กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการร่วมมือร่วมใจชวนกันไป Big cleaning ตำบลปิยามุมังปลอดโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลปิยามุมัง

ตำบลปิยามุมัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ยุงลายจะได้รับเชื้อไวรัสจากผู้ที่ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกและแพร่ไปสู่คนอื่นๆได้ โดยเฉพาะเด็กที่ได้รับเชื้อจะทำให้เด็กเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงมากและผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี ซึ่งจะพบการระบาดในช่วงฤดูฝน หรือช่วงเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนกันยายน ในแต่ละปีมีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกเป็นจำนวนมาก ยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะนำโรคจะออกหากินในตอนกลางวันและมักหลบซ่อนตัวในที่มืด อาศัยและวางไข่ไปทั่วในชุมชน แหล่งเพาะพันธ์ของยุงลายจะอยู่ตามโอ่งน้ำ ภาชนะกักเก็บน้ำในห้องน้ำ จานรองกระถางต้นไม้ ยางรถยนต์เก่า กระป๋อง กะลา เป็นต้น ดังนั้นหากทุกพื้นที่ไม่มีการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว การระบาดของโรคจะทวีความรุนแรงมากขึ้น
จากข้อมูลสถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 30 ธันวาคม 2566 พบผู้ป่วยสะสม จำนวน 153,734 ราย (รายงานเพิ่มขึ้น 2,926 ราย) อัตราป่วย 232.47 ต่อประชากรแสนคน ผู้ป่วยสูงกว่าปีที่ผ่านมา 3.4 เท่า จังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงในช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา 5 อันดับแรก คือ จังหวัดตราด, จังหวัดระยอง, จังหวัดน่าน, จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดเชียงราย ตามลำดับ ผู้ป่วยเสียชีวิตยืนยัน 168 ราย อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.11 โดยอัตราป่วยตายสูงสุดในกลุ่มอายุ 25 - 34 ปีปัจจัยเสี่ยงส่วนใหญ่ ไปรักษาช้า มีโรคประจำตัว และติดสุรา ตามลำดับ ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการในผู้เสียชีวิตพบไวรัสเดงกีทั้ง 4 สายพันธุ์โดยพบ DENV-2 มากที่สุดรองลงมาคือ DENV-1 DENV-3 และ DENV-4 ตามลำดับ
จังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๖๖ ที่ห้องประชุมสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี ว่าที่ร้อยตรี ตระกูล โทธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี เป็นประธานประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดปัตตานี เพื่อติดตามสถานการณ์โรคติดต่อที่สำคัญ ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ประกอบด้วย โรคไข้เลือดออก โรคโควิด-19 โรคเรื้อน และวัณโรคปอด เป็นต้น โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี สรุปว่าโรคไข้เลือดออก ซึ่งเป็นโรคติดต่อที่มียุงลาย (ยุงลายบ้าน ยุงลายสวน) เป็นพาหะ ขณะนี้ โรคไข้เลือดออกในประเทศ ยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปลายปี ๒๕๖๕ เป็นต้นมา และในปี ๒๕๖๖ ข้อมูล ณ วันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๖ มีรายงานผู้ป่วยของประเทศ สะสม ๑๘,๑๗๓ ราย คิดเป็นอัตราป่วย ๒๗.๔๖ ต่อแสนประซากร จำนวนผู้ป่วยสูงกว่าปีที่ผ่านในช่วงเวลาเดียวกันถึง ๔.๒ เท่า เสียชีวิต ๑๖ ราย โดยคาดว่าโรคไข้เลือดออกจะระบาดรุนแรงในปีนี้ สำหรับในพื้นที่เขตสุขภาพที่ ๑๒ พบผู้ป่วยสะสม ๒,๘๘๔ ราย เสียชีวิต ๔ ราย มีจังหวัดเข้าเกณฑ์เปิดศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน (EOC) ระดับจังหวัด ได้แก่ สงขลา สตูล และนราธิวาส สำหรับสถานการณ์จังหวัดปัตตานี มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ถึงวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๖๖ สะสมรวม ๔๓๐ ราย คิดเป็นอัตราป่วย ๗๓.๕๗ ต่อแสนประชากร ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต
สำหรับข้อมูลตำบลปิยามุมัง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี พบผู้ป่วยไข้เลือดออกย้อนหลัง 5 ปี ทั้งหมดจำนวน 57 ราย โดยปี 2563 พบผู้ป่วย 9 ราย ปี 2564 พบผู้ป่วย 10 ราย ปี 2565 พบผู้ป่วย 9 ราย ปี 2566 พบผู้ป่วย 12 ราย และปี 2567 พบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกจำนวน 17 ราย ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต จากสถิติการระบาดและจากการสำรวจดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายยังพบว่ามีความชุกของลูกน้ำในเกณฑ์ที่สูง ซึ่งหมายความว่า ตำบลปิยามุมังเป็นตำบลที่มีแนวโน้มที่จะเกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออกสูง
ดังนั้นเพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลปิยามุมัง จึงได้จัดโครงการร่วมมือร่วมใจชวนกันไป Big cleaning ตำบลปิยามุมังปลอดโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2567 ขึ้น โดยเน้นประชาชนในชุมชน เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ รวมทั้งเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกให้ไม่เกิน ๕๐ ต่อแสนประชากร
2. เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายและกำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชน โรงเรียน ศาสนสถาน
3. ให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่อง
4. ลดความชุกของลูกน้ำยุงลาย

