กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเด็กประถมโรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าวใส่ใจสุขภาพ
รหัสโครงการ 67-L5313-02-004
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าว
วันที่อนุมัติ 30 พฤษภาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 10 มิถุนายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 38,270.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวจุรีย์ ปิริยะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.842,99.826place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 38,270.00
รวมงบประมาณ 38,270.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 121 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กเป็นทรัพยากรที่สำคัญของประเทศ การที่จะพัฒนาประเทศให้มีความเจริญยั่งยืนจำเป็นต้องพัฒนาเด็กให้มีความพร้อมในทุก ๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านสุขภาพช่องปากและฟัน ภาวะทุพโภชนาการ การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้กับเด็กอย่างเหมาะสม การส่งเสริมสุขภาพเด็กไทยให้เติบโตได้อย่างมีคุณภาพ ควรเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ โดยอาศัยครอบครัว โรงเรียน ชุมชนและองค์กรในท้องถิ่นร่วมมือกันในการสร้างวินัยเชิงบวกด้านสุขภาพ รวมถึงปลูกฝังให้เด็กเห็นความสำคัญของสุขภาพ ให้เด็กเข้าถึง เข้าใจข้อมูลสุขภาพที่ถูกต้อง และสามารถตัดสินใจดูแลสุขภาพตนเองให้ได้อย่างเหมาะสม นำไปสู่การมีพัฒนาการทางด้านร่างกาย สติปัญญา และจิตใจ ที่สมบูรณ์แข็งแรง มีความพร้อมในการเรียนรู้ ส่งผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา และสามารถใช้ชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข   โรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าว เปิดสอนตั้งแต่ระดับปฐมวัย  ถึง ระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ตั้งอยู่หมู่ที่ 11 ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล ในปีการศึกษา 2566 มีนักเรียนจำนวนทั้งสิ้น 157 คน เป็นนักเรียนผู้ชาย จำนวน 75 คน นักเรียนผู้หญิง 82 คน มีผู้บริหาร คณะครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งสิ้นจำนวน 16 คน แบ่งเป็นข้าราชการครู 9 คน พนังงานราชการ 2 คน ครูบุคลากรวิทยาศาสตร์ 1 คน พี่เลี้ยงเด็กพิการ 1 คน ธุรการโรงเรียน 1 คน นักการภารโรง 1 คน และปัจจุบันมีนายเอกวิทย์ สาโส๊ะ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าว   จากข้อมูลด้านสุขภาพและอนามัยของโรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าว ประจำปีการศึกษา 2566 พบว่าปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขมีด้วยกัน 3 ด้าน คือ 1. ด้านสุขภาพช่องปากและฟัน 2. ด้านภาวะทุพโภชนาการ 3. ด้านการออกกำลังกาย ซึ่งในด้านสุขภาพช่องปากและฟันของนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 116 คน พบว่า มีปัญหาทางด้านฟันแท้ผุ ดังนี้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 8.33 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 คิดเป็นร้อยละ 0.00 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 คิดเป็นร้อยละ 26.67 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 คิดเป็นร้อยละ 25.00 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 คิดเป็นร้อยละ 52.00 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 คิดเป็นร้อยละ 38.89 (ข้อมูลจากการตรวจสุขภาพช่องปากและฟันของนักเรียนปีการศึกษา 2566 ห้องฟันโรงพยาบาลละงู) สาเหตุหลักมาจากการแปรงฟันไม่สะอาด ไม่ถูกหลักวิธีการที่ถูกต้อง นอกจากนั้นนักเรียนบางส่วนที่ผู้ปกครองดูแลสุขภาพช่องปากไม่ทั่วถึง ทำให้เมื่อรับประทานอาหารแล้วไม่ได้แปรงฟันหลังอาหารหรือก่อนนอน