กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสามหมู่รวมใจส่งเสริมและป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ในชุมชน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.)รพ.สต.ทุ่งตำเสา

1 นายสมพลเรืองกูล
2 นายสุชาติ บุญศักดิ์
3 นายรุจิภาสจันทรภาพ
4 น.ส.ดลกมลกลแกม
5 นางอารี เหล่าจินวงศ์

ตำบลทุ่งตำเสา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อโดยมียุงลายเป็นพาหะ ที่สร้างความสูญเสียถึงชีวิต โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาที่สำคัญ ของหมู่ที่ 1,2 และ10 พบว่าในปี 2566 มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกจำนวน 36 คน เสียชีวิต 1 คน ปี 2567 ตั้งแต่เดือน มกราคม - พฤษภาคม พบว่ามีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก จำนวน25คน แบ่งเป็นหมู่ที่ 1 จำนวน 14 คน หมู่ที่ 2 จำนวน 5 คนและหมู่ที่ 10 จำนวน 6 คน จะเห็นได้ว่าแนวโน้มของโรคไข้เลือดออก ปี 2567 สูงขึ้นซึ่งจะระบาดในช่วงโรงเรียนเปิดเทอญและช่วงฤดูฝนของทุกปี ปัญหาที่พบเกิดจากผู้ป่วยเข้ารับการรักษาที่คลินิก/รพ.เอกชนทำให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ เทศบาล และรพ.สต.ได้รับข่าวสารล่าช้าและไม่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดโรคไข้เลือดออกได้ทันท่วงที ดังนั้นการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ประสบความสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค และรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออก และร่วมมือกันเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรคนี้
ดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.ทุ่งตำเสา ได้เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการสามหมู่รวมใจส่งเสริมและป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ในชุมชน คือ บ้านทุ่งเลียบ บ้านทุ่งตำเสาและบ้านเกาะมวง ปี2567 ขึ้น เพื่อหาแนวทางใหม่ๆ ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ได้อย่างรวดเร็ว และสร้างจิตสำนึกในชุมชนตระหนักถึงปัญหาโรคไข้เลือด พร้อมทั้งให้ชุมชนได้รับข่าวสาร ปัญหาและให้ชุมชนสามารถป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกได้ด้วยชุมชนเอง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกให้ประชาชนในชุมชนเกิดความตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ในครัวเรือนและชุมชนของตนเอง
  1. ประชาชนในชุมชนเกิดความตระหนักในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ในครัวเรือนและชุมชนของตนเอง
0.00
2 2. เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยของโรคไข้เลือดออกในชุมชน
  1. ผู้ป่วยของโรคไข้เลือดออกลดลงจากปีก่อนหน้า (ปี 2566)
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
อสม.และผู้นำชุมชน 105

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะกรรมการเพื่อวางแผนการดำเนินงานตามแผนงานโครงการและสรุปผลตามดครงการจำนวน 2 ครั้ง ก่อนและหลังโครงการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะกรรมการเพื่อวางแผนการดำเนินงานตามแผนงานโครงการและสรุปผลตามดครงการจำนวน 2 ครั้ง ก่อนและหลังโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างสำหรับผู้เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการ จำนวน 20 คน (มื้อละ 25 บาท x 2 มื้อ x 20 คน)
         เป็นเงิน 1,000 บาท รวมเป็นเงิน 1,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 ประชุมชี้แจงและบูรณาการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 ประชุมชี้แจงและบูรณาการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ในปัจจุบัน กลุ่มเป้าหมาย รวม 105 คนพร้อมวิทยาการ 1 คน         อสม.หมู่ที่1,2 และ10 จำนวน 93 คน         ผู้นำชุมชน จำนวน 12 คน         วิทยากร 1 คน
  • ค่าป้ายไวนิลอบรมตามโครงการจำนวน 1 ผืน (ขนาด 1.2 เมตร x 2.4 เมตร x 1 ผืน) เป็นเงิน 432 บาท
  • ค่าวิทยากร 1 คน (ชั่วโมงละ 600 บาท x 2 ชั่วโมง) เป็นเงิน 1,200 บาท
  • ค่าอาหารว่างสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 106 คน (อสม.จำนวน 93 คน วิทยากร 1 คน และผู้นำชุมชน 12 คน) (มื้อละ 25 บาท x 1 มื้อ x 106 คน)      เป็นเงิน 2,650 บาท รวมเป็นเงิน 4,282 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4282.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 เดินรณรงค์ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย ในชุมชน โรงเรียน วัด และสำนักสงฆ์ หมู่ละ 2 ครั้ง ต่อเดือน ระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่เดือน กรกฎาคม - ธันวาคม 2567

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 เดินรณรงค์ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย ในชุมชน โรงเรียน วัด และสำนักสงฆ์ หมู่ละ 2 ครั้ง ต่อเดือน ระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่เดือน กรกฎาคม - ธันวาคม 2567
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

หมู่ที่ 1 อสม. 27 คน ผู้นำชุมชน/ประชาชนในพื้นที่ 15 คน รวม 42 คน หมู่ที่ 2 อสม. 39 คน ผู้นำชุมชน/ประชาชนในพื้นที่ 15 คน รวม 54 คน หมู่ที่ 10 อสม. 27 คน ผู้นำชุมชน/ประชาชนในพื้นที่ 15 คน รวม 42 คน - ค่าจัดทำป้ายโฟมบอร์ดรณรงค์ไข้เลือดออก จำนวน 10 ป้ายๆละ 100 บาทเป็นเงิน 1000 บาท
-ค่าถ่ายเอกสารกำกับติดตามลูกน้ำยุงลาย จำนวน 1000 แผ่น เป็นเงิน 1,000 บาท - แผ่นพับโรคไข้เลือดออก ขอสนับสนุนจากเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา -ทรายอะเบส ขอสนับสนุนจากเทศบาล - ค่าน้ำดื่มผู้เข้าร่วมรณรงค์  หมู่ที่ 1 จำนวน 42 คน x 5 บาท x 6 ครั้ง)
     เป็นเงิน 1,260 บาท - ค่าน้ำดื่มผู้เข้าร่วมหมู่ที่ 2 จำนวน 54 คน x 5 บาท x 6 ครั้ง)
     เป็นเงิน 1,620 บาท - ค่าน้ำดื่มผู้เข้าร่วมรณรงค์ หมู่ที่ 10 จำนวน 42 คน x 5 บาท x 12 ครั้ง)
     เป็นเงิน 1,260 บาท - ค่าถุงมือ 3 หมู่ๆละ 6 กล่อง ราคากล่องละ 70 บาท (3x6x70) เป็นเงิน1,260 บาท - ค่าถุงดำ จำนวน 3 หมู่บ้านๆละ 3 แพ็คๆละ 1 กิโล รวม 9 แพ็คๆละ 60 บาท      เป็นเงิน 540 บาท - ที่คีบขยะ 20 อัน อันละ 25 บาท      เป็นเงิน 500 บาท -เหล็กเสียบขยะพร้อมด้ามจับจำนวน 20 อันๆละ 65 บาท เป็นเงิน 1,300 บาท -หน้ากากอนามัย 3 หมู่ละ 3 กล่องจำนวน 9 กล่องๆละ 55 บาท เป็นเงิน 495 บาท รวมเป็นเงิน 10,235 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10235.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมที่ 4 กิจกรรม Big Cleaning บ้านผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก (กรณีที่มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก) จำนวน 4 สัปดาห์อย่างต่อเนื่อง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 4 กิจกรรม Big Cleaning บ้านผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก (กรณีที่มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก) จำนวน 4 สัปดาห์อย่างต่อเนื่อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าจัดทำธงสัญญลักษณ์โรคไข้เลือดออกพร้อมสกรีน ขนาด 80x120 ซม.จำนวน 6 ผืนๆละ 140 บาท เป็นเงิน 840 บาท 2.ค่าจัดซื้อเสาธง ขนาด 2 เมตร จำนวน 6 ต้นๆละ 95 บาท เป็นเงิน 570 บาท 3.ค่าน้ำดื่มจำนวน 10 โหลๆละ 45 บาท เป็นเงิน 450 บาท 3.ค่าถุงดำ จำนวน 2 แพ็คๆละ 60 บาท เป็นเงิน 120 บาท 4.ค่าถุงมือสีส้มจำนวน 20 คู่ ๆละ 35 บาท เป็นเงิน 700 บาท 5.ค่าโลชั่นป้องกันยุง ขอสนับสนุนจากเทศบาล รวมเป็นเงิน  2,680 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2680.00

กิจกรรมที่ 5 สรุปผลงาน

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าจัดทำเอกสารเข้าเล่ม จำนวน 2 เล่มๆละ200 บาท เป็นเงิน 400 บาท รวมเป็นเงิน 400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,597.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ชุนชนทุกครัวเรือนมีส่วนร่วมในการควบคุม ป้องกันและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
2. จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงจากปีก่อน(2566)
3. ประชาชนตลอดจนผู้นำเห็นความสำคัญและมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออก
4. สามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืน เพื่อมิให้มีการแพร่ระบาดในชุมชน


>