กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


โครงการ
“ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช รพ.สต.บ้านทุ่งมะขาม ประจำปี 2567 ”
ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา



หัวหน้าโครงการ
นายนคร กาเหย็ม




ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช รพ.สต.บ้านทุ่งมะขาม ประจำปี 2567

ที่อยู่ ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 67-L8402-1-20 เลขที่ข้อตกลง 20/2567

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567

กิตติกรรมประกาศ

"โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช รพ.สต.บ้านทุ่งมะขาม ประจำปี 2567 จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคูหาใต้ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช รพ.สต.บ้านทุ่งมะขาม ประจำปี 2567



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช รพ.สต.บ้านทุ่งมะขาม ประจำปี 2567 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ 67-L8402-1-20 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 เมษายน 2567 - 30 กันยายน 2567 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 33,482.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคูหาใต้ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ประชากรไทยมีอาชีพพื้นฐานอยู่ในภาคเกษตรกรรม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานนอกระบบผู้มีรายได้น้อยแต่ทำงานที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ จากสภาพภูมิอากาศที่ร้อนจัด ท่าทางการทำงานที่มีความเสี่ยงต่อการปวดหลังและกล้ามเนื้ออักเสบ รวมทั้งการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพมีพิษทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง ตั้งแต่ระดับเล็กน้อย จนรุนแรงถึงแก่ชีวิต ขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้น ความเป็นพิษ และปริมาณที่ได้รับ สารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง โดยการสัมผัสทางผิวหนังที่ไม่สวมถุงมือและรองเท้าบูทป้องกันขณะทำงานกับสารเคมี การสูดหายใจละอองที่ฟุ้งกระจายในอากาศ การซื้อผักผลไม้ตามท้องตลาดมาบริโภคนั้นมีความเสี่ยงในเรื่องสารพิษตกค้าง ซึ่งหากบริโภคเป็น ประจำอาจเกิดการสะสม และส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว ทั้งในเรื่องของประสาทสัมผัส การเคลื่อนไหว บกพร่อง เกิดความผิดปกติทางกายภาพของต่อมไทรอยด์ นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าสารป้องกันกำจัดแมลงบางชนิดมี ความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็ง เช่น มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งตับอ่อน มะเร็งเต้านม และมะเร็งผิวหนัง ปัจจุบัน เรื่องของปัญหาสุขภาพของประชาชนคนไทยเพิ่มทวีขึ้น ซึ่งเป็นได้จากสถิติจำนวนของผู้ป่วยมีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ และอัตราการป่วยจากโรคที่ไม่ติดต่อเพิ่มสูงขึ้น โดยมีสาเหตุสำคัญมากจากการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ อาหารที่มีสารปนสารเคมีหรือผักที่ไม่ปลอดภัย เนื่องจากผลิตผลทางการเกษตรส่วนใหญ่ มักจะมีการใช้สารกำจัดสัตรูพืชและยังตกค้างในผลผลิต ทำให้สารเคมีที่เป็นโทษเหล่านั้นตกอยู่กับผู้บริโภคอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง แนวทางในการป้องกันปัญหาที่เป็นการแก้ที่ต้นเหตุอย่างยั่งยืน คือ การส่งเสริมการปลูกผักเพื่อบริโภคในครัวเรือน การปลูกผักรับประทานเอง เป็นต้น
      โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งมะขาม มีการดำเนินงานดูแลสุขภาพเกษตรกรมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกษตรกรและประชาชนทั่วไปมีความตระหนักถึงโอกาสเสี่ยงในการได้รับอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและการป้องกันตนเอง จากการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมา ซึ่งได้มีการตรวจคัดกรองความเสี่ยงเกษตรกรและประชาชน โดยการเจาะเลือดหาระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส จำนวน 50 คน ผลเลือดปกติ จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 4.00 ปลอดภัย จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 24.00 มีความเสี่ยง จำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 48.00 และไม่ปลอดภัย จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 24.00 จากกลุ่มเป้าหมายในการตรวจคัดกรองหาสารเคมีในเลือด มีความเสี่ยงจำนวน 24 คน และไม่ปลอดภัย จำนวน 12 คน ผลจากการศึกษา เข้ารับการขับสารพิษโดยรางจืด ติดต่อกันเป็นเวลาไม่เกิน 5 วัน เพื่อทำการเจาะเลือดซ้ำในครั้งที่ 2 ผลปรากฏว่า การขับสารพิษด้วยรางจืด สามารถลดระดับที่เอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือด ปลอดภัย ร้อยละ 59.65 ส่วนหลังดำเนินการปลอดภัยร้อยละ 68.42 เพิ่มขึ้น (วารสารวิชาการสํานักงานปองกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี,2566) ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งมะขาม จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชกลุ่มประชาชนทั่วไป โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งมะขาม ประจำปี 256๗ นี้ขึ้น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้กลุ่มประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองระดับโคลีนเอสเตอเรสในเลือด
  2. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้และทักษะในการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
    กลุ่มวัยทำงาน 100
    กลุ่มผู้สูงอายุ
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    ๑. เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองระดับโคลีนเอสเตอเรสในเลือด     ๒. เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงมีความรู้และทักษะในการป้องกันตนเองจากใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

