โครงการอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านร่วมใจนำพาประชาชนใส่ใจจัดการสุขภาพและป้องกันโรค ปีงบประมาณ 2567
ชื่อโครงการ | โครงการอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านร่วมใจนำพาประชาชนใส่ใจจัดการสุขภาพและป้องกันโรค ปีงบประมาณ 2567 |
รหัสโครงการ | 67-L2516-2-04 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน รพ.สต.บ้านมือและห์ |
วันที่อนุมัติ | 30 พฤษภาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มิถุนายน 2567 - 30 กันยายน 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2567 |
งบประมาณ | 27,030.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายมะนาวี สาอุ นายมารูดีน หะยีตาเละ นางแมะย๊ะ เซะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายมมุฮัมมัดมุมิน วาแวนิ |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลสาวอ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.434,101.507place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 28 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญที่เราทุกคนต้องดูแลไม่ว่าสุขภาพกายหรือสุขภาพจิต ตลอดระยะเวลาที่กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบาบการดำเนินงานสาธารณสุขมีการดำเนินงานสาธารณสุขมูลฐาน ซึ่งเป็นกลวิธีหนึ่งในการพัฒนางานสาธารณสุขชุมชนเพื่อให้ประชาชนมีบทบาทในการดูแล สุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชน สภาพแวดล้อมและสังคมโดยรวมได้อย่างยั่งยืนด้วยความตั้งใจ เต็มใจ มีจิตสำนึกที่ดีและมีศรัทธา ซึ่งบริบทของการเกิดโรค ได้เปลี่ยนแปลงไปทำให้เกิดโรคอุบัติใหม่ๆมากขึ้น จึงมีการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆในการักษาพยาบาล ตลอดจนด้านการสื่อสารต่างๆเพิ่มขึ้นทำให้ต้องมีการพัฒนาเพื่อเพิ่มความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุขโดยเฉพาะอาสาสมัครสาธารณสุขที่ต้องทำหน้าที่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด เพื่อสนองนโยบาย สามหมอ ของกระทรวงสาธารณสุขในยุคปัจจุบัน
การดำเนินงานสาธารณสุขโดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ผ่านการอบรมมาหลายรุ่น ปฏิบัติงานอยู่ในชุมชนและมีการเปลี่ยนตัวบุคคล เช่น อาสาสมัครสาธารณสุข ลาออก หรือเสียชีวิต จึงทำให้เกิดปัญหาในการปฏิบัติงานเนื่องจากขาดความรู้และทักษะใหม่ๆที่ต้องใช้ เช่นการใช้แอพลิเคชั่นสมาร์ท อสม. การคีย์การคัดกรองผู้สูงอายุ การดูแลสุขภาพตามกลุ่มวัยในการเยี่ยมบ้าน การสำรวจข้อมูลและส่งรายงานประจำเดือน การปฐมพยาบาลเบื้องต้น เหล่านี้เป็นต้น
ในการนี้ทางชมรม อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านมือและห์ จึงเห็นความสำคัญในการฟื้นฟูองค์ความรู้แก่อาสาสมัครสาธารณสุข จึงได้จัดทำโครงการอสม.ร่วมใจนำพาประชาชนใส่ใจจัดการสุขภาพ และป้องกันโรค จึงเป็นวิธีที่จะสามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ โดยการให้อาสาสมัครสาธารณสุขอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านมือและห์ ทุกคนเข้ารับการอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะด้านต่างๆตลอดจนมีการฝึกปฏิบัติงานจริงที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านมือและห์ หลังการอบรมเสร็จสิ้นซึ่งคาดว่าจะทำให้การปฏิบัติงานในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และชุมชนพัฒนาเป็นองค์กรสร้างสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรคได้อย่างยั่งยืนต่อไป
