กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สงเปือย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อม หน้าบ้าน น่ามอง กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ป้องกันโรคไข้เลือดออก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สงเปือย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสงเปือย

๑. นายบุญทศประจำถิ่น
๒. นางดรรชนีเขียนนอก
๓. นางระพีพรรณสว่างแสง
๔. นางสาวสุวรรณีภูมูล
๕. นางสาวพจนีย์ฝุ่นทอง

9 หมู่บ้านในเขตตำบลสงเปือย,โรงเรียน 4 แห่ง,ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2 แห่ง,วัด 6 แห่ง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน

 

10.00
2 ร้อยละของหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการด้านการจัดการขยะ

 

100.00

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญซึ่งมียุงลายเป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ การระบาดของโรคไข้เลือดออกเกิดได้ต่อเนื่องตลอดทั้งปีโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนจะพบผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีอายุตั้งแต่5-๑๔ปี รองลงมาคือ เด็กก่อนวัยเรียนและเด็กโตตามลำดับปัจจุบัน ยังพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในผู้ใหญ่กลุ่มวัยวัยทำงานและผู้สูงอายุด้วยและเนื่องจากฝนที่ตกลงมาทำให้เกิดน้ำขังภาชนะต่างๆเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายซึ่งเป็นพาหะนำโรคได้อย่างดีการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพควรมีการกำจัดตัดวงจรการเจริญเติบโตของยุงลายโดยการทำความสะอาดเก็บกวาดไม่ให้มีภาชนะขังน้ำที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย เป็นการลดจำนวนประชากรยุงลายในพื้นที่ต่อไป
ในปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ที่ผ่านมา (๑ ต.ค.๒๕๖๕ – ๓๐ ก.ย.๒๕๖๖) มีรายงานข้อมูลผู้ป่วยสงสัย ไข้เลือดออกในเขตตำบลสงเปือย ๒ราย ในปีงบประมาณ ๒๕๖๖ (๑ ต.ค.๒๕๖๓ – ๓๐ ก.ย.๒๕๖๖) มีราย งานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ๗ ราย คิดเป็นอัตราป่วย 519.28 ต่อแสนประชากร ซึ่งค่ามาตรฐานอยู่ที่ไม่เกิน ๕๐ ต่อแสนประชากร และในปีงบประมาณ 2563 มีผู้ป่วยยืนยันโรคไข้เลือดออก จำนวน 1 ราย คิดเป็นอัตราป่วยต่อแสนประชากร
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสงเปือยได้ตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือด ออกจึงได้จัดทำโครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อม หน้าบ้าน น่ามอง กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายป้องกันโรคไข้เลือดออก ในเขต ตำบลสงเปือย ประจำปีงบประมาณ๒๕๖๗เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือควบคุมโรคไข้เลือดออก ซึ่งเป็นการลด ความเสี่ยงของประชาชนในพื้นที่ต่อการติดเชื้อโรคไข้เลือดออกเพื่อควบคุมการระบาดของโรคต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน

จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน

10.00 23.00
2 เพื่อเพิ่มหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการในการจัดการขยะ

ร้อยละของหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการด้านการจัดการขยะ

100.00 100.00

1.เพื่อจัดตั้งเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อมระดับหมู่บ้าน
2.เพื่อรณรงค์ สร้างจิตสำนึก ลดขยะที่ต้นทางระดับครัวเรือน กำจัดลูกน้ำยุงลาย และแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายพาหะนำโรคในบ้าน ชุมชน โรงเรียน
3.เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและตระหนักในการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจาก โรคไข้เลือดออก
4.เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
บุคลากรทางการศึกษา 4
ผู้นำชุมชน 36
พระสงฆ์ 6
อสม. 76
เจ้าหน้าที่ อบต./ศพด./รพ.สต. 8

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดตั้งเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อม

ชื่อกิจกรรม
จัดตั้งเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดทำคำสั่งแต่งตั้งบุคคลในชุมชนเพื่อเป็นอาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อมมีหน้าที่ในการตรวจสอบเฝ้าระวังจุดเสี่ยงต่อการทิ้งขยะสะสมในชุมชนและออกปฏิบัติการรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลายด้วยวิธื 5 ป. 1 ข. ทุกวันศุกร์-ไม่มีค่าใช้จ่าย-

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 1 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีอาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมเชิงปฏิบัติการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเชิงปฏิบัติการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมเชิงปฏิบัติการเครือข่าย สร้างจิตสำนึก ลดขยะที่ต้นทาง ปรับปรุงสิ่งแวดล้ัอมทางกายภาพ กำจัดลูกน้ำยุงลาย และแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย พร้อมทั้งใส่ทรายอะเบท ค่าใช้จ่าย 1. ค่าอาหารกลางวัน 130 คนๆละ 50 บาท จำนวน 1 มื้อ  เป็นเงิน  6500  บาท 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 130 คนๆละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ  เป็นเงิน  6500  บาท 3. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท  เป็นเงิน  1800  บาท 4. ป้ายโครงการ จำนวน 1 ป้าย   เป็นเงิน  500 บาท 5. ค่าน้ำแข็งและนำ้ดื่ม กิจกรรมรณรงค์ฯ  จำนวน  4 วันๆละ 1000  บาท  เป็นเงิน  4000 รวมเป็นเงินทั้งสิ้น  19300  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
8 กรกฎาคม 2567 ถึง 12 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.แกนนำเครือข่ายมีจิตสำนึก สามารถแยกขยะจากต้นทาง 2. สิ่งแวดล้อมทางกายภาพดีขึ้น สะอาด แหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยงลายถูกกำจัด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19300.00

กิจกรรมที่ 3 พ่นหมอกควันกำจัดยุงลายตัวเต็มวัย

ชื่อกิจกรรม
พ่นหมอกควันกำจัดยุงลายตัวเต็มวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

พ่นหมอกควัน ในชุมชนทั้ง 9 หมู่บ้าน/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2 แห่ง / วัด 6 แห่ง / โรงเรียน 4 แห่ง รายละเอียดค่าใช้จ่าย ดังนี้ 1. ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดเบนซิน(เติมเครื่องฉีดพ่นหมอกควัน)        เป็นเงิน  4900 บาท
2. ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดดีเซล (ใช้ผสมกับสารเคมีพ่นกำจัดยุงลาย)    เป็นเงิน  8370 บาท 3. ค่าสเปรย์ฉีดยุง                                                             เป็นเงิน  2600 บาท   รวมเป็นเงินทั้งสิ้น      15870  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 กรกฎาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ควบคุมโรคให้ทันเวลาภายหลังการได้รับแจ้งโดยการกำจัดยุงพาหะนำโรคอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15870.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 35,170.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เกิดเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อมระดับหมู่บ้าน
2.สามารถควบคุมโรคได้อย่างทันเวลาและสามารถหยุดการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลสงเปือยที่มีอย่างต่อเนื่องได้
3.ความมีส่วนร่วมจากภาคีเครือข่ายสุขภาพในการควบคุมโรคในพื้นที่ตำบลสงเปือย
4.ไม่พบการสูญเสียระดับที่รุนแรงของประชาชนจากโรคไข้เลือดออก


>