    ส่งหนังสือเชิญประชุมคณะกรรมการพัฒนา รพ.สต.บ้านทุ่งมะขาม รวมทั้ง อสม. รพ.สต. และแกนนำชุมชนเพื่อชี้แจงปัญหา พร้อมจัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมายเพื่อดำเนินกิจกรรมตรวจคัดกรองระดับโคลีนเอสเตอเรสในเลือด โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปทั้งหมดในเขตพื้นที่รับผิดชอบ 5 หมู่ โดยแบ่งหมู่ละ 20 คน ผลการดำเนินงาน กลุ่มเป้าหมายประชาชนทั่วไปเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 100 คน คิดเป็นร้อยละ 100 พบว่า ผลระดับสารเคมีในเลือดปกติ 20 คน คิดเป็นร้อยละ 20 ผลระดับสารเคมีมีความเสี่ยง จำนวน 68 คน คิดเป็นร้อยละ 68 และผลระดับสารเคมีไม่ปลอดภัย จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 12 โดยในกลุ่มระดับสารเคมีมีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัย ได้แนะนำให้ใช้สมุนไพรรางจืด เป็นเวลา 1 เดือน ในการล้างพิษสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด พร้อมจัดอบรมประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มีสารเคมีในเลือดอยู่ในระดับเสี่ยงไม่ปลอดภัย จำนวน 80 คน เข้าร่วมโครงการ มีกิจกรรมตรวจคัดกรองสารเคมีในเลือด ให้ความรู้เรื่องการใช้สารเคมีและเฝ้าระวังการปนเปื้อนสารเคมี สาธิตการล้างผักให้ปลอดภัยจากสารเคมีและให้ความรู้เรื่องการใช้สมุนไพรรางจืดในการลดสารเคมี วิทยากรโดย นางพรรณวดี พูลผล ตำแหน่ง เจ้าพนักงานสาธารณสุขชำนาญงาน   ผลการดำเนินโครงการในกลุ่มเด็กนักเรียน เข้าร่วมทั้งหมด 50 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ผลการคัดกรองระดับโคลีนเอสเตอเรส พบว่า ผลระดับสารเคมีในเลือดปกติ 38 คน คิดเป็นร้อยละ 20 ผลระดับสารเคมีมีความเสี่ยง จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 5 และผลระดับสารเคมีไม่ปลอดภัย จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 1 โดยในกลุ่มเด็กนักเรียนที่มีระดับสารเคมี มีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัย ให้ความรู้เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงจากการใช้สารเคมีและเฝ้าระวังการปนเปื้อนสารเคมีพร้อมสาธิตการล้างผักให้ปลอดภัยจากสารเคมี

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อให้กลุ่มประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองระดับโคลีนเอสเตอเรสในเลือด
    ตัวชี้วัด : 1. ร้อยละ 90 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจหาระดับ โคลีนเอสเตอเรสในเลือด ๒.ร้อยละ 100 ของกลุ่มเสี่ยงและไม่ปลอดภัย ได้รับการเฝ้าระวังติดตามอย่างต่อเนื่อง
    90.00 90.00
    1. ร้อยละ 90 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจหาระดับ โคลีนเอสเตอเรสในเลือด ๒.ร้อยละ 100 ของกลุ่มเสี่ยงและไม่ปลอดภัย ได้รับการเฝ้าระวังติดตามอย่างต่อเนื่อง
    2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้และทักษะในการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
    ตัวชี้วัด : กลุ่มเป้าหมายในกลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมการอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้นและสามารถป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
    80.00 80.00

    กลุ่มเป้าหมายในกลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมการอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้นและสามารถป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 150 150
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 50
    กลุ่มวัยทำงาน 100 100
    กลุ่มผู้สูงอายุ -
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้กลุ่มประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองระดับโคลีนเอสเตอเรสในเลือด (2) เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้และทักษะในการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช รพ.สต.บ้านทุ่งมะขาม ประจำปี 2567 จังหวัด สงขลา

    รหัสโครงการ 67-L8402-1-20

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นายนคร กาเหย็ม )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด