โครงการส่งเสริมแกนนำสุขภาพแก่ผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน เพื่อหมู่บ้านสุขภาวะอย่างยั่งยืน ( อีหม่ามซีฮัตมะมูมซีฮัต )
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมแกนนำสุขภาพแก่ผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน เพื่อหมู่บ้านสุขภาวะอย่างยั่งยืน ( อีหม่ามซีฮัตมะมูมซีฮัต ) |
รหัสโครงการ | 67-L2479-19-02 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กลุ่มอีหม่านซีฮัตมะมูมซีฮัต |
วันที่อนุมัติ | 1 มิถุนายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 10 กรกฎาคม 2567 - 30 กันยายน 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2567 |
งบประมาณ | 24,750.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายอาฮามัด อาเเวบือซา |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางซูไวบ๊ะห์ สมานธรรมกุล |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบูกิต อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 15 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 45 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การสร้างสุขภาพ ถือเป็นกลยุทธ์ทางสุขภาพที่กำลังได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าจะช่วยกระตุ้นและส่งเสริมให้บุคคลเกิดพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพมากยิ่งขึ้นซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพของบุคคลช่วยลดอัตราป่วยด้วยโรคต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพเช่นโรคหัวใจและหลอดเลือดโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคเครียดและโรคมะเร็งพบอุบัติการณ์ของโรคเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดกระบวนการสร้างสุขภาพไม่เพียงแต่จะเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการให้การศึกษาด้านสุขภาพเท่านั้นแต่ยังเกี่ยวข้องกับการสนับสนุนด้านสิ่งแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดผลในทางปฏิบัติและสภาพการณ์ของการดำรงชีวิตที่สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรมบรรทัดฐานทางสังคมสิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจซึ่งก็คือวิถีการดำเนินชีวิตนอกจากนี้แนวโน้มการเจ็บป่วยและปัญหาสุขภาพของประชาชนก็มีความซับซ้อนมากขึ้นดังนั้นการแก้ไขด้วยวิธีคิด วิธีการและองค์ความรู้เดิมจึงไม่เพียงพอถึงเวลาที่ทุกภาคส่วนของสังคมต้องมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบด้วยการสร้างสุขภาพและด้วยภูมิปัญญาของชุมชนทั้งสังคมโดยการเน้นให้ประชาชนมีพฤติกรรมการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องบริโภคอาหารที่สุกสะอาดปลอดภัยไม่เป็นโรคหลักสำคัญในการดูแลสุขภาพเพื่อก้าวสู่การมีสุขภาพดี คือการให้ความรู้ทางด้านโภชนาการอาหาร การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ การดูแลสุขภาพจิตและลดพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ จะช่วยป้องกันโรคที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคให้ถูกชนิด ปริมาณ และถูกเวลา ควรเลือกกินอาหารให้ครบ 5หมู่ให้หลากหลายและพอเพียงงดอาหารหวาน มัน เค็ม ดุแลน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่พอเหมาะ ควบคู่ไปกับการออกกำลังกายสม่ำเสมอ ดังนั้นชมรมอีหม่ามซีฮัตมะมูมซีฮัตร่วมกับ กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบูกิต จึงได้จัดโครงการส่งเสริมแกนนำสุขภาพแก่ผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน เพื่อหมู่บ้านสุขภาวะอย่างยั่งยืนขึ้น เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านการดูแลสุขภาพให้แกนนำในชุมชนและได้พบปะ พูดคุยแลกเปลี่ยนปัญหาด้านสุขภาพที่พบในชุมชนหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกันอีกทั้งส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนมีศักยภาพและมีส่วนร่วมจัดการด้านสุขภาพ ที่ดีได้ต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อให้คณะกรรมการมัสยิดและผู้นำชุมชน มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง ครอบครัว และชุมชน 2.เพื่อให้คณะกรรมการมัสยิดและผู้นำชุมชน มีทักษะ เจตคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาวะและสุขอนามัยของตนเองและครอบครัว 3.เพื่อให้คณะกรรมการมัสยิดและผู้นำชุมชน สามารถเป็นแกนนำ ในการวิเคราะห์และหาแนวทางแก้ไขของปัญหาในพื้นที่เองได้ 4. เพื่อให้เกิดความร่วมมือของผู้นำชุมชน คณะกรรมการมัสยิด และ ชุมชน ในการร่วมมือ ร่วมใจ กับการจัดการปัญหาในพื้นที่ของตนเองได้ 1.คณะกรรมการมัสยิดและผู้นำชุมชน มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาวะของตนเอง ครอบครัว และชุมชน 2.คณะกรรมการมัสยิดและผู้นำชุมชน มีทักษะ เจตคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาวะของตนเอง ครอบครัว และชุมชน 3. คณะกรรมการมัสยิดและผู้นำชุมชน สามารถเป็นแกนนำ ในการวิเคราะห์และหาแนวทางแก้ไขของปัญหาในพื้นที่ของตนเองได้ 4. เกิดความร่วมมือของผู้นำชุมชน คณะกรรมการมัสยิด และ ชุมชน ในการร่วมมือ ร่วมใจ กับการจัดการปัญหาในพื้นที่ของตนเองได้ 5.คณะกรรมการมัสยิดและผู้นำชุมชน เป็นแบบอย่างที่ดีในด้านการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง ครอบครัว และชุมชน |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 24,750.00 | 0 | 0.00 | |
1 ก.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 | ประชุมชี้แจงให้ความรู้ความเข้าใจแก่บุคลากร ประชาสัมพันธ์ประชาชนในพื้นที่ บรรยายให้ความรู้ | 0 | 18,750.00 | - | ||
1 ส.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 | จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ( การวิเคราะห์และหาแนวทางแก้ไขของปัญหาในพื้นที่ ) จำนวน 4 ครั้ง | 0 | 6,000.00 | - |
1.คณะกรรมการมัสยิดและผู้นำชุมชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาวะของตนเอง ครอบครัว และชุมชน 2.คณะกรรมการมัสยิดและผู้นำชุมชนมีทักษะ เจตคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาวะของตนเอง ครอบครัว และชุมชน 3. คณะกรรมการมัสยิดและผู้นำชุมชน สามารถเป็นแกนนำ ในการวิเคราะห์และหาแนวทางแก้ไขของปัญหาในพื้นที่ของตนเองได้ 4. เกิดความร่วมมือของผู้นำชุมชน คณะกรรมการมัสยิด และ ชุมชน ในการร่วมมือ ร่วมใจ กับการจัดการปัญหาในพื้นที่ของตนเองได้ 5.คณะกรรมการมัสยิดและผู้นำชุมชน เป็นแบบอย่างที่ดีในด้านการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเองครอบครัวและชุมชน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2567 10:17 น.