กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสามหมู่รวมใจส่งเสริมและป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ในชุมชน
รหัสโครงการ 67-L5275-02-014
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.)รพ.สต.ทุ่งตำเสา
วันที่อนุมัติ 1 กรกฎาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 18,597.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนินราหม๊ะ หมัดอาดัม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 105 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อโดยมียุงลายเป็นพาหะ ที่สร้างความสูญเสียถึงชีวิต โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาที่สำคัญ ของหมู่ที่ 1,2 และ10 พบว่าในปี 2566 มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกจำนวน 36 คน เสียชีวิต 1 คน ปี 2567 ตั้งแต่เดือน มกราคม - พฤษภาคม พบว่ามีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก จำนวน25คน แบ่งเป็นหมู่ที่ 1 จำนวน 14 คน หมู่ที่ 2 จำนวน 5 คนและหมู่ที่ 10 จำนวน 6 คน จะเห็นได้ว่าแนวโน้มของโรคไข้เลือดออก ปี 2567 สูงขึ้นซึ่งจะระบาดในช่วงโรงเรียนเปิดเทอญและช่วงฤดูฝนของทุกปี ปัญหาที่พบเกิดจากผู้ป่วยเข้ารับการรักษาที่คลินิก/รพ.เอกชนทำให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ เทศบาล และรพ.สต.ได้รับข่าวสารล่าช้าและไม่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดโรคไข้เลือดออกได้ทันท่วงที ดังนั้นการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ประสบความสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค และรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออก และร่วมมือกันเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรคนี้ ดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.ทุ่งตำเสา ได้เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการสามหมู่รวมใจส่งเสริมและป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ในชุมชน คือ บ้านทุ่งเลียบ บ้านทุ่งตำเสาและบ้านเกาะมวง ปี2567 ขึ้น เพื่อหาแนวทางใหม่ๆ ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ได้อย่างรวดเร็ว และสร้างจิตสำนึกในชุมชนตระหนักถึงปัญหาโรคไข้เลือด พร้อมทั้งให้ชุมชนได้รับข่าวสาร ปัญหาและให้ชุมชนสามารถป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกได้ด้วยชุมชนเอง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกให้ประชาชนในชุมชนเกิดความตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ในครัวเรือนและชุมชนของตนเอง
  1. ประชาชนในชุมชนเกิดความตระหนักในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ในครัวเรือนและชุมชนของตนเอง
0.00
2 2. เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยของโรคไข้เลือดออกในชุมชน
  1. ผู้ป่วยของโรคไข้เลือดออกลดลงจากปีก่อนหน้า (ปี 2566)
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 18,597.00 0 0.00
1 - 31 ก.ค. 67 กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะกรรมการเพื่อวางแผนการดำเนินงานตามแผนงานโครงการและสรุปผลตามดครงการจำนวน 2 ครั้ง ก่อนและหลังโครงการ 0 1,000.00 -
1 - 31 ก.ค. 67 กิจกรรมที่ 2 ประชุมชี้แจงและบูรณาการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ 0 4,282.00 -
1 ก.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมที่ 3 เดินรณรงค์ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย ในชุมชน โรงเรียน วัด และสำนักสงฆ์ หมู่ละ 2 ครั้ง ต่อเดือน ระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่เดือน กรกฎาคม - ธันวาคม 2567 0 10,235.00 -
1 ก.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมที่ 4 กิจกรรม Big Cleaning บ้านผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก (กรณีที่มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก) จำนวน 4 สัปดาห์อย่างต่อเนื่อง 0 2,680.00 -
1 - 30 ก.ย. 67 สรุปผลงาน 0 400.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ชุนชนทุกครัวเรือนมีส่วนร่วมในการควบคุม ป้องกันและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย 2. จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงจากปีก่อน(2566) 3. ประชาชนตลอดจนผู้นำเห็นความสำคัญและมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออก 4. สามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืน เพื่อมิให้มีการแพร่ระบาดในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ก.ค. 2567 09:22 น.