ส่งผลให้นักเรียนบางส่วนมีฟันแท้ผุเมื่อเทียบกับข้อมูลของทางโรงพยาบาลละงู ด้านภาวะทุพโภชนาการ โดยใช้ข้อมูลจากรายงานการเจริญเติบโตของนักเรียน พบว่า นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 มีภาวะเริ่มอ้วน+อ้วน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 16.37 ผอม 17 คน คิดเป็นร้อยละ 14.65 เตี้ย 16 คน คิดเป็นร้อยละ 13.79 สูงดีสมส่วน 64 คน คิดเป็นร้อยละ 55.17 (ข้อมูลการบันทึกผลการเจริญเติบโตปีการศึกษา 2566 จากโปรแกรม kid diary) สาเหตุหลักมาจากการบริโภคอาหารที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย รับประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ เลือกบริโภคอาหารที่ตนเองชอบเป็นส่วนใหญ่ กินอาหารเดิม ๆ ตืดต่อกันเป็นประจำ ส่งผลให้ร่างกายของเด็กอ้วน ผอม ไม่สมส่วน ด้านการออกกำลังกาย พบว่า เด็กเมื่อเวลาเรียนคาบพลศึกษาหรือพักเที่ยงจะไม่ชอบออกกำลังกาย วิ่งเล่นกับเพื่อน ๆ จึงส่งเสริมกิจกรรมทางกายควบคู่ไปด้วยกันโดยให้มีการออกกำลังกายตอนเช้า และก่อนกลับบ้านสัปดาห์ละ 3 วัน เพื่อให้ร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง สมส่วนและจัดให้นักเรียนที่มีภาวะผอมได้รับยาเสริมธาตุเหล็กที่เหมาะสม   จากข้อมูลดังกล่าว โรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าว จึงตระหนักและให้ความสำคัญของการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน ภาวะทุพโภชนาการ การออกกำลังกาย ให้กับนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จึงได้จัดทำโครงการเด็กประถมโรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าวใส่ใจสุขภาพขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาสุขภาพของเด็กในเรื่องดังกล่าว เล็งเห็นถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพของเด็กในฐานที่เป็นผู้อบรมเลี้ยงดูบุตรหลาน เด็กนำความรู้จากการอบรมมาใช้ได้อย่างเหมาะสม ถูกต้อง และถ่ายทอดความรู้ที่มีให้กับผู้อื่น เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับคนรอบข้าง สามารถพัฒนาและยกระดับคุณภาพของโรงเรียนด้านการจัดการสุขภาพให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันอย่างถูกวิธี
  • ร้อยละ 90 ของนักเรียนมีการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันอย่างถูกวิธี
  • ร้อยละ 90 ของผู้ปกครองมีความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันอย่างถูกวิธี
1.00
2 เพื่อเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการของนักเรียนที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ
  • ร้อยละ 80 ของนักเรียนที่มีความเสี่ยงทุพโภชนาการมีภาวะโภชนาการสมส่วน
1.00
3 เพื่อลดภาวะทุพโภชนาการของนักเรียน
  • ร้อยละ 80 ของนักเรียนกลุ่มเป้าหมายที่มีภาวะทุพโภชนาการที่ดีขึ้น
1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 554 38,270.00 0 0.00
1 ก.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมเฝ้าระวังติดตามนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย 121 2,750.00 -
1 - 31 ก.ค. 67 กิจกรรมฟันแข็งแรง สร้างยิ้มสวย 191 18,095.00 -
1 ส.ค. 67 กิจกรรมอาหารเพื่อสุขภาพ 121 8,625.00 -
1 ส.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมแอโรบิคเสริมสร้างสุขภาพ 121 6,625.00 -
30 ก.ย. 67 กิจกรรมติดตามผลการดำเนินงาน 0 2,175.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนมีความรู้ เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันอย่างถูกวิธี
  2. นักเรียนมีความรู้ เรื่องภาวะทุพโภชนาการ
  3. ผู้ปกครองมีความรู้ เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันอย่างถูกวิธี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 มิ.ย. 2567 16:08 น.