กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


โครงการ
“ โครงการคนคูหาใต้ฟันดี เหงือกแข็งแรง ”
ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา



หัวหน้าโครงการ
นายนคร กาเหย็ม




ชื่อโครงการ โครงการคนคูหาใต้ฟันดี เหงือกแข็งแรง

ที่อยู่ ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 67-L8402-1-17 เลขที่ข้อตกลง 17/2567

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567

กิตติกรรมประกาศ

"โครงการคนคูหาใต้ฟันดี เหงือกแข็งแรง จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคูหาใต้ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการคนคูหาใต้ฟันดี เหงือกแข็งแรง



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการคนคูหาใต้ฟันดี เหงือกแข็งแรง " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ 67-L8402-1-17 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 เมษายน 2567 - 30 กันยายน 2567 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 53,315.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคูหาใต้ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

จากผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพปีงบประมาณ 2566 ของจังหวัดสงขลา พบว่าเด็กอายุ 3 ปี ในอำเภอรัตภูมิ มีอัตราการเกิดโรคฟันผุร้อยละ 26.32 ในขณะที่เด็กกลุ่มอายุ 12 ปี มีฟันผุคิดเป็นร้อยละ 18.75  ซึ่งจะเห็นได้ว่าปัญหาโรคฟันผุในทั้ง 2 กลุ่มอายุ ยังเป็นปัญหาที่ต้องดูแลอย่างต่อเนื่อง เพราะโรคฟันผุทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคต่างๆ เช่น เชื้อแบคทีเรียจากฟันผุทำให้ความสามารถในการควบคุมระดับน้ำตาลลดลง ทำให้เป็นโรคเบาหวานได้,เชื้อแบคทีเรียกระจายไปตามหลอดเลือดเป็นผลให้เลือดไหลเวียนเข้าหัวใจได้น้อยเสี่ยงทำให้เกิดโรคหัวใจ,เชื้อแบคทีเรียเข้าไปปนกับน้ำลายและไหลเข้าสู่ปอดเกิดอาการปวดติดเชื้อ,การระคายเคืองของเนื้อเยื่อบุช่องปากที่เกิดซ้ำส่งผลให้เนื้อเยื่อเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์มะเร็งได้ โรคฟันผุอันตรายกว่าที่คิดการรักษาความสะอาดช่องปากจึงเป็นสิ่งสำคัญเมื่อมีอาการแล้วควรรีบรักษาเพื่อสุขภาพที่ดี จึงต้องอาศัยการช่วยเหลือดูแลสุขภาพช่องปากจากบุคคลที่เกี่ยวข้องหลายๆ กลุ่มอายุ ซึ่งในแต่ละกลุ่มอายุ ก็ยังมีพฤติกรรมในการดูแลทันตสุขภาพที่ไม่เหมาะสมเช่นกัน การแก้ไขปัญหาจึงต้องอาศัยความร่วมมือจาก พ่อ แม่ ครูผู้ปกครอง และผู้สูงอายุที่ดูแลบุตรหลาน โดยจะต้องมีความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมที่ดีทางทันตสุขภาพ ตั้งแต่มารดาตั้งครรภ์ การเลี้ยงดูบุตร ตลอดจนครูพี่เลี้ยงเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และครูประจำชั้น ในระดับประถมศึกษา นอกจากนี้ยังมีกลุ่มผู้ป่วยโรคสำคัญได้แก่โรคเบาหวานและกลุ่มผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคในช่องปากและจำเป็นต้องได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างเหมาะสมอีกด้วย   งานทันตสาธารณสุข เครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอรัตภูมิ  จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากตามกลุ่มอายุต่างๆ ของเครือข่ายอำเภอรัตภูมิขึ้น เพี่อลดการเกิดโรคฟันผุ ส่งเสริมทันตสุขภาพ ในกลุ่มอายุต่างๆ และช่วยให้ผู้ปกครอง ,ครูพี่เลี้ยงเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ,ครูในโรงเรียนประถมศึกษา ,ผู้ป่วยเบาหวาน, อาสาสมัครสาธารณสุข ,ผู้สูงอายุ ฯลฯ ได้มีความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมที่เหมาะสมในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดี ทั้งของตนเองและครอบครัว อันจะส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายสำคัญคือกลุ่มเด็กเล็กได้รับการใส่ใจดูแลสุขภาพช่องปากอย่างเหมาะสม นำไปสู่การแก้ปัญหาทันตสุขภาพอย่างยั่งยืนต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากได้อย่างเหมาะสม
  2. เพื่อให้เด็ก 0-3 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากพร้อมทาฟลูออไรด์วานิช
  3. เพื่อให้มีการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากในกลุ่มอายุต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
  4. เพื่อให้ผู้ป่วยติดบ้าน/ติดเตียงได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและฝึกสาธิตการทำความสะอาดช่องปากแก่ผู้ดูแล

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 91
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 143
    กลุ่มวัยทำงาน 83
    กลุ่มผู้สูงอายุ 918
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 20
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 21
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 91
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1. ระบบการบริการสุขภาพช่องปาก ทั้งด้านสร้างเสริม ป้องกัน รักษา ฟื้นฟู ได้รับการพัฒนาและร่วมบูรณาการอย่างเป็นองค์รวม
    2. ประชาชนทุกกลุ่มวัยเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปากเพิ่มขึ้น
    3. การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายและพื้นที่ในการแก้ปัญหาสุขภาพช่องปาก
    4. ปัญหาสุขภาพช่องปากในพื้นที่ลดลง

