กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริม สนับสนุนศูนย์บริการสุขภาพในชุมชน ( Health Station check )ความดัน เบาหวานเชิงรุก รพ.สต.บ้านในเมือง ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L5313-01-004
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านในเมือง ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล
วันที่อนุมัติ 16 สิงหาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2567 - 31 ธันวาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2567
งบประมาณ 63,850.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอรทัย อุสมา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 63,850.00
รวมงบประมาณ 63,850.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาสุขภาพที่เร่งด่วนของประชาชนที่ต้องได้รับการเฝ้าระวัง นอกจากอุบัติเหตุและโรคติดต่อแล้ว กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังก็เป็นสาเหตุสำคัญของการตายและความพิการ ทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนลดลงและก่อให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรเป็นจำนวนมากในแต่ละปี ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเส้นเลือดในสมอง โรคหัวใจขาดเลือด โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคเบาหวาน และโรคมะเร็ง เป็นต้น การค้นหา และการตรวจสุขภาพของประชาชนตามกลุ่มอายุตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยสูงอายุเป็นภารกิจในการดำเนินงานสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ที่มุ่งเน้นให้ประชาชนทุกคนมีสุขภาพดี สามารถพึ่งพาตนเองทางด้านสุขภาพมากขึ้น โดยเน้นการสร้างสุขภาพมากกว่าการซ่อมสุขภาพ โดยถือว่า สุขภาพเป็นเรื่องของประชาชนทุกคน สำหรับการตรวจสุขภาพในกลุ่มอายุต่างๆ ได้แก่ วัยทำงาน วัยทอง และวัยสูงอายุ เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่เกิดจากพฤติกรรมเป็นส่วนใหญ่ อาทิ เช่น พฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมการทำงาน พฤติกรรมการสูบบุหรี่ การบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ รวมถึงภาวะเครียด
ข้อมูลการขึ้นทะเบียนรายใหม่ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง 5ปีย้อนหลัง ปี2561 จำนวน 122 ราย ปี 2562 จำนวน 109 รายปี2563 จำนวน 101 ราย ปี 2564 จำนวน 82 ราย ปี 2565 จำนวน 75 ราย ปี 2566 ความดันรายใหม่ จำนวน 66 ราย เบาหวานรายใหม่ 24 ราย จำนวนผู้ป่วยทั้งหมดในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านในเมืองทั้งหมด ความดันโลหิตสูง 775 ราย เบาหวาน 343 ราย รับยารพ.สต.บ้านในเมือง334 ราย รับยา รพ.ละงู 784 ราย จำนวนผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง จำนวน 33 ราย เสียชีวิต 5 รายเป็นผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 5 ราย (ปีงบประมาณ 2566)
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในเมือง เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ควบคุม ส่งเสริม ป้องกัน รักษาและฟื้นฟูสภาพจากการป่วยในระดับตำบล จึงได้นำนโยบายด้านสุขภาพสู่การปฏิบัติ เพื่อประโยชน์สูงสุดด้านสุขภาพแก่ประชาชนในเขตความรับผิดชอบ และได้เห็นความสำคัญถึงการเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จึงได้จัดทำ “โครงการส่งเสริม สนับสนุนศูนย์บริการสุขภาพในชุมชน ( Health Station check )ความดัน เบาหวานเชิงรุก รพ.สต.บ้านในเมือง ปีงบประมาณ 2567” ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเน้นในเรื่องการเฝ้าระวังภัยสุขภาพในชุมชน โดยการประชาสัมพันธ์ ค้นหา คัดกรองสุขภาพประชาชน การเห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพเบื้องต้น การเข้าถึงการบริการของคนในชุมชน การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชน การให้ความรู้และสร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพของตนเองและการสร้างทางเลือกในการดูแลสุขภาพ โดยได้มีการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงและตรวจสุขภาพประชาชนตั้งแต่ อายุ 35 ปีขึ้นไป 6 ในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านในเมืองทั้งหมด 3,180 คน เข้ารับการตรวจคัดกรอง 900 คนซึ่งประกอบด้วย ประชาชนกลุ่มเสี่ยง วัยทำงาน ตลอดจนส่งเสริมให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพสร้างทีมงานเครือข่ายให้มีความเข้มแข็งในการเพื่อเฝ้าระวังการเกิดโรค พร้อมทั้งให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวอย่างถูกต้อง ที่จะส่งผลต่อการลดอุบัติการณ์เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังรายใหม่ในอนาคต และทาง รพ.สต.บ้านในเมืองจึงส่งเสริม สนับสนุนให้มีศูนย์บริการสุขภาพในชุมชน ( Health Station check ) เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการรับบริการที่สะดวก สบาย ลดความแออัด ลดความเสี่ยงของการเกิดโรค และประะชาชนเกิดความตระหนักรู้สู่การปฏิบัติในการดูแลสุขภาพประชาชนอย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้มีการจัดตั้งศูนย์บริการสุขภาพในชุมชน ( Health Station check ) เพื่อขับเคลื่อนสุขภาพของคนในชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชน

ศูนย์บริการสุขภาพในชุมชน ( Health Station check ) ด้านสุขภาพ 6 หมู่บ้าน โดยมีการขับเคลื่อนของเครือข่ายในชุมชน

100.00 0.00
2 เพื่อค้นหาประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และการจัดการระบบการเข้าถึงการรักษา

ประชาชนที่มีอายุ35 ปีขึ้นไป/ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในเมืองได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน (กลุ่มเป้าหมาย 35 ปีขึ้นไป ปีงบประมาณ 2567 ทั้งหมด 3.180 คน เป้าหมายการคัดกรอง 900 คน)

28.30 0.00
3 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ตามรูปแบบ 3 อ 2 ส

กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน โรคอ้วน ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและมีความรู้เพิ่มขึ้น มีคะแนนวัดวามรู้ 8/10 คะแนน

80.00 0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 63,850.00 4 63,850.00 0.00
1 ก.ค. 67 - 31 ต.ค. 67 กิจกรรมที่ 1 ส่งเสริม สนับสนุนให้ศูนย์มีบริการสุขภาพในชุมชน (health station check)และมีคณะทำงานเครือข่ายในชุมชน 0 26,250.00 26,250.00 0.00
1 ส.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมที่ 2 ประเมินภาวะสุขภาพกลุ่มเสี่ยง รณรงค์ สร้างความตระหนัก 0 27,000.00 27,000.00 0.00
1 - 31 ต.ค. 67 กิจกรรมที่ 3 อบรม/ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วย/ผู้สนใจจำนวน 50 คน กลุ่มเป้าหมาย : ประชาชนกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วย วิทยากร : แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวทีมสหวิชาชีพ และผู้รับผิดชอบคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 0 10,600.00 10,600.00 0.00
1 - 30 พ.ย. 67 กิจกรรมที่ 4 ประเมินสุขภาพกลุ่มเสี่ยงซ้ำหลังการเข้าร่วมอบรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3 อ. 2 ส. 0 0.00 0.00 0.00
รวมทั้งสิ้น 0 63,850.00 4 63,850.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.มีศูนย์บริการสุขภาพ( Health Station check ) ในชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการดูแลสุขภาพของคนในชุมชน
2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในเขตรับผิดชอบเข้าถึงบริการสุขภาพส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง 3. ผู้เข้าร่วมโครงการตระหนักรู้และมีพฤติกรรมที่ถูกต้องในการดูและจัดการสุขภาพตนเองและครอบครัว

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 มิ.ย. 2567 16:03 น.