กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสุขภาพดี จากแม่สู่ลูก
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกะรอ
วันที่อนุมัติ 23 พฤษภาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 21,950.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวบาดูรียะ เจ๊ะอาแว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกะรอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.535,101.576place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 118 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การส่งเสริมงานอนามัยแม่และเด็กมีความสำคัญมากต่อการดำรงเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ แต่ละเชื้อชาติ เพราะเป็นการดูแล ส่งเสริม และคุ้มครองป้องกันให้หญิงที่เป็นมารดาสามารถผ่านวิกฤติของการเสี่ยงอันตรายต่อการตั้งครรภ์ การคลอด และหลังคลอดไปได้ รวมทั้งจะเป็นการช่วยเหลือทารก หรือเด็กที่เกิดออกมาสามารถเจริญเติบโตไปได้ด้วยดี ตามทิศทางที่ครอบครัวและสังคม หวังไว้ หากงานด้านอนามัยแม่และเด็กดำเนินไปด้วยดี อนาคตข้างหน้า เราจะมีประชากรที่มีคุณภาพเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติ
งานอนามัยแม่และเด็กเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ และเป็นพื้นฐานของการส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็ก ตลอดจนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ในปัจจุบันนี้ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพแม่และเด็ก เป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศ การดำเนินงานและการให้บริการกลุ่มแม่และเด็กซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมาย ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ปัญหาที่สำคัญของการให้บริการงานอนามัยแม่และเด็ก คือการที่หญิงตั้งครรภ์ไม่ตระหนัก ถึงความสำคัญของการมาฝากครรภ์ทันทีที่รู้ว่าตั้งครรภ์ และฝากครรภ์ตามนัด หรือไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกต้องในขณะตั้งครรภ์ภาวะทุพโภชนาการของแม่และเด็ก และทารกแรกเกิดมีน้ำหนักน้อย ทำให้อัตราป่วยและอัตราตายของแม่และเด็กยังสูง จากการรายงานการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กปีงบ 2566 ในเขตตำบลเกะรอ พบว่า อัตราหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ก่อน12 สัปดาห์ ร้อยละ 72.15 อัตราการเกิดภาวะโลหิตจางครั้งที่ 2 ร้อยละ 7.46 อัตราการเกิดภาวะโลหิตจาง ใกล้คลอด ร้อยละ 4.68 น้ำหนักแรกเกิดต่ำกว่า 2,500 กรัม ร้อยละ 17.86 หญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการดูแลก่อนคลอด 5 ครั้ง ร้อยละ 67.95 หญิงหลังคลอดได้รับการดูแลครบ 3 ครั้ง ตามเกณฑ์ ร้อยละ 65.88 ซึ่งตัวชี้วัดหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์ น้อยกว่า 12 สัปดาห์ ต้องผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 75 อัตราการเกิดภาวะโลหิตจางครั้งที่ 2 ต้องไม่เกินร้อยละ 10 อัตราการเกิดภาวะโลหิตจาง ใกล้คลอด ต้องไม่เกินร้อยละ 10 น้ำหนักแรกเกิดต่ำกว่า 2,500 กรัม ต้องไม่เกินร้อยละ 7 หญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการดูแลก่อนคลอด 5 ครั้ง ต้องผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 75 หญิงหลังคลอดได้รับการดูแลครบ 3 ครั้ง ต้องผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 75 ตามลำดับ จากปัญหาและความสำคัญดังกล่าวเพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์ ที่ 3 งานอนามัยแม่และเด็ก จึงได้จัดทำโครงการการแก้ปัญหาอนามัยแม่และเด็ก เพื่อกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจให้หญิงตั้งครรภ์ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณต.ค. 66พ.ย. 66ธ.ค. 66ม.ค. 67ก.พ. 67มี.ค. 67เม.ย. 67พ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67
1 อบรมให้ความรู้ เรื่องการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็กแก่หญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอดและหญิงวัยเจริญพันธ์(15 ส.ค. 2567-16 ส.ค. 2567) 21,950.00                        
รวม 21,950.00
1 อบรมให้ความรู้ เรื่องการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็กแก่หญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอดและหญิงวัยเจริญพันธ์ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 118 21,950.00 1 21,950.00
15 ส.ค. 67 อบรมให้ความรู้ เรื่องการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็กแก่หญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอดและหญิงวัยเจริญพันธ์ 118 21,950.00 21,950.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงตั้งครรภ์และหลังคลอดได้รับความรู้ในการปฏิบัติตัวให้ถูกต้องในขณะตั้งครรภ์ขณะกำลังคลอดและหลังคลอดร้อยละ 100
    1. หญิงตั้งครรภ์และหลังคลอดได้รับยาเสริมธาตุเหล็ก ร้อยละ 100
    2. หญิงตั้งครรภ์เข้ารับการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ ร้อยละ 75
    3. ทารกแรกคลอดมีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ไม่เกิน ร้อยละ 7
    4. หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์อย่างต่อเนื่อง ครบ 5 ครั้ง ตามเกณฑ์ ร้อยละ 75
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 พ.ค. 2567 15:20 น.