    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

    ประชุมชี้แจงโครงการคนคูหาใต้ฟันดีเหงือกแข็งแรง แก่เครือข่ายสุขภาพโดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งมะขาม โดยเจ้าหน้าที่ รพ.สต.บ้านทุ่งมะขาม ทั้งหาแนวทางการดำเนินการในชุมชน รณรงค์ประชาสัมพันธ์ทางเสียงตามสายผ่านจอกระจายข่าวของชุมชน ให้ได้รับความรู้ด้านการดูแลสุขภาพช่องปากตามกลุ่มวัย หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและส่งต่อทางทันตกรรมตามความเหมาะสม ประสาน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/อนุบาล ในเขตรับผิดชอบ เพื่อติดต่อเข้าทำกิจกรรมทางทันตกรรมสำหรับเด็กในศูนย์ทุกราย และสาธิตการแปรงฟันที่ถูกต้อง โดยเด็ก 0 - 9 ปี ได้รับการตรวจช่องปากพร้อมทาฟลูออไรด์ทุกราย เด็ก 0 -5 ปี ฝึกสาธิตการทำความสะอาดช่องปากที่ถูกต้อง และได้รับการตรวจช่องปากพร้อมทาฟลูออไรด์ทุกราย ประสานงานกับทางโรงเรียนในเขตรับผิดชอบและครูอนามัยวางแผนการดำเนินกิจกรรมโรงเรียนเพื่อขออนุญาตผู้ปกครอง ในการดำเนินการตามแผนปฏิบัติงานโดยให้บริการตรวจฟันในนักเรียน ชั้นอนุบาล - ป.6 เคลือบหลุมร่องฟันในเด็กชั้น ป.1 - ป.6 และบริการทันตกรรมด้านการอุดฟัน การขูดหินปูน และการถอนฟันในนักเรียนอายุ 6 -12 ปี ให้ความรู้เกี่ยวกับทันตสุขศึกษา สอนแปรงฟันและฝึกปฏิบัติในคาบวิชาเรียนสุขศึกษา ติดตามการดำเนินงานทันตสุขภาพในโรงเรียน และกระตุ้นการแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง ทั้งนัดหมายให้เด็กนักเรียนมารับบริการที่ รพ.สต.หรือโรงพยาบาลตามความเหมาะสม ติดตามและประเมินสุขภาพช่องปากอย่างต่อเนื่อง สรุปผลโครงการ     จากการดำเนินการ เด็กอายุนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก จำนวน 105 ราย คิดเป็นร้อยละ 100 เด็กนักเรียนประถมศึกษา ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากจำนวน 123 ราย คิดเป็นร้อยละ 86.01 หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก จำนวน 17 ราย คิดเป็นร้อยละ 85 และผู้ป่วยโรคเบาหวานได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก จำนวน 245 ราย คิดเป็นร้อยละ 80.59 ผู้สูงอายุ ได้รับการตรวจฟัน 533 ราย คิดเป็นร้อยละ 68.86 ผู้สูงอายุ ติดบ้าน ติดเตียง ได้รับการตรวจฟัน 10 ราย คิดเป็นร้อยละ 47.61

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากได้อย่างเหมาะสม
    ตัวชี้วัด : ประชาชนในกลุ่มวัยต่างๆ ในพื้นที่ได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างเหมาะสม
    80.00 80.00

    ประชาชนในกลุ่มวัยต่างๆ ในพื้นที่ได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างเหมาะสม

    2 เพื่อให้เด็ก 0-3 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากพร้อมทาฟลูออไรด์วานิช
    ตัวชี้วัด : หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ ได้รับการ ฝึกทักษะการแปรงฟันและควบคุม แผ่นคราบจุลินทรีย์
    70.00 70.00

    หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ ได้รับการ ฝึกทักษะการแปรงฟันและควบคุม แผ่นคราบจุลินทรีย์

    3 เพื่อให้มีการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากในกลุ่มอายุต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
    ตัวชี้วัด : ผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบได้รับ การตรวจสุขภาพช่องปากและการ ส่งเสริมสุขภาพช่องปาก
    80.00 80.00

    ผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบได้รับ การตรวจสุขภาพช่องปากและการ ส่งเสริมสุขภาพช่องปาก

    4 เพื่อให้ผู้ป่วยติดบ้าน/ติดเตียงได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและฝึกสาธิตการทำความสะอาดช่องปากแก่ผู้ดูแล
    ตัวชี้วัด : ผู้ป่วยติดบ้าน/ติดเตียงได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและฝึกสาธิตการแปรงฟัน
    100.00 100.00

    ผู้ป่วยติดบ้าน/ติดเตียงได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและฝึกสาธิตการแปรงฟัน

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 1367 788
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 91 105
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 143 123
    กลุ่มวัยทำงาน 83
    กลุ่มผู้สูงอายุ 918 533
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 20 17
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 21 10
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 91
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากได้อย่างเหมาะสม (2) เพื่อให้เด็ก 0-3 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากพร้อมทาฟลูออไรด์วานิช (3) เพื่อให้มีการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากในกลุ่มอายุต่างๆ อย่างต่อเนื่อง (4) เพื่อให้ผู้ป่วยติดบ้าน/ติดเตียงได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและฝึกสาธิตการทำความสะอาดช่องปากแก่ผู้ดูแล

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    โครงการคนคูหาใต้ฟันดี เหงือกแข็งแรง จังหวัด สงขลา

    รหัสโครงการ 67-L8402-1-17

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นายนคร กาเหย็ม )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด