โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกตำบลควนโพธิ์ ปีงบประมาณ 2567
ชื่อโครงการ | โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกตำบลควนโพธิ์ ปีงบประมาณ 2567 |
รหัสโครงการ | 67-L5302-5-2 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขควนโพธิ์ |
วันที่อนุมัติ | 1 มิถุนายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มิถุนายน 2567 - 30 กันยายน 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ตุลาคม 2567 |
งบประมาณ | 67,050.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | 1.นายเจ๊ะราเหม เหมโคกน้อยง 2.นางบุญยา พิทักษ์จินดา 3. นางสุคน ปราบจิตร |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลควนโพธิ์ อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 466 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 845 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มวัยทำงาน | 3832 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 893 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด | 0.15 | ||
2 | อัตราการพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกต่อแสนประชากร ปี 2567 | 150.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขของไทยในปัจจุบัน ใในปี 2567 พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในจังหวัดสตูลแล้ว จำนวนรายเฉพาะในเขตตำบลควนโพธิ์ โดยเฉพาะในปี 2567 พบผู้ป่วยแล้วจำนวน 9 รายและพบมากที่สุดในเดือนพฤษภาคม 2567โดยกลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือ อายุ 10-14 ปี อาชีพที่พบสูงสุดคือ เด็กในปกครองและนักเรียน การพิจารณาตามหลักระบาดวิทยา หากไม่มีการควบคุมโรคที่ทันเวลาแล้ว โรคไข้เลือดออกจะมีแนวโน้มระบาดหนักใน ปี 2567
จากปัญหาที่มีมาอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหาจากการตั้งรับสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออกเกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม การดำเนินงานจึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรค โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญ และถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกันกระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลควนโพธิ์ ซึ่งมีหน่าที่โดยตรงในการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อในท้องถิ่นจึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 2567 ขึ้น เพื่อควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ ครอบคลุมไปถึงโรงเรียน สถาบันการศึกษาในเขตเทศบาล และดำเนินการป้องกันอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อลดอัตราปป่วยและอัตราตายด้วยโรคไข้เลืือดออกในพื้นที่ตำบลควนโพธิ์ โรคไข้เลือดออกลดลงจนไม่เป็นปัฐหาสุขภาพของพื้นที่ |
1.00 | 1.00 |
2 | เพื่อสร้างกลไกการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนในพื้นที่ เกิดการบูรณาการงานควบคุมป้องกันโรคของประชาชนในพื้นที่ที่มีประสิทธิภาพ |
1.00 | 1.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 67,050.00 | 0 | 0.00 | |
1 มิ.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 | พ่นสารเคมีในชุมชน | 0 | 9,600.00 | - | ||
3 - 14 มิ.ย. 67 | จัดหาวัสดุการแพทย์และวัสดุเพื่อการควบคุมห้องกันโรค | 0 | 57,450.00 | - | ||
24 - 28 มิ.ย. 67 | ประชุมให้ความรู้ อสม. ผู้นำศาสนา เรื่องการควบคุมโรคไข้เลือดออก | 0 | 0.00 | - |
โรคไข้เลือดออกลดลง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2567 00:00 น.