เป็นเหา ป้องกันโรคเหา และลดการระบาดของโรคต่อไป

สถิตินักเรียนในโรงเรียนเขตตำบลบานาได้รับการตรวจสุขภาพ เมื่อปี พ.ศ. 2566 โรงเรียนบ้านกูวิง มีจำนวนนักเรียนหญิง 37 คน มีจำนวนนักเรียนหญิงที่เป็นเหา 27 คน คิดเป็นร้อยละ 72.97 โรงเรียนบ้านบานา มีจำนวนนักเรียนหญิง 43 คน มีจำนวนนักเรียนหญิงที่เป็นเหา 31 คน คิดเป็นร้อยละ 72.09 และโรงเรียนบ้านจือโระ มีจำนวนนักเรียนหญิงที่เป็นเหา 27 คน คิดเป็นร้อยละ 72.97 โรงเรียนบ้านบานา มีจำนวนนักเรียนหญิง 51 คน มีจำนวนนักเรียนหญิงที่เป็นเหา 36 คน คิดเป็นร้อยละ 70.58

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อรักษาและควบคุมการระบาดของโรคเหาในเด็กนักเรียน

ร้อยละ 70 ของนักเรียนที่เป็นโรคเหาได้รับการกำจัดเหาและหายการการเป็นเหา

70.00
2 เพื่อให้เด็ก นักเรียน มีสุขภาพที่ดีป้องกันไม่ให้เกิดโรคเหาในนักเรียนรายใหม่

ร้อยละ 80 ของนักเรียนรายใหม่ไม่เป็นโรคเหา

80.00
3 เพื่อเสริมสร้างใช้ภูมิปัญญา (สมุนไพรพื้นบ้าน)ในการกำจัดเหาแทนการใช้ยาแผนปัจจุบัน

ร้อยละ 80 ของนักเรียนที่เข้าโครงการสามารถใช้สมุนไพรพื้นบ้านทดแทนการใช้ยาแผนปัจจุบันได้

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 59 35,510.00 0 0.00
10 มิ.ย. 67 - 30 ส.ค. 67 กิจกรรมคัดกรอง,ให้สุขศึกษา,สาธิตทำสมุนไพรกำจัดเหาเชิงปฏิบัติการ 54 34,985.00 -
10 มิ.ย. 67 - 30 ส.ค. 67 กิจกรรมที่ ติดตาม นักเรียนวัยใสไร้เหา 5 525.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.นักเรียนมีความรู้ และสามารถนำไปปฏิบัติที่บ้านได้ และสามารถดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายของตนเองได้อย่างถูกต้อง

2.จำนวนนักเรียนที่เป็นโรคเหาภายในโรงเรียนลดลง

3.ไม่เกิดโรคเหาในนักเรียนรายใหม่

4.นักเรียนมีสมาธิในการเรียนเพิ่มขึ้น มีบุคลิกภาพดีขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 พ.ค. 2567 14:22 น.