โครงการควบคุมป้องกันโรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี
ชื่อโครงการ | โครงการควบคุมป้องกันโรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสงเปือย |
วันที่อนุมัติ | 27 พฤษภาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กรกฎาคม 2567 - 30 กันยายน 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2567 |
งบประมาณ | 18,500.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | 1.นายบุญทศ ประจำถิ่น 2.นางดรรชนี เขียนนอก 3.นางสาวชุติมา วงศ์ปัดสา 4.นางระพีพรรณ สว่างแสง 5.นางสาวพจนีย์ ฝุ่นทอง |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายบุญทศ ประจำถิ่น |
พื้นที่ดำเนินการ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลสงเปือย อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร |
ละติจูด-ลองจิจูด | 15.65118,104.248087place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 ก.ค. 2567 | 30 ก.ย. 2567 | 18,500.00 | |||
รวมงบประมาณ | 18,500.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 80 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคมะเร็งท่อน้ำดี เป็นมะเร็งที่อยู่บริเวณเยื่อบุผนังของท่อทางเดินน้ำดีในภาคอีสานมีสาเหตุหลักคือเกิดจากการติดพยาธิใบไม้ตับชนิด Opisthorchis viverrini เป็นตัวปรสิตที่พบในปลาน้ำจืดชนิดมีเกล็ดเช่นปลาตะเพียน ปลาขาว ปลาสร้อย ปลากะสูบ ปลาแม่สะแด้ง ปลาซิว ปลาแก้มช้ำ ปลาขาวนา เป็นต้น โรคมะเร็งตับและท่อน้ำดีพบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบในผู้มีอายุมากกว่า 40 ปีระดับความรุนแรงคือ ระยะสุดท้าย (Stage 4) ในเพศชายพบร้อยละ 25และในเพศหญิงพบร้อยละ 20ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญคือจากพยาธิใบไม้ตับ จากพฤติกรรมการบริโภคปลาน้ำจืดดิบๆจากอาหารที่ปนเปื้อนสาร Nitrosamine เช่นปลาร้าแหนมกุนเชียงอาหารจากงานบุญประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่น
จากการศึกษาสาเหตุการตายย้อนหลัง 3ปี ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสงเปือย พบว่า ในปี2565 – 2566มีอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งตับและท่อน้ำดีตามลำดับดังนี้ 1,1.3,1.1 ต่อประชากรแสนคน จากสถานการณ์ดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสงเปือย ได้ให้ความสำคัญเป็นปัญหาสาธารณสุขลำดับที่ 3 ของจังหวัดยโสธร
จากสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ของตำบลสงเปือย มีแม่น้ำชี ลำห้วย คลองและหนองน้ำไหลผ่าน เป็นแหล่งอาหารธรรมชาติเช่น ปลา ปู กุ้งหอย และประชาชนยังมีค่านิยมบริโภคอาหารดิบ ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมีอัตราการป่วยและการตายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสงเปือย อำเภอคำเขื่อนแก้วจังหวัดยโสธรมีประชากรอายุ 40 ปี ขึ้นไป จำนวน 1,516 คนเห็นความสำคัญในการป้องกันมากกว่าการรักษาโรค โดยเฉพาะการตรวจคัดกรองค้นหาโรคระยะแรกในกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถลดอัตราการเกิดอุบัติการณ์มะเร็งตับและท่อน้ำดีใหม่ได้จึงได้จัดทำโครงการดังกล่าว เพื่อคัดกรองค้นหากลุ่มเสี่ยงมะเร็งตับและท่อน้ำดีโดยการด้วยวาจา(CCA01) เสริมสร้างความรู้ สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ และส่งตรวจอัลตร้าซาวด์กลุ่มคนที่ผ่านการคัดกรองและควรรับการรักษาอย่างเร่งด่วน เพื่อให้ทันต่อการรักษาตามพยาธิสภาพของโรคต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่ออบรมเชิงปฏิบัติการ ให้ความรู้ความเข้าใจและรณรงค์เรื่องโรคมะเร็งตับและท่อน้ำดีแก่ประชาชน อายุ 40 ปีขึ้นไป ประชาชน อายุ 40 ปีขึ้นไป รู้ถึงพิษภัยของสุรา และมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี |
1.00 | |
2 | เพื่อค้นหาผู้ป่วยมะเร็งตับและท่อน้ำดีด้วยวิธีอัลตร้าซาวด์ ในกลุ่มเป้าหมายประชาชนอายุ 40 ปี ขึ้นไป สามารถค้นหาผู้ป่วยโรคมะเร็งตับและท่อน้ำดีได้เกือบทั้งหมด เพื่อทำการรักษาได้ทันท่วงที |
1.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 - 19 ก.ค. 67 | จัดทีมอาสาสมัครเพื่อคัดกรองกลุ่มเสี่ยง | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
22 - 26 ก.ค. 67 | จัดทำฐานข้อมูลกลุ่มเสี่ยง | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
1 ส.ค. 67 | อบรมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างความรู้เรื่องโรคมะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดี สู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง | 0 | 6,500.00 | ✔ | 6,500.00 | |
5 - 9 ส.ค. 67 | จัดบริการส่งต่อกลุ่มเสี่ยงไปยังหน่วยบริการตรวจอัลตราซาวด์ | 0 | 12,000.00 | ✔ | 12,000.00 | |
รวม | 0 | 18,500.00 | 4 | 18,500.00 |
1.อายุ 40 ปี ขึ้นไป มีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคมะเร็งตับและท่อน้ำดีมากขึ้น
2.ประชาชน อายุ 40 ปี ขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งตับและท่อน้ำดี ในรายที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อและรักษาจากแพทย์ทุกราย
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 มิ.ย. 2567 22:22 น.