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/06/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 จัดประชุม war room ไข้เลือดออกแก่ทีม SRRT ปิยามุมัง กลุ่มเป้าหมาย 47 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 จัดประชุม war room ไข้เลือดออกแก่ทีม SRRT ปิยามุมัง กลุ่มเป้าหมาย 47 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทีม SRRT ตำบลปิยามุมัง และทีมเครือข่ายสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินการโครงการ
  2. ดำเนินการจัดประชุม war room ไข้เลือดออก เพื่อนำเสนอและวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์โรค ไข้เลือดออกตำบลปิยามุมัง แก่ทีมเครือข่ายสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และทีมSRRT

- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ในการประชุมคณะทำงานทีม SRRT     จำนวน 47 คน × 25 บาท x 1 มื้อ                 เป็นเงิน 1,175.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มิถุนายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จำนวนผู้เข้าร่วมประชุมร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1175.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรม ๒ เฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม ๒ เฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. มอบสเปรย์กำจัดยุงให้ผู้ป่วยไข้เลือดออกฉีดบริเวณที่อยู่อาศัยในระยะการระบาดของโรค เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก

- ค่าสเปรย์กำจัดยุงไบกอนเขียวขนาด 300 มล.  จำนวน 60 กระป๋องๆละ 79 บาท                           เป็นเงิน 4,740.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มิถุนายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กำจัดยุงตัวแก่ลดการแพร่เชื้อ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4740.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ ๓ Big cleaning รณรงค์สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายโดยเครือข่ายสุขภาพตำบลปิยามุมัง จำนวน 60 คน (๓๙+21= 6๐ คน) โดยเลือกพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดการระบาดมากที่สุด

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ ๓ Big cleaning รณรงค์สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายโดยเครือข่ายสุขภาพตำบลปิยามุมัง จำนวน 60 คน (๓๙+21= 6๐ คน) โดยเลือกพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดการระบาดมากที่สุด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. รณรงค์สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยวิธีทางกายภาพ ชีวภาพ และสารเคมี กำจัดลูกน้ำยุงลาย โดยเลือกพื้นเสี่ยงเกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออก ของแต่ละหมู่
  2. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์โรคไข้เลือดออก ให้ความรู้แก่นักเรียน ประชาชน ตลอดจนผู้มารับบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปิยามุมัง

- ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 60 คน x 25 บาท x 1 มื้อ x 2 ครั้ง เป็นเงิน 3,000.- บาท
- ค่าถ่ายเอกสารแบบสำรวจลูกน้ำยุงลายจำนวน 1,000 แผ่น เป็นเงิน500.- บาท
- ค่าถ่ายเอกสารแผ่นพับโรคไข้เลือดออกจำนวน 500 แผ่น เป็นเงิน500.- บาท
- ค่าป้ายรณรงค์โครงการขนาด 1x2 เมตร = 2 ตารางเมตร(ตารางเมตรละ 250 บาท) จำนวน 2 ผืนๆละ 500 บาท เป็นเงิน 1,000.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มิถุนายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนทุกกลุ่มอายุ ตระหนักและเห็นความสำคัญของการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ด้านการควบคุมพาหะ ด้านสิ่งแวดล้อม และการป้องกันโรค

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมที่ 4 ถอดบทเรียนและสรุปผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 4 ถอดบทเรียนและสรุปผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. สุ่มตรวจหาดัชนีลูกน้ำยุงลาย (HI/CI) โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ร่วมกับ ทีมเครือข่ายสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)
  2. ประเมินผลการดำเนินงานและสรุปผลการดำเนินงานตามแผนโครงการ ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปิยามุมัง

- อาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 47 คนX 25บาท X 1 มื้อ         เป็นเงิน   1,175.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มิถุนายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. อัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกในชุมชนลดลงเมื่อเปรียบเทียบย้อนหลัง 5 ปี
  2. บ้านและโรงเรียนมีค่า HI< 10 และ CI = 0
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1175.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,090.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกในชุมชนลดลงเมื่อเปรียบเทียบย้อนหลัง 5 ปี
2. บ้านและโรงเรียนมีค่า HI< 10 และ CI = 0
3. ประชาชนทุกกลุ่มอายุ ตระหนักและเห็นความสำคัญของการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ด้านการควบคุมพาหะ ด้านสิ่งแวดล้อม และการป้องกันโรค


>