โครงการส่งเสริมโภชนาการเด็กวัยก่อนเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ครูพี่เลี้ยง และผู้ประกอบการ ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลทุ่งกระบือ
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมโภชนาการเด็กวัยก่อนเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ครูพี่เลี้ยง และผู้ประกอบการ ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลทุ่งกระบือ |
รหัสโครงการ | 67-L1504-1-03 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนานิน |
วันที่อนุมัติ | 16 กรกฎาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 สิงหาคม 2567 - 13 กันยายน 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2567 |
งบประมาณ | 15,297.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายสมภพ ทับเที่ยง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลทุ่งกระบือ อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.404,99.626place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 69 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
เด็กในช่วงชีวิตปฐมวัยเป็นช่วงวัยที่สำคัญที่สุดของการเจริญเติบโตและพัฒนาการทุกด้าน เป็นจุดเริ่มต้นของการวางรากฐานคุณภาพชีวิตจิตใจของบุคคลเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ เด็กและเยาวชนที่มีคุณภาพ เป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาสังคมไทย ภาวะโภชนาการเป็นดัชนีบ่งชี้ที่ดีของภาวะสุขภาพโดยรวมของเด็ก และภาวะโภชนาการที่ดีเป็นต้นทุนสำคัญที่ส่งเสริมให้เด็กเติบโตได้เต็มศักยภาพ เด็กวัยก่อนเรียนเป็นวัยที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งด้านร่างกายและสมอง รวมถึงพัฒนาการทุกด้านของชีวิตการเจริญเติบโตของอวัยวะทั้งภายนอกและภายใน จะเป็นไปอย่างรวดเร็วมากกว่าวัยอื่นๆ โดยเมื่ออายุ 3 ปี สมองจะมี การเจริญเติบโตถึงร้อยละ 90 ของทั้งหมด การขาดสารอาหาร โดยเฉพาะสารอาหารที่ให้โปรตีนและพลังงาน จะมีผลต่อการเจริญเติบโตของเซลล์สมองของเด็กมาก ทำให้เซลล์สมองมีขนาดเล็ก ซึ่งจะมีผลต่อสติปัญญาและการเรียนรู้ เมื่อพ้นช่วงวัยนี้ไปแล้วถึงแม้จะได้รับการแก้ไขโดยการให้อาหารเพิ่มขึ้น ก็ไม่สามารถทำให้ การเจริญเติบโตของสมองกลับมาสมบูรณ์เป็นปกติได้ นอกจากนี้การขาดสารอาหารในเด็กก่อนวัยเรียน ยังมีผลต่อความสามารถในการต้านโรคของเด็กด้วย ซึ่งจะส่งผลให้ติดเชื้อง่าย เกิดโรคต่างๆได้ง่าย
ประเทศไทยมีเด็กอายุระหว่าง 2 ขวบครึ่ง - 5 ขวบหรือเรียกว่า เด็กก่อนวัยเรียน ที่อยู่ในศูนย์ เด็กเล็กทุกสังกัด 19,715 แห่งประมาณ 942,583 คน คิดเป็นร้อยละ37 ของจำนวนเด็กปฐมวัยในประเทศไทย (มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ, 2553) เป็นวัยที่ไม่สามารถดูแลตนเองในเรื่องการเลือกอาหารและ การรับประทานอาหารได้เมื่อถึงวัยที่ต้องเข้ารับการศึกษา นอกจากผู้ปกครองที่ต้องดูแลจัดการด้านอาหารแล้ว ยังมีครูพี่เลี้ยงและผู้ประกอบอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก็มีบทบาทสำคัญในการดูแลจัดการด้านอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ และมีปริมาณเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ดังนั้นจึงต้องเป็นผู้ที่มีทั้งความรู้ ทัศนคติที่ดี และพฤติกรรมในการจัดอาหารอย่างถูกต้องและเหมาะสม เพื่อให้เด็กวัยก่อนเรียนได้รับอาหารที่ครบถ้วนกับความต้องการของร่างกาย มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ดี
