โครงการร่วมมือร่วมใจชวนกันไป Big cleaning ตำบลปิยามุมังปลอดโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2567
ชื่อโครงการ | โครงการร่วมมือร่วมใจชวนกันไป Big cleaning ตำบลปิยามุมังปลอดโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2567 |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลปิยามุมัง |
วันที่อนุมัติ | 12 มิถุนายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 3 มิถุนายน 2567 - 30 กันยายน 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2567 |
งบประมาณ | 12,090.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวรุสนานี เจะเลาะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลปิยามุมัง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 12,090.00 | |||||
รวมงบประมาณ | 12,090.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 60 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ยุงลายจะได้รับเชื้อไวรัสจากผู้ที่ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกและแพร่ไปสู่คนอื่นๆได้ โดยเฉพาะเด็กที่ได้รับเชื้อจะทำให้เด็กเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงมากและผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี ซึ่งจะพบการระบาดในช่วงฤดูฝน หรือช่วงเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนกันยายน ในแต่ละปีมีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกเป็นจำนวนมาก ยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะนำโรคจะออกหากินในตอนกลางวันและมักหลบซ่อนตัวในที่มืด อาศัยและวางไข่ไปทั่วในชุมชน แหล่งเพาะพันธ์ของยุงลายจะอยู่ตามโอ่งน้ำ ภาชนะกักเก็บน้ำในห้องน้ำ จานรองกระถางต้นไม้ ยางรถยนต์เก่า กระป๋อง กะลา เป็นต้น ดังนั้นหากทุกพื้นที่ไม่มีการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว การระบาดของโรคจะทวีความรุนแรงมากขึ้น จากข้อมูลสถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 30 ธันวาคม 2566 พบผู้ป่วยสะสม จำนวน 153,734 ราย (รายงานเพิ่มขึ้น 2,926 ราย) อัตราป่วย 232.47 ต่อประชากรแสนคน ผู้ป่วยสูงกว่าปีที่ผ่านมา 3.4 เท่า จังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงในช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา 5 อันดับแรก คือ จังหวัดตราด, จังหวัดระยอง, จังหวัดน่าน, จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดเชียงราย ตามลำดับ ผู้ป่วยเสียชีวิตยืนยัน 168 ราย อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.11 โดยอัตราป่วยตายสูงสุดในกลุ่มอายุ 25 - 34 ปีปัจจัยเสี่ยงส่วนใหญ่ ไปรักษาช้า มีโรคประจำตัว และติดสุรา ตามลำดับ ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการในผู้เสียชีวิตพบไวรัสเดงกีทั้ง 4 สายพันธุ์โดยพบ DENV-2 มากที่สุดรองลงมาคือ DENV-1 DENV-3 และ DENV-4 ตามลำดับ จังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๖๖ ที่ห้องประชุมสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี ว่าที่ร้อยตรี ตระกูล โทธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี เป็นประธานประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดปัตตานี เพื่อติดตามสถานการณ์โรคติดต่อที่สำคัญ ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ประกอบด้วย โรคไข้เลือดออก โรคโควิด-19 โรคเรื้อน และวัณโรคปอด เป็นต้น โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี สรุปว่าโรคไข้เลือดออก ซึ่งเป็นโรคติดต่อที่มียุงลาย (ยุงลายบ้าน ยุงลายสวน) เป็นพาหะ ขณะนี้ โรคไข้เลือดออกในประเทศ ยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปลายปี ๒๕๖๕ เป็นต้นมา และในปี ๒๕๖๖ ข้อมูล ณ วันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๖ มีรายงานผู้ป่วยของประเทศ สะสม ๑๘,๑๗๓ ราย คิดเป็นอัตราป่วย ๒๗.๔๖ ต่อแสนประซากร จำนวนผู้ป่วยสูงกว่าปีที่ผ่านในช่วงเวลาเดียวกันถึง ๔.๒ เท่า เสียชีวิต ๑๖ ราย โดยคาดว่าโรคไข้เลือดออกจะระบาดรุนแรงในปีนี้ สำหรับในพื้นที่เขตสุขภาพที่ ๑๒ พบผู้ป่วยสะสม ๒,๘๘๔ ราย เสียชีวิต ๔ ราย มีจังหวัดเข้าเกณฑ์เปิดศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน (EOC) ระดับจังหวัด ได้แก่ สงขลา สตูล และนราธิวาส สำหรับสถานการณ์จังหวัดปัตตานี มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ถึงวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๖๖ สะสมรวม ๔๓๐ ราย คิดเป็นอัตราป่วย ๗๓.๕๗ ต่อแสนประชากร ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต สำหรับข้อมูลตำบลปิยามุมัง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี พบผู้ป่วยไข้เลือดออกย้อนหลัง 5 ปี ทั้งหมดจำนวน 57 ราย โดยปี 2563 พบผู้ป่วย 9 ราย ปี 2564 พบผู้ป่วย 10 ราย ปี 2565 พบผู้ป่วย 9 ราย ปี 2566 พบผู้ป่วย 12 ราย และปี 2567 พบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกจำนวน 17 ราย ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต จากสถิติการระบาดและจากการสำรวจดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายยังพบว่ามีความชุกของลูกน้ำในเกณฑ์ที่สูง ซึ่งหมายความว่า ตำบลปิยามุมังเป็นตำบลที่มีแนวโน้มที่จะเกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออกสูง ดังนั้นเพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลปิยามุมัง จึงได้จัดโครงการร่วมมือร่วมใจชวนกันไป Big cleaning ตำบลปิยามุมังปลอดโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2567 ขึ้น โดยเน้นประชาชนในชุมชน เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ รวมทั้งเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชนต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
3 มิ.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 | กิจกรรมที่ 1 จัดประชุม war room ไข้เลือดออกแก่ทีม SRRT ปิยามุมัง กลุ่มเป้าหมาย 47 คน | 0 | 1,175.00 | - | ||
3 มิ.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 | กิจกรรม ๒ เฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก | 0 | 4,740.00 | - | ||
3 มิ.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 | กิจกรรมที่ 4 ถอดบทเรียนและสรุปผลการดำเนินงาน | 0 | 1,175.00 | - | ||
3 มิ.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 | กิจกรรมที่ ๓ Big cleaning รณรงค์สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายโดยเครือข่ายสุขภาพตำบลปิยามุมัง จำนวน 60 คน (๓๙+21= 6๐ คน) โดยเลือกพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดการระบาดมากที่สุด | 0 | 5,000.00 | - | ||
รวม | 0 | 12,090.00 | 0 | 0.00 |
- อัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกในชุมชนลดลงเมื่อเปรียบเทียบย้อนหลัง 5 ปี
- บ้านและโรงเรียนมีค่า HI< 10 และ CI = 0
- ประชาชนทุกกลุ่มอายุ ตระหนักและเห็นความสำคัญของการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ด้านการควบคุมพาหะ ด้านสิ่งแวดล้อม และการป้องกันโรค
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 มิ.ย. 2567 20:31 น.