กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


โครงการ
“ โครงการผักปลอดสารพิษเพื่อการบริโภคที่ปลอดภัย ”
ตำบลสะพานไม้แก่น อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา



หัวหน้าโครงการ
นายอ่ำ บุญเรืองรุ่ง




ชื่อโครงการ โครงการผักปลอดสารพิษเพื่อการบริโภคที่ปลอดภัย

ที่อยู่ ตำบลสะพานไม้แก่น อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 67-L5187-02-01 เลขที่ข้อตกลง 1/2567

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 ตุลาคม 2567

กิตติกรรมประกาศ

"โครงการผักปลอดสารพิษเพื่อการบริโภคที่ปลอดภัย จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลสะพานไม้แก่น อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สะพานไม้แก่น ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการผักปลอดสารพิษเพื่อการบริโภคที่ปลอดภัย



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการผักปลอดสารพิษเพื่อการบริโภคที่ปลอดภัย " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลสะพานไม้แก่น อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ 67-L5187-02-01 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 พฤษภาคม 2567 - 31 ตุลาคม 2567 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 16,650.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สะพานไม้แก่น เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

สุขภาพคนเราเสื่อมไปตามวัย การเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมต่อสุขภาพเป็นเรื่องที่จำเป็น โดยเฉพาะผู้สูงวัยซึ่งเป็นวัยที่ต้องการพลังงาน และสารอาหารแตกต่างจากวัยทำงาน หรือผู้ที่สุขภาพร่างกายปกติ เนื่องจากประสิทธิภาพการทำงานที่ลดลงของระบบต่างๆ การกินอาหารที่ดีหลากหลายและในสัดส่วนที่เหมาะสมตามวัย มีความสำคัญที่จะช่วยให้ผู้สูงอายุ ดำเนินชีวิตที่เหลืออย่างมีพลัง หรือสูงวัยแบบกระฉับ กระเฉง ผักและผลไม้เป็นหนึ่งในกลุ่มอาหารที่กรมอนามัย แนะนำให้ประชากรไทยทุกกลุ่มวัยกินให้เพียงพอในแต่ละวัน เพื่อช่วยป้องกันความเสี่ยงของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคไม่ติดต่อเรื่อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง บางชนิด   ชมรมผู้สูงอายุตำบลสะพานไม้แก่น ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิก จำนวน 182 คน ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่มีโรคประจำตัว อาทิเช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน ทางชมรมจึงได้ระดมความคิด ต้องการที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค โดยหันมาบริโภคผักที่ปลอดสารพิษด้วยตนเอง แทนการซื้อผักจากตลาดที่จะแฝงมาด้วยสารพิษต่างๆ จึงได้จัดทำโครงการผักปลอดสารพิษเพื่อการบริโภคที่ปลอดภัย ขึ้น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อเพิ่มจำนวนผู้สูงอายุได้บริโภคผักสวนครัว

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมการประชุมสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ เพื่อชี้แจงที่มาของโครงการ วัตถุประสงค์ และกิจกรรมที่ต้องดำเนินการ /รับสมัครสมาชิกชมรมที่ต้องการเข้าร่วมโครงการ
  2. กิจกรรมการอบรมส่งเสริมความรู้การปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อบริโภคที่ปลอดภัย
  3. กิจกรรมส่งเสริมการปลูกผักเพื่อการบริโภคที่ปลอดภัย
  4. กิจกรรมการประชุมสรุปผลการดำเนินงาน

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 80
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการได้มีการปลูก และการบริโภคพืชผักที่ปลอดสารพิษมากยิ่งขึ้น


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมการประชุมสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ เพื่อชี้แจงที่มาของโครงการ วัตถุประสงค์ และกิจกรรมที่ต้องดำเนินการ /รับสมัครสมาชิกชมรมที่ต้องการเข้าร่วมโครงการ

วันที่ 10 พฤษภาคม 2567 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

การประชุมสมาชิกชมรมผู้สูงอายุเพื่อชี้แจงที่มา วัตถุประสงค์ของโครงการ กิจกรรมที่ต้องดำเนินงาน/รับสมัครสมาชิกที่ต้องการเข้าร่วมโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุเข้าร่วมประชุม จำนวน 21 คน แต่ละคนได้รับมอบหมายงานที่ต้องดำเนินงาน เช่น จัดหาเมล็ดพันธ์ุ จัดซื้อปุ๋ย เป็นต้น 2. คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุได้แจ้งแก่สมาชิกและมีสมาชิกเข้าร่วม 80 คน 3. สมาชิกที่สมัครเข้าร่วมแต่ละคนแจ้งชื่อเมล็ดพันธ์ผักที่ตนต้องการ จำนวน 3 ชนิด เพื่อจัดหาให้ตรงกับความต้องการ