กระทรวงสาธารณสุขได้มีนโยบายการพัฒนาด้านสุขภาพเพื่อให้ประชาชนทุกคนมีสุขภาพดี อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตที่ดี เกิดความทั่วถึง การเท่าเทียมของประชาชนทุกคนโดยให้ประชาชนได้รับรู้ สถานะของตนเองและเข้าถึงการคัดกรองโรคภัยต่างๆ และได้กำหนดให้ดำเนินการพัฒนาสุขภาพตามกลุ่มวัยให้มีความครอบคลุมในมิติทางด้านสุขภาพ ทั้ง 4 มิติ คือ มิติด้านการป้องกันโรค การส่งเสริมสุขภาพ การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสภาพ เน้นให้เกิดการสร้างสุขภาพมากกว่าการซ่อมแซมสุขภาพซึ่งเกี่ยวข้องกับ ความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนักด้านสุขภาพ โดยมี อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ผู้เป็นพลังชุมชนสำคัญในการเป็นผู้นำ เป็นต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยมีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลืองานสาธารณสุขในชุมชน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
2.1 รวบรวมข้อมูล ประชุมชี้แจงแก่ อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ในเขตรับผิดชอบ เพื่อกำหนดรูปแบบ การดำเนินโครงการ วางแผน ประสานคณะกรรมการ องค์การบริหารส่วนตำบลสาวอ
2.2 จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลสาวอ
2.3 ประเมินความรู้เบื้องต้น โดยใช้แบบทดสอบทักษะต่างๆ ได้แก่ ทดสอบความรู้ก่อนและหลังอบรม
2.4 อบรมให้ความรู้ โดยใช้วิทยากรจากแต่ละกิจกรรม
2.5 ฝึกปฏิบัติงาน พร้อมประเมินหลังอบรม
2.6 สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลสาวอ
จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลสาวอ จำนวน 27,030 บาท (สองหมื่นเจ็ดพันสามสิบบาทถ้วน) รายละเอียด ดังนี้
5.1 กิจกรรมให้ความรู้ เสริมทักษะ สำหรับ อสม. ในการปฎิบัติงาน
ประชุมเชิงปฏิบัติการ อสม. จำนวน 28 คน
- ค่าอาหารกลางวัน 28 คน × 60 บาท × 1 มื้อ × 4 วัน เป็นเงิน 6,720 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 28 คน × 30 บาท × 2 มื้อ ×4 วัน เป็นเงิน 6,720 บาท
5.3 ค่าจัดซื้ออุปกรณ์ กระเป๋าพยาบาล จำนวน 3 อัน เป็นเงิน 1,050 บาท
5.4 ค่าจัดซื้ออุปกรณ์ กระเป๋าเป้ใส่อุปกรณ์ลงพื้นที่ จำนวน 3 ใบ เป็นเงิน 1,600 บาท 5.5 ค่าป้ายโครงการ ขนาด 120 ซม.x 240 ซม. เป็นเงิน 500 บาท
5.6 ค่าวิทยากร 600 บาท x 4 ชั่วโมง จำนวน 4 วัน เป็นเงิน 9,600 บาท
5.7 ค่าเกียรติบัตร จำนวน 28 คน เป็นเงิน 840 บาท
รวมเป็นเงิน 27,030 บาท
รวมเป็นเงินทั้งหมด 27,030 บาท (สองหมื่นเจ็ดพันสามสิบบาทถ้วน)
หมายเหตุ ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้
6.1 อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ทุกคนได้รับความรู้เรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และสามารถฝึกปฏิบัติงานได้จริง สามารถช่วยเหลือได้ถูกต้องและทันเวลา
6.2 อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ทุกคนได้รับความรู้เรื่องการใช้ยาสามัญประจำบ้าน ความรู้การตรวจสอบงานคุ้มครองผู้บริโภค ในชุมชน สามารถสอดส่องร้านชำปลอดภัย
6.3 อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ทุกคนได้รับความรู้เรื่องโรคภัยอุบัติใหม่ สามารถช่วยเหลือพยาบาลเบื้องต้นในชุมชนได้ มีองค์กรสร้างสุขภาพ ลดเสี่ยง การเจ็บป่วยหนัก และแทรกซ้อนได้
6.4 อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ทุกคนได้รับความรู้ด้านเทคโนโลยี สามารถคัดกรโรค การคัดกรองตามกลุ่มวัยต่างๆ สามารถส่งรายงานได้ครลถ้วนและทันเวลา
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ก.ค. 2567 10:39 น.