กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านศาลาใหม่ ประจำปี 2567
รหัสโครงการ 67L-2487-3-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านศาลาใหม่
วันที่อนุมัติ 5 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 24,780.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวฟาตีเม๊าะ อูมูดี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านศาลาใหม่
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 67 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กเป็นวัยที่มีความสำคัญต่อครอบครัวและประเทศชาติ สิ่งสำคัญในการเสริมสร้างให้เด็กมีคุณภาพ คือ การเลี้ยงดูและส่งเสริมพัฒนาในด้านต่างๆ ทั้งร่างกาย จิตใจ และสมองอย่างเหมาะสม การดูแลจัดการ อาหารและโภชนาการในช่วงวัยทารกและเด็กเล็ก รวมถึงภาวะการเจริญเติบโต เป็นพื้นฐานสำคัญของการมีสุขภาพและสติปัญญาที่ดีในระยะยาว และยังมีความสำคัญมากต่อการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน ผอม/เตี้ย เป็นต้น การส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยก่อนเรียนจึงมีความจำเป็นมากในปัจจุบัน เพื่อเป็นการส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการในด้านต่างๆ ปัจจัยที่ส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก ประกอบด้วยพันธุกรรมและสภาพแวดล้อมอื่นๆเช่น อาหารการกิน หรือ โภชนาการ การออกกำลังกาย ดนตรีและศิลปะ ความรัก ความท้าทายจากกิจกรรมและสิ่งแวดล้อมต่างๆ พัฒนาการเป็นทักษะและความสามารถเฉพาะตามช่วงอายุเด็ก จึงต้องได้รับการส่งเสริมพัฒนาการ โดยการกระตุ้นการทำงานของสมอง อารมณ์ ร่างกาย และสังคม ตามช่วงจังหวะของศักยภาพการเรียนรู้ในแต่ละด้านอย่างเหมาะสม จำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกฝ่ายต้องให้ความสำคัญและตระหนักถึงผลกระทบที่ตามมากับเด็กในอนาคตข้างหน้า ซึ่งครู ผู้ปกครอง มีบทบาทสำคัญยิ่งในการพัฒนาศูนย์เด็กเล็ก เพราะเด็กควรได้รับการปลูกฝังพฤติกรรม สุขภาพ ทั้งด้านการดูแลสุขภาพตนเอง และดูแลความสะอาดของสิ่งแวดล้อม อันจะส่งผลให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีและทำได้ถูกต้องเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การส่วนบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 แก้ไขเพิ่มถึง (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 มาตรา 67 (5) กำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบลต้องจัดการส่งเสริม และสนับสนุนการจัดการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม และฝึกอบรมให้แก่ประชาชน รวมทั้งการจัดการหรือการสนับสนุนการดูแลเด็กและพัฒนาเด็กเล็กตามแนวทางที่เสนอแนะจากกองทุนเพื่อเสมอภาคทางการศึกษา ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ ตัวบ่งชี้ย่อยที่ 2.2.4 เฝ้าระวังติดตามการเจริญเติบโตของเด็กเป็นรายบุคคล บันทึกผลภาวะโภชนาการอย่างต่อเนื่อง ได้กำหนดรายการพิจารณาที่ 4 มีการให้คำแนะนำ/ความรู้ด้านโภชนาการที่สอดคล้องกับการเจริญเติบโต ภาวะโภชนาการของเด็กแก่พ่อแม่/ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านศาลาใหม่ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านศาลาใหม่ ประจำปี 2567 ขึ้น และการเจริญเติบโต โดยมีแนวคิดให้เด็กอายุ 2 - 5 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้รับการดูแลด้านโภชนาการและการเจริญเติบโตอย่างสม่ำเสมอเพื่อเป็นการเฝ้าระวังและส่งเสริมให้เด็กมีสุขภาพดี และมีคุณภาพในการดำรงชีวิตประจำวัน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 24,780.00 2 24,780.00 0.00
1 ส.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 จัดกิจกรรมประชุมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ 0 20,280.00 20,280.00 0.00
1 ส.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมสาธิตและฝึกปฏิบัติการ 0 4,500.00 4,500.00 0.00
รวมทั้งสิ้น 0 24,780.00 2 24,780.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กได้รับประทานอาหารที่ครบถ้วน เหมาะสม เพียงพอ และมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น
  2. ปัญหาภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์และน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ในเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กลดลง
  3. ผู้ปกครองของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีความเข้าใจภาวะโภชนาการอาหารในเด็กมากขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 ก.ค. 2567 13:44 น.