 

15 0

2. กิจกรรมการอบรมส่งเสริมความรู้การปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อบริโภคที่ปลอดภัย

วันที่ 20 มิถุนายน 2567 เวลา 13:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

การอบรมส่งเสริมความรู้การปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อบริโภคที่ปลอดภัยแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2567 ชมรมผู้สูงอายุตำบลสะพานไม้แก่น ได้ดำเนินการจัดอบรมส่งเสริมความรู้การปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อบริโภคที่ปลอดภัยแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ โดยเรียนเชิญ นายกิตประพันธ์  เย็นใจ  เกษตรอำเภอจะนะประจำตำบลสะพานไม้แก่น เป็นวิทยากร ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะพานไม้แก่น  มีผู้เข้่ารวมกิจกรรมทั้งสิ้น จำนวน 80 คน  ซึ่งสมาชิกได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับวิทยากรและสมาชิกด้วยกันในเรื่องการเตรียมการปลูกศัตรูพืชและวงจรชีวิตของพืช

 

80 0

3. กิจกรรมส่งเสริมการปลูกผักเพื่อการบริโภคที่ปลอดภัย

วันที่ 21 มิถุนายน 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมส่งเสริมการปลูกผักเพื่อการบริโภคที่ปลอดภัย แก่สมาชิกชมรมผู้สูงอายุตำบลสะพานไม้แก่น

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 80 คน รับเมล็ดพันธ์ผักที่เลือกไว้คนละ 3 ชนิด  และมูลวัว แกลบดำ 1 กระสอบ โดยสมาชิกได้ดำเนินการปลูกผักที่ได้รับไป  โดยใช้การปลูกแบบปราศจากการใช้สารเคมี

 

80 0

4. กิจกรรมการประชุมสรุปผลการดำเนินงาน

วันที่ 10 ตุลาคม 2567 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

การประชุมสรุปผลการดำเนินงานโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2567 สมาชิกชมรมผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโดรงการ ร่วมกันทบทวนกระบวนงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตลอดจนตอบแบบสอบถามเพื่อประโยชน์ในการสรุปโครงการ  ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะพานไม้แก่น

 

15 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

ร้อยละ 85 ของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการมีพฤติกรรมบริโภคผักปลอดสารพิษที่ปลูกด้วยตนเอง จึงทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 80 คน โดยใช้แบบสอบถาม และข้อมูลเชิงคุณภาพจากผลสรุปของการประชุมประจำเดือนตุลาคม 2567 ซึ่งมีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 52 คน คิดเป็นร้อยละ 65 ของผู้เข้าร่วมโครงการ จากการวิเคราะห์ปรากฏผล ดังนี้ ร้อยละ 85.21 ของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้ทำการปลูกผักปลอดสารเคมี และบริโภคผักที่ปลูก ในจำนวนนี้ ร้อยละ 8.69 ของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้นำผักไปแจก-จำหน่าย ร้อยละ 11.39 ของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้ทำการปลูกผัก แต่ประสบปัญหาต่างๆ เช่น ปัญหาเกี่ยวกับโรคพืช ไม่มีโรงเรือนป้องกันน้ำผน และร้อยละ 3.40 ของผู้ตอบแบบสอบถาม ที่ไม่ได้ทำการปลูกผักตามโครงการ ด้วยปัญหาต่างๆ

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อเพิ่มจำนวนผู้สูงอายุได้บริโภคผักสวนครัว
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 85 ของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการ มีพฤติกรรมการบริโภคผักสวนครัวมากขึ้น
85.00 85.21

ได้ทำการปลูกผักปลอดสารเคมีและบริโภคผักที่ปลูกเอง

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 80 80
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ 80 80
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อเพิ่มจำนวนผู้สูงอายุได้บริโภคผักสวนครัว

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมการประชุมสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ เพื่อชี้แจงที่มาของโครงการ วัตถุประสงค์ และกิจกรรมที่ต้องดำเนินการ /รับสมัครสมาชิกชมรมที่ต้องการเข้าร่วมโครงการ (2) กิจกรรมการอบรมส่งเสริมความรู้การปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อบริโภคที่ปลอดภัย (3) กิจกรรมส่งเสริมการปลูกผักเพื่อการบริโภคที่ปลอดภัย (4) กิจกรรมการประชุมสรุปผลการดำเนินงาน

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการผักปลอดสารพิษเพื่อการบริโภคที่ปลอดภัย จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 67-L5187-02-01

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายอ่ำ บุญเรืองรุ่ง )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด