โครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อม หน้าบ้าน น่ามอง กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ป้องกันโรคไข้เลือดออก
ชื่อโครงการ | โครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อม หน้าบ้าน น่ามอง กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ป้องกันโรคไข้เลือดออก |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสงเปือย |
วันที่อนุมัติ | 27 พฤษภาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กรกฎาคม 2567 - 30 กันยายน 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 35,170.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายบุญทศ ประจำถิ่น |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางสาวปพิชญา รุ่งเรือง/นางสาวรัชนีวรรณ บุญปก |
พื้นที่ดำเนินการ | 9 หมู่บ้าน โรงเรียน วัด ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 ก.ค. 2567 | 30 ก.ย. 2567 | 35,170.00 | |||
รวมงบประมาณ | 35,170.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน | 10.00 | ||
2 | ร้อยละของหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการด้านการจัดการขยะ | 100.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญซึ่งมียุงลายเป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ การระบาดของโรคไข้เลือดออกเกิดได้ต่อเนื่องตลอดทั้งปีโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนจะพบผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีอายุตั้งแต่5-๑๔ปี รองลงมาคือ เด็กก่อนวัยเรียนและเด็กโตตามลำดับปัจจุบัน ยังพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในผู้ใหญ่กลุ่มวัยวัยทำงานและผู้สูงอายุด้วยและเนื่องจากฝนที่ตกลงมาทำให้เกิดน้ำขังภาชนะต่างๆเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายซึ่งเป็นพาหะนำโรคได้อย่างดีการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพควรมีการกำจัดตัดวงจรการเจริญเติบโตของยุงลายโดยการทำความสะอาดเก็บกวาดไม่ให้มีภาชนะขังน้ำที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย เป็นการลดจำนวนประชากรยุงลายในพื้นที่ต่อไป ในปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ที่ผ่านมา (๑ ต.ค.๒๕๖๕ – ๓๐ ก.ย.๒๕๖๖) มีรายงานข้อมูลผู้ป่วยสงสัย ไข้เลือดออกในเขตตำบลสงเปือย ๒ราย ในปีงบประมาณ ๒๕๖๖ (๑ ต.ค.๒๕๖๓ – ๓๐ ก.ย.๒๕๖๖) มีราย งานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ๗ ราย คิดเป็นอัตราป่วย 519.28 ต่อแสนประชากร ซึ่งค่ามาตรฐานอยู่ที่ไม่เกิน ๕๐ ต่อแสนประชากร และในปีงบประมาณ 2563 มีผู้ป่วยยืนยันโรคไข้เลือดออก จำนวน 1 ราย คิดเป็นอัตราป่วยต่อแสนประชากร โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสงเปือยได้ตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือด ออกจึงได้จัดทำโครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อม หน้าบ้าน น่ามอง กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายป้องกันโรคไข้เลือดออก ในเขต ตำบลสงเปือย ประจำปีงบประมาณ๒๕๖๗เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือควบคุมโรคไข้เลือดออก ซึ่งเป็นการลด ความเสี่ยงของประชาชนในพื้นที่ต่อการติดเชื้อโรคไข้เลือดออกเพื่อควบคุมการระบาดของโรคต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อเพิ่มจำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน |
10.00 | 23.00 |
2 | เพื่อเพิ่มหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการในการจัดการขยะ ร้อยละของหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการด้านการจัดการขยะ |
100.00 | 100.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 35,170.00 | 3 | 35,170.00 | |
1 ก.ค. 67 | จัดตั้งเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อม | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
8 - 12 ก.ค. 67 | ประชุมเชิงปฏิบัติการ | 0 | 19,300.00 | ✔ | 19,300.00 | |
13 ก.ค. 67 - 31 ส.ค. 67 | พ่นหมอกควันกำจัดยุงลายตัวเต็มวัย | 0 | 15,870.00 | ✔ | 15,870.00 |
1.เกิดเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อมระดับหมู่บ้าน
2.สามารถควบคุมโรคได้อย่างทันเวลาและสามารถหยุดการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลสงเปือยที่มีอย่างต่อเนื่องได้
3.ความมีส่วนร่วมจากภาคีเครือข่ายสุขภาพในการควบคุมโรคในพื้นที่ตำบลสงเปือย
4.ไม่พบการสูญเสียระดับที่รุนแรงของประชาชนจากโรคไข้เลือดออก
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 มิ.ย. 2567 21:04 น.