กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บานา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการนักเรียนวัยใส อนามัยดี ไม่มีเหา ด้วยยาสมุนไพร

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บานา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบานา

ตำบลบานา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคเหา เป็นโรคที่พบบ่อยมากในเด็กนักเรียนอนุบาล ประถมศึกษา โดยเฉพาะนักเรียนหญิง เกิดจากการไม่รักษาความสะอาดของร่างกาย เครื่องนอน ติดต่อจากการสัมผัสใกล้ชิดกับคนที่เป็น หรือติดจากสัตว์เลี้ยงเป็นต้น เหาจะคอยดูดเลือดกินเป็นอาหารในน้ำลายของเหามีสารที่ระคายเคืองผิวได้ ทำให้เกิดตุ่มคันตรงรอยกัด โดยที่เหาเกิดจากเชื้อปรสิต ชื่อวิทยาศาสตร์เรียกว่า Pediculus humanus ซึ่งอาศัยอยู่บนหนังศีรษะ เส้นผม ขน ปรสิตชนิดนี้จะคอยดูดเลือดกินเป็นอาหาร และวางไข่บนเส้นเลือด โดยหลั่งสารไคตินหุ้มปลายหนึ่งของไข่ ให้เกาะติดแน่นอยู่ มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เด็กเป็นเหาจะมีอาการคันมากและเกาจนหนังศีรษะถลอก เกิดเป็นการอักเสบ หนอง สะเก็ดแห้งกรัง และเป็นแผลติดเชื้อแบคทีเรียได้ บางรายอาจมีอาการรุนแรงทำให้ผมร่วงได้ ทำให้เด็กเสียสมาธิในการเรียน และยังทำให้สุขภาพไม่ดี ก่อให้เกิดความรำคาญกับผู้ที่เป็น

ปีงบประมาณ 2566 จากการตรวจสุขภาพเด็กนักเรียน (ระดับประถมศึกษา) พร้อมกับทีมเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานอนามัยโรงเรียน มีโรงเรียนในตำบลบานาทั้งหมด 7 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนดารุลบารอกะฮฺ โรงเรียนบานา โรงเรียนกูวิง โรงเรียนจือโระ โรงเรียนยูโย โรงเรียนเมืองปัตตานี และโรงเรียนปัญญาวิทย์ พบว่า โรงเรียนบ้านกูวิง , โรงเรียนบ้านบานา ,และโรงเรียนบ้านจือโระ มีเด็กนักเรียนที่มีโรคเหา คิดเป็นร้อยละ 72.97 , 72.09 และ 70.58 ตามลำดับ

ด้วยเหตุนี้ คลินิกแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบานา จึงได้จัดทำการศึกษาค้นคว้าสมุนไพรภูมิปัญญาท้องถิ่น พบว่า ใบน้อยหน่า ใบขี้เหล็กและลูกมะกรูด มีสรรพคุณกำจัดเหาได้ดีมาก โดยไม่เป็นอันตรายและไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้เหมือนใช้สารเคมีซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ อีกทั้งยังสามารถรักษาเด็กที่เป็นเหา ป้องกันโรคเหา และลดการระบาดของโรคต่อไป

สถิตินักเรียนในโรงเรียนเขตตำบลบานาได้รับการตรวจสุขภาพ เมื่อปี พ.ศ. 2566 โรงเรียนบ้านกูวิง มีจำนวนนักเรียนหญิง 37 คน มีจำนวนนักเรียนหญิงที่เป็นเหา 27 คน คิดเป็นร้อยละ 72.97 โรงเรียนบ้านบานา มีจำนวนนักเรียนหญิง 43 คน มีจำนวนนักเรียนหญิงที่เป็นเหา 31 คน คิดเป็นร้อยละ 72.09 และโรงเรียนบ้านจือโระ มีจำนวนนักเรียนหญิงที่เป็นเหา 27 คน คิดเป็นร้อยละ 72.97 โรงเรียนบ้านบานา มีจำนวนนักเรียนหญิง 51 คน มีจำนวนนักเรียนหญิงที่เป็นเหา 36 คน คิดเป็นร้อยละ 70.58

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อรักษาและควบคุมการระบาดของโรคเหาในเด็กนักเรียน

ร้อยละ 70 ของนักเรียนที่เป็นโรคเหาได้รับการกำจัดเหาและหายการการเป็นเหา

0.00
2 เพื่อให้เด็ก นักเรียน มีสุขภาพที่ดีป้องกันไม่ให้เกิดโรคเหาในนักเรียนรายใหม่

ร้อยละ 80 ของนักเรียนรายใหม่ไม่เป็นโรคเหา

0.00
3 เพื่อเสริมสร้างใช้ภูมิปัญญา (สมุนไพรพื้นบ้าน)ในการกำจัดเหาแทนการใช้ยาแผนปัจจุบัน

ร้อยละ 80 ของนักเรียนที่เข้าโครงการสามารถใช้สมุนไพรพื้นบ้านทดแทนการใช้ยาแผนปัจจุบันได้

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 137
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 10/06/2024

กำหนดเสร็จ 30/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมคัดกรอง,ให้สุขศึกษา,สาธิตทำสมุนไพรกำจัดเหาเชิงปฏิบัติการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมคัดกรอง,ให้สุขศึกษา,สาธิตทำสมุนไพรกำจัดเหาเชิงปฏิบัติการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ดำเนินการทั้งหมด 3 รุ่น (3 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนบ้านกูวิง , โรงเรียนบ้านบานา , โรงเรียนบ้านจือโระ)

  1. ให้ความรู้แก่นักเรียนและครูในโรงเรียนในการดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายและศีรษะ ที่จะช่วยป้องกันโรคเหาและลดการแพร่ระบาดของโรคเหาต่อไป

  2. สาธิตการทำสมุนไพรกำจัดเหา

  3. ตรวจสุขภาพเพื่อค้นหา นักเรียนที่เป็นโรคเหา และสอบถามพฤติกรรมการเป็นเหา

  4. หมักเหานักเรียนด้วยแชมพูสมุนไพรฆ่าเหา

  • ค่าเอกสารประกอบการอบรมให้ความรู้ จำนวน 137 ชุด X 40 บาท เป็นเงิน 5,480 บาท

  • ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1x3 เมตร จำนวน1 ผืน x 750 บาท เป็นเงิน 750 บาท

  • ค่าวัสดุอุปกรณ์สมุนไพรกำจัดเหา(เอกสารแนบท้าย) เป็นเงิน 16,245 บาท

  • ค่าอาหารกลางวันเจ้าหน้าที่ 50 บาท X 5 คน x 3 ครั้ง เป็นเงิน 750 บาท

• โรงเรียนบ้านกูวิง

  • ค่าอาหารว่าง 35 บาท x 49 คน X 2 มื้อ เป็นเงิน 4,130 บาท (นักเรียน 42 คน +ครู 2 คน + จนท.จัดอบรม 5 คน รวม 49คน )

• โรงเรียนบ้านบานา

  • ค่าอาหารว่าง 35 บาท 54 คน X 2 มื้อ เป็นเงิน 3,780 บาท (นักเรียน 47 คน + ครู 2 คน + จนท.จัดอบรม 5 คน รวม 54คน )

• โรงเรียนบ้านจือโระ

  • ค่าอาหารว่าง 35 บาท 55 คน X 2 มื้อ เป็นเงิน 3,850 บาท (นักเรียน 48 คน +ครู 2 คน + จนท.จัดอบรม 5 คน รวม 55 คน )
ระยะเวลาดำเนินงาน
10 มิถุนายน 2567 ถึง 30 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
34985.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ ติดตาม นักเรียนวัยใสไร้เหา

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ ติดตาม นักเรียนวัยใสไร้เหา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมติดตามร่วมกับครูประจำชั้นและครูผู้รับผิดชอบงานอนามัยโรงเรียน ดูแล ติดตาม พฤติกรรมการรักษาความสะอาดอย่าง จำนวน 3 โรงเรียน (โรงเรียนบ้านกูวิง โรงเรียนบ้านบานา โรงเรียนบ้านจือโระ)

  2. ตรวจสุขภาพนักเรียน กลุ่มเป้าหมายหลังดำเนินการ

  3. สรุปผลการดำเนินการ

  • ค่าอาหารว่างเจ้าหน้าที่ 35 บาท X 5 คน X 3 ครั้ง เป็นเงิน 525 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
10 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
525.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 35,510.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.นักเรียนมีความรู้ และสามารถนำไปปฏิบัติที่บ้านได้ และสามารถดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายของตนเองได้อย่างถูกต้อง

2.จำนวนนักเรียนที่เป็นโรคเหาภายในโรงเรียนลดลง

3.ไม่เกิดโรคเหาในนักเรียนรายใหม่

4.นักเรียนมีสมาธิในการเรียนเพิ่มขึ้น มีบุคลิกภาพดีขึ้น


>