จากการสำรวจภาวะการเจริญเติบโตและพัฒนาการ ของสำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย พบว่า จากรายงานระบบคลังข้อมูล และการแพทย์สุขภาพ (Health Data Center : HDC) สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ ของจังหวัดตรัง ในไตรมาสที่ 4 ปีงบประมาณ 2566 เด็กมีการเจริญเติบโตสูงดีสมส่วน ร้อยละ48.39 ภาวะเตี้ยร้อยละ 12.89 ภาวะผอม ร้อยละ 5.49 ภาวะเริ่มอ้วน/อ้วน ร้อยละ 8.79 และไตรมาส ที่ 2 ปีงบประมาณ 2567 เด็กมีการเจริญเติบโตสูงดีสมส่วน ร้อยละ 60.32 ภาวะเตี้ยร้อยละ 20.97 ภาวะผอม ร้อยละ 2.69 ภาวะอ้วน ร้อยละ 3.23 (สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์, 2561) พบว่าเด็กอายุ 0 – 5 ปี มีภาวการณ์เจริญเติบโต สูงดีสมส่วน เพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ยังต่ำอยู่ และมีภาวะเตี้ย เพิ่มขึ้น ทำให้อนาคตโอกาสเด็กเสี่ยงมีภาวะอ้วนเพิ่มขึ้น ซึ่งเกณฑ์มาตรฐานเด็กอายุ 0-5ปี สูงดีสมส่วน ต้องผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 66 ภาวะเตี้ย ไม่มากกว่าร้อยละ 10 ภาวะผอมไม่มากกว่า ร้อยละ 5 ภาวะอ้วนไม่มากกว่า ร้อยละ 10
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลทุ่งกระบือ ได้รับการประเมินมาตรฐานศูนย์เด็กเล็กคุณภาพในระดับจังหวัด ปี พ.ศ. 2561 ในระดับดีมาก ด้านการส่งเสริมสุขภาพ เด็กทุกคนได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการโดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ทุก 3 เดือน การสำรวจภาวะโภชนาการเด็ก ในไตรมาสที่ 1 (เดือนเมษายน-มิถุนายน 2567) จำนวนเด็กวัยก่อนเรียนทั้งหมด 62 ราย พบว่า ยังมีเด็กที่มีปัญหาโภชนาการ ซึ่งเมื่อเทียบกับตัวชี้วัดงานโภชนาการของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2567 พบว่าภาวะโภชนาการในเด็กวัยก่อนเรียนในศูนย์เด็กเล็กเทศบาลตำบลทุ่งกระบือยังต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านนานิน ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาภาวะโภชนาการที่เกิดขึ้นและต้องการความร่วมมือจากผู้ปกครองในการดูแลลูกของตัวเอง จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมโภชนาการเด็กวัยก่อนเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ครูพี่เลี้ยง และผู้ประกอบการ กรณีศึกษา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาล ต.ทุ่งกระบือ อ.ย่านตาขาว จ. ตรัง ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก และผู้ประกอบอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลทุ่งกระบือ มีความรู้ในการส่งเสริมโภชนาการเด็กวัยก่อนเรียนเพิ่มมากขึ้น
|
||
2 | เพื่อให้ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก และผู้ประกอบอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลทุ่งกระบือ มีทัศนคติที่ดีขึ้นในการส่งเสริมโภชนาการเด็กวัยก่อนเรียน
|
||
3 | เพื่อให้ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก และผู้ประกอบอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลทุ่งกระบือ มีพฤติกรรมในการส่งเสริมโภชนาการเด็กวัยก่อนเรียนที่ถูกต้องและถูกวิธี
|
||
4 | ผู้ปกครองสามารถกำหนดตัวอย่างอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ และปริมาณเพียงพอแก่เด็กได้ อย่างถูกต้อง เหมาะสม
|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
1.ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก และผู้ประกอบการในศูนย์พัฒนาการเด็กเทศบาลตำบลทุ่งกระบือมีความรู้ ในการส่งเสริมโภชนาการเด็กวัยก่อนเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 80 2.ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก และผู้ประกอบการในศูนย์พัฒนาการเด็กเทศบาลตำบลทุ่งกระบือมีทัศนคติในการส่งเสริมโภชนาการเด็กวัยก่อนเรียนที่ดีขึ้นร้อยละ 80 3.ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก และผู้ประกอบการในศูนย์พัฒนาการเด็กเทศบาลตำบลทุ่งกระบือมีพฤติกรรมในการส่งเสริมโภชนาการเด็กวัยก่อนเรียนที่ถูกต้องและถูกวิธี ร้อยละ 80 4.ผู้ปกครองสามารถกำหนดตัวอย่างอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ และปริมาณเพียงพอแก่เด็กได้ตั้งแต่ 5 อย่างขึ้นไป
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ก.ค. 2567 